ขึ้นค่าแรงวิกฤตหรือโอกาส?

โทมัส โซเวลล์ นักเศรษฐศาสตร์ ด้านแรงงานได้กล่าวไว้ว่า “ค่าแรงที่ดีที่สุดคือค่าแรงขั้นต่ำศูนย์บาท” ใครจ้างเท่าไหร่ก็ได้โดยดูจากความสามารถของลูกจ้าง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีได้เสนอนโยบายค่าแรงขั้นต่ำต่อสภา ทำให้วันที่ 1 มกราคม 2556 มีกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำทั้งประเทศวันละ 300 บาท ในขณะนั้นศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยได้ทำการสำรวจพบว่ามีคนตกงานกว่า 300,000 คน

นี่คือแนวคิดและแนวนโยบายของค่าแรงขั้นต่ำที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะทุกครั้งที่ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ราคาสินค้าเกือบทุกชนิดขึ้นราคาไปรอล่วงหน้าอยู่เสมอ

หลักการขึ้นค่าแรงจะยึดหลักการสำคัญ5ประการ

1.พิจารณาจากเงินเฟ้อ

2.พิจารณาผลกระทบที่เป็นลูกโซ่ เมื่อประกาศขึ้นค่าแรง

3.ราคาสินค้ามักฉวยโอกาสขึ้นราคาทันที

4.อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น

5.แรงงานต่างชาติจะเข้ามามากขึ้น

ไตรภาคีต้องเข้มแข็ง

ระบบไตรภาคี เป็นแนวคิดที่นำมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีพันธมิตรร่วมรบ3ชาติหลัก คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เรียกว่า Triple Entente

ประเทศไทยก็ใช้ไตรภาคี มีนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาล เป็นคณะกรรมการพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยทุกฝ่ายต้องเห็นชอบร่วมกันมีมติเป็นเอกฉันท์ เพื่อลดความขัดแย้งกัน ถ้าไตรภาคีอ่อนแอจะมีปัญหาตามมามากมายเช่นในอดีต

1มกราคม 2563 ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

ภาคอีสานจะมี4อัตรา

-สูงสุดคือวันละ 320 บาทมีโคราช ขอนแก่น หนองคาย และอุบลฯ

-ต่ำสุดคือวันละ 310 บาทมีชัยภูมิ ศรีษะเกษ หนองบัวลำภูและอำนาจเจริญ

-นอกนั้นวันละ 315 บาทและ 318 บาทต่อวัน

พรรคที่หาเสียงเรื่องค่าแรงขั้นต่ำไว้

พรรคพลังประชารัฐ นโยบายค่าแรงวันละ 400-425 บาท/วัน

พรรคประชาธิปัตย์  เสนอที่ 400 บาท/วัน

พรรคเพื่อไทย       เสนอที่ 400 เท่ากับพรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชานิยม    เสนอวันละ 360 บาท

พรรคสามัญชน      เสนอวันละ 500 บาท

วิกฤตหรือโอกาส

ฝ่ายแรงงาน  ฟังสุมเสียงดูจะพอใจเพราะขณะนี้เป็นสถานการณ์ขาลงทางเศรษฐกิจ เรียกได้ว่า เพิ่มเล็กน้อยดีกว่าตกงาน

ฝ่ายนายจ้าง อย่างสภาอุตสาหกรรม บอกว่า คงมีโรงงานปิดตัวไม่น้อยเพราะยังไม่ปรับตัวค่าแรงขั้นต่ำก็แบกภาระไว้มาก เมื่อประกาศเป็นทางการแล้วจึงง่ายต่อการตัดสินใจ

ฝ่ายรัฐบาล ดูจะนิ่งเฉยกับการขึ้นค่าแรงครั้งนี้ พูดไปคงลำบากใจเพราะเป็นพรรคที่เสนอไว้สูงถึง 425 บาท/วัน

จะเป็นวิฤตหรือโอกาส คงอยู่ที่แต่ละฝ่ายจะนำไปเป็นประโยชน์ของฝ่ายตน โดยเฉพาะกลุ่มการเมืองคงนำไปใช้ประโยชน์กันมาก

ปี 2563 ถือเป็นปีแห่งความท้าทาย ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายยืนหยัดกันต่อไปให้ได้ …

โดย-ทวิสันต์ โลณานุรักษ์ อดีตประธานหอการค้า จ.นครราชสีมา 

แสดงความคิดเห็น