“โฟกัสอารีน่า”คอนเซ็ปต์เยี่ยม มุ่งสร้างเด็กติดเกมสู่ “ E-Sport” ขับเคลื่อนขอนแก่นสมาร์ทซิตี้

โฟกัสอารีน่าวันนี้ สิ่งที่ต้องสานต่อคือ แยกแยะเด็กติดเกมกับ E-Sport รวมทั้งเข้าไปอยู่ใน ขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ หลังจัดทัวร์นาเม้น AowLasu “เอาละสู”  ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ประสบผลสำเร็จ

นายรณกรณ์  กิตติสุวรณ CEO Focus Arena  เผยกับอีสานบิซว่า หลังจากเปิดตัว ก็มีทัวร์นาเม้นประจำอยู่แล้ว เรียกว่า ทัวร์นาเม้น AowLasu “เอาละสู” เป็นทัวร์นาเม้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน เป็นทัวร์นาเม้นสำหรับคนอีสานมาแข่งกับคนกรุงเทพฯ เราจัดไปประมาณ 3-4 ครั้งแล้ว และถือว่าค่อนข้างประสบผลสำเร็จ

วันนี้โฟกัสอารีนา เราพยายามแยกแยะระหว่างเด็กติดเกม กับ E-Sport ให้ทุกคนเข้าใจว่า เป็น E-Sport คือกีฬา อย่างที่คุณพ่อเคยพูดไว้ว่า เทคโนโลยีอะไรที่เข้ากับเด็กได้เร็วที่สุด นั่นก็คือ E-Sport เราก็พยายามจะผลักดันในแนวทางที่ดี ไม่ได้จะสนับสนุนเด็กติดเกมอย่างเดียว

โครงการเราในปีหน้าหรือปีต่อ ๆ ไป มองว่าโฟกัสอารีน่าเรายังสามารถขยายสาขาทำเป็นลักษณะแบบแฟรนไชส์ได้ วันนี้โฟกัสอารีนาต่างจังหวัดให้ความสนใจมาก อยากจะหยิบโครงการเราไป แต่เราไม่มั่นใจว่าการที่เขาหยิบแบรนด์ของเราไปจะทำให้พื้นที่ตรงส่วนนั้นเป็นจุดแดงหรือเปล่า จุดแดงหมายถึง เด็กติดเกมมากขึ้นไหม ถ้าเด็กติดเกมมากขึ้น มันก็ส่งผลไม่ดีต่อเด็ก ผู้ปกครองก็ไม่ชอบ

“ผมไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องมาชอบ E-Sport แต่ผมบังคับให้ทุกคนต้องรู้ว่า E-Sport ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า พ่อ –แม่ บางคนอายุ 60 – 70 อาจจะไม่รู้เรื่องพวกนี้ ซึ่งลูกคุณอาจมีอาชีพที่โยงเกี่ยวกับ E-Sport  หรืออาจจะไปเป็นอาชีพพวก youtuber, influencer ที่สามารถหารายได้ผ่านออนไลน์”

เราพยายามเป็นศูนย์กลางของ Southeast Asia เพราะว่าเรามีมหาวิทยาขอนแก่น มี สถานศึกษา มีโรงพยาบาลที่เป็นเมดิคัลฮับ   ขอนแก่นพร้อมที่จะเป็น Smart City  แต่วันนี้ยังไม่มีคนรู้จักจ.ขอนแก่น เพราะนั้นผมก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมทหรือประชาสัมพันธ์ จ.ขอนแก่นในเรื่องของ E-Sport หรือ IOT ต่าง ๆ เราก็พยายามผลักดัน พยายามคุยกับมาเลเซีย พยายามคุยกับพม่า เราพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรกับคนทุก ๆ คนที่สนใจเรื่องอุตสาหกรรม E-Sport

