
ธนาคารแห่งประเทศไทย มีความกังวลว่าหนี้เสียจะท่วมธนาคารพาณิชย์ เหมือนปี 2540 จึงออก นโยบายมาแก้หนี้เสียหรือ NPLในขณะนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่สถานการณ์เศรษฐกิจถดถอยเต็มรูปแบบ Recession เพราะ GDP ของเราติตลบต่อเนื่องหนี้สาธารณะก็โตขึ้นชน 60%ต่อ GDPแล้ว.
รัฐบาลใช้ พรก.กู้เงินครั้งแรก มาเยียวยาสถานะการณ์ 1ล้านล้านบาทขณะนี้เหลือเงินติดกระเป๋าเพียงแสนกว่าล้านบาทเท่านั้น ครม.จึงตัดสินใจออก พรก.กู้เงินรอบสองอีก 7แสนล้านบาท น่าแปลกใจมาก เงินก้อนนี้ จะใช้ ซื้อวัดซีนแค่ 5% หรือ 3หมื่นล้านบาท อีก 95% จะเอาไปเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ธนาคารพาณิชย์ ถือเป็นไข่ในหินของธนาคารแห่งประเทศไทย ไตรมาสแรกของปีนี้ ทุกธนาคารมีกำไรเพิ่มขึ้น เช่น กสิกรไทยมีกำไร 8,391ล้าน ไทนพาณิชย์กำไร 6, 950 ล้าน กรุงเทพกำไร 5,864 ล้าน เป็นต้น
มาตราการช่วยลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ในกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกลูกหนี้มองว่า ออกมาช่วยธนาคารมากกว่าช่วยลูกหนี้ คงต้องให้ความเป็นธรรมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ลองมาดู แนวทางที่ ธปท.เขาวางไว้
1.ใครที่ติตหนี้บัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย๋ ที่คิดดอกเบี้ยร้อยละ16%ต่อปี จะได้ลดเหลือ12% ส่งคืนเดือนละแค่ 5%ของงวดที่ค้าง และสามารถขยายต่อได้ถึง 48 เดือน แต่ดอกเบี้ยยังคงอยู่
2.ใครที่กู้มาซื้อบ้าน มีโปรโมชั่น เช่น พักชำระหนี้ได้ ไม่ต้องจ่ายทั้งต้นและดอกเบี้ย หรือพักชำระต้นแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยตามปกติ สามารถขยายงวดออกไปได้อีก เพื่อให้ยอดส่งงวดน้อยลง แต่ดอกเบี้ยยังคงอยู่ตามปกติ
3.ใครที่ซื้อรถยนต์เงินผ่อน ต้องศึกษากันดีๆ เพราะมีหลายโปรโมชั่น ทั้งพักชำระหนี้ หรือพักชำระต้น และสามารถเอารถมาส่งคืนเจ้าหนี้ โดยสถาบันการเงินจะเอารถของลูกหนี้ไปประมูลขาย ถ้าขายได้ราคามากกว่าหนี้ ลูกหนี้โชคดีได้ส่วนเกินไป แต่ถ้าขายแล้วขาดทุน ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบทั้งหมด ฟันธงได้เลยว่าขายแล้วไม่พอจ่ายหนี้ี่ที่ค้างอยู่ ลูกหนี้ต้องผ่อนแบบไม่มีรถต่อไปจนหมด
4.ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SME ถ้าสู้ไม่ไหว ก็ให้ขายกิจการให้ธนาคารได้ เพื่อยุติหนี้ แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องทำกิจการต่อแบบเช่าจากธนาคาร คือจ่ายทุกเดือนแบบค่าเช่าทั่วไปตามที่ธนาคารจะคิดคำนวนมา เมื่อลูกหนี้ ลืมตาอ้าปากได้ มาซื้อคืนในราคาเดิม

หลังโควิด คนไทยต้องเผชิญกับการแก้ปัญหาหนี้สินครั้งใหญ่ที่สุด และน่าจะหนักกว่าคราวต้มยำกุ้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย มีบทเรียนมาแล้ว จึงร่วมกับธนาคารพาณิชย์ตั้งการ์ดไว้สูงจนลูกหนี้บ่นกัน ระหว่าง NPL กับCovid. ใครจะอยู่ใครจะไป เราคงต้องติตตามกันต่อไป
…………………………….
โดย- ทวิสันต์ โลณานุรักษ์
แสดงความคิดเห็น