เราเคยเอาเด็กคนหนึ่งเขามาจาก จ.ร้อยเอ็ด  ชื่อน้องเก้า เกรดเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5 แต่วันนี้ผมสามารถเปลี่ยนเกรดเฉลี่ยน้องได้ 3.0 นั่นคือสิ่งที่ผมรู้สึกว่า ผมประสบผลสำเร็จ ปัญหาของน้องไม่ได้มาจากเกมอย่างเดียว การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ก็มีส่วนสำคัญ  เวลาน้องอ่านหนังสือเราก็จะอยู่ด้วย เวลาน้องเล่นเกมเราก็จะอยู่ด้วย มันเป็นเหมือนการเลี้ยงดูที่ถูกวิธี”

 ในปีหน้าเราก็มีทัวร์นาเม้นอย่างหนึ่งที่เราได้ร่วมกับร้านเกม เราอยากจะทำให้ร้านเกมเป็นสีขาวมากกว่านี้ ผมรู้สึกว่าการทำธุรกิจถ้ามีสังคมที่ดีคือย่อมมีอะไรที่ดีเสมอ

ธุรกิจ E-Sport กับการสร้างรายได้

        อาชีพ E-Sport มันกำลังบูมขึ้นเรื่อย ๆ เพราะว่าคนเล่นเกมมากขึ้น  ยิ่งมีโซเชียลมีเดียทำให้เข้าถึงวัยรุ่นมากขึ้น คนก็ยิ่งรู้จักเกมมากขึ้น พอมีการแข่งขัน แน่นอนต้องมีนักพากย์ ทุกอย่างแทบจะเหมือนทีมกีฬา  ส่วนเบื้องหลังต้องมี Graphics เพราะต้องเอาไปทำ Content โปรโมทเขียน Story เล่าเรื่อง การเขียน Content ก็จะคล้ายลักษณะการเขียน Content เกี่ยวกับข่าวกีฬาสมัยก่อน เขียนยังไงให้นักกีฬาน่าสนใจ

        ต่อมาก็คืออาชีพ switcher, control board สั่งเกตอย่างเช่น NBA ทำไมคนดูมาก ฟุตบอลทำไมคนดูมาก เพราะมันมีการถ่ายทอดสด ฉะนั้นการทำการแข่งขันเกมก็จะมีพวก Production มีคนคุม board, switcher การจับภาพภายในเกมทำให้เกิดสีสัน เกิด Entertainment กับคนดู ดูแล้วรู้สึกสนุกสนาน

         “อาชีพหนึ่งที่กำลังเป็นอาชีพที่เกิดใหม่ก็คืออาชีพ Streamer ก็คือคนคอยคุม Live stream แพลตฟอร์มที่เป็นการไลค์สตรีม มันก็จะมีเรื่องของการบริจาคเข้ามา พอคนดูยิ่งเยอะมันก็ยิ่งมีการที่จะให้ Donate คนดู 1,000 คนมีคน Donate เพิ่มขึ้น 100 คน อาจจะมีคนที่ให้เงินเป็นแสนเป็นล้าน”

 พอต่อมาก็คืออาชีพ organizer  หรือคนทำ Arena  คือศูนย์กลางของ E-Sport ถ้าไม่มี organizer ก็ไม่มีงานจัดแข่งขันเกม organizer เป็นคนที่คิดว่ามีอำนาจในการตัดสินใจทั้งหมด เช่นเดียวกับตำแหน่งของผม

“อาชีพมีเยอะแต่รายได้ยังไม่ได้เท่าตัวรัฐบาล ก็ยังไม่สนับสนุนเติมที่ สมาคมก็ยังไม่ได้สนับสนุนเท่าไหร่  นั้นก็ถือว่าเป็นโจทย์ทางสมาคม E-Sport แห่งประเทศไทยหรือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดนี้ที่คอยเข้ามาดูแลพวกเด็ก ๆ เรามั่นใจว่าในอีก 5-10 ปีอนาคต E-Sport ถือว่าสดใสแน่นอน เราทำธุรกิจเพื่ออนาคต อาจจะเห็นว่าช่วงนี้เงียบ ๆ อาจจะเห็นช่วงนี้ไม่ค่อยมีงานแต่มันเป็นสิ่งหนึ่งที่เรามองว่าอนาคตมันสดใสแล้วเรายินดีที่จะลงทุน” 

โฟกัสอารีน่าเทรนแห่งอนาคต

เราอยากให้เด็ก ๆ ทุกคนมองว่า สถานที่นี้คือบ้านหลังหนึ่ง บ้านหลังนี้จะให้ความอบอุ่นน้องยังไงเราจะให้ทัวร์นาเม้นในการแข่งขันแก่น้อง

“ผมจะทำให้พ่อแม่ทุก ๆ คนรู้สึกว่า E-Sport ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากลัวแต่แค่คุณต้องเลือกการเดินทางที่ถูกวิธี เราไม่ได้บังคับให้พ่อแม่ทุกคนต้องชอบ E-Sport ตอนนี้บางคนไม่อยากให้ลูกเล่นเกมเลย เอาแต่ส่งลูกเรียนพิเศษ ลูกเกรดไม่ดีสุดท้ายไปโทษเพื่อน  เราพร้อมที่จะคุยกับเด็กพร้อมที่จะคุยกับพ่อแม่ เหมือนคลินิก ตอนนี้ก็มีน้องที่ติดเกมมาคุย”

มีโปรเจคหนึ่งเรียกว่า ขอนแก่นคาโตวีตเซ เรามีโอกาสได้เสนอท่านผู้ว่าฯเสนอโครงการนี้ให้กับทีมSmart City ว่าอยากจะพัฒนาจังหวัดขอนแก่นให้เป็นศูนย์กลางทวีปเอเชีย แต่การที่เราจะไปเอาความรู้มานั้น เราก็ต้องไปถึงโปแลนด์ที่เมืองคาโตวีตเซ ผมเคยพูดโครงการนี้หลายรอบแล้วว่าขอนแก่นสามารถเป็นเมือง คาโตวีตเซได้ เพระคาโตวีตเซไม่มีที่ท่องเที่ยวแล้วเขาเอานักท่องเที่ยวมาจากไหน ก็มาจากการดูทัวร์นาเม้น

“วันนี้ก็อยากให้ขอนแก่นมี E-Sport เป็นงานประจำปีดูบ้าง แล้วชวนทั้งโลกมา เราลองจัดเซ็ตสถานที่ท่องเที่ยวดูไหม เช่น ให้ฝรั่งมาเคยดำนา ให้ฝั่งส่องกบไหม ให้ฝรั่งยิงหนู มันเป็น unseen Thailand เราไม่จำเป็นต้องขายเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว เราขายวัฒนธรรมก็ได้ การกินดักแด้ การทำดักแด้ การทอผ้าไหม แบบนี้เป็นต้น” 

ลองคิดดูว่าถ้ามีการแข่ง  E-Sport  โรงแรมคนก็เข้ามาพัก ร้านอาหารคนก็เข้ามากิน คมนาคมขนส่งคนก็มาใช้บริการ  เพราะฉะนั้น รายได้มันจะไม่เข้าโฟกัสอารีน่าอย่างเดียว รายได้มันเข้าคนทุกคน

“วันนี้ขอนแก่นมีแค่โฟกัสอารีน่าที่มาลงทุนในเรื่องของ E-Sport ผมยังคิดว่า ต้องใช้เวลาให้คนขอนแก่นหรือเจ้าเมืองขอนแก่นเข้าใจเรื่อง E-Sport มากกว่านี้ อย่าไปมองว่า เกมมันคือสิ่งที่แย่ ถ้าเกิดบางทีเรามองสิ่งที่มันมืดที่สุด มันอาจจะมีแสงสว่างที่ดีอยู่เสมอ”

ดูเหมือน ประเด็นที่ นายรณกรณ์  CEO Focus Arena นำเสนอก็คือ ในเมื่อเราแก้ปัญหาเด็กติดเกมด้วยการเลิกเล่นเกมไม่ได้ ทำไมไม่สร้างสรรค์ให้เป็นนักแข่ง หรือ นักกีฬา E-Sport ซะเลย จะได้ทำเป็นอาชีพและมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวด้วย นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง

แสดงความคิดเห็น