คณะนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น ผนึกภาคเอกชน ปั้นนักกฏหมายยุคใหม่ ตอบโจทย์พัฒนาเมือง

         คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจับมือกับหอการค้า บริษัทพัฒนาเมือง ผลิตนักกฎหมายที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ (Entrepreneurial Lawyer) ขับเคลื่อนประเทศและพัฒนาเมืองขอนแก่นสู่ Thailand 4.0

      อาจารย์ แทนรัฐ คุณเงิน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น  กล่าวว่า ที่ผ่านมาการผลิตนักกฏหมายเรามุ่งหวังที่จะผลิตนักศึกษาเข้าสู่ตลาดงานของภาครัฐ เพื่อไปเป็นข้าราชการ หรือเป็นข้าราชการทางตุลาการ แต่โลกยุคปัจจุบันค่อนข้างเปลี่ยนไปสูง  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลยที่จะต้องการสร้างโอกาส หรือสร้างแนวทางที่ให้เด็กๆมีทางเลือกในการทำอาชีพที่มากขึ้น ก็เลยมองว่า ในภาคเอกชน มีพื้นที่ตรงนี้อยู่ แล้วจะทำอย่างไรให้เด็กที่เรียนกฏหมายทำงานในภาคของเอกชน เพราะความจริงแล้วในเรื่องของกฏหมายมันคือยาดำที่ไปได้ทุกวงการอยู่แล้ว โชคดีได้มีโอกาส ไปคุยกับหอการค้า  และก็บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมืองก็เลยเกิดความร่วมมือตรงนี้ขึ้น เพื่อที่จะร่วมมือ ผลิตบัณฑิตทางกฏหมายเพื่อที่จะตอบโจทย์ของเอกชนจึงเกิดโครงการผลิตนักกฎหมายที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจขึ้นมา

     หากเป็นนักกฏหมายอย่างเดียวไม่เพียงพอ โลกทุกวันนี้ transdisciplinary หมด ทุกอย่างต้องผสมผสาน เพื่อที่จะสร้างบุคคลากรให้เป็นที่ต้องการของตลาด ถ้าบัณฑิตของเรายังรู้แต่กฏหมาย ตามไม่ทันเทคโนโลยี ตามไม่ทันโลกแม้กระทั่งสื่อต่างๆภาษาต่างๆที่ใช้เชื่อว่า บัณฑิตทางกฏหมายหรือโปรดักซ์แบบเดิมๆจะเริ่มถูกเบียดตกขอบไป เพราะตลาดมันเปลี่ยน

    นอกจากการผลิตให้เอกชนแล้วเราอยากที่จะพัฒนาท้องถิ่นด้วย และจะทำธุรกิจอย่างไรให้คืนสู่สังคม ที่เรียกว่า Social enterprise

   โครงการผลิตนักกฎหมายที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจนี่คือหลักสูตรเดิมยังเป็นหลักสูตรนิติศาสาตร์ แต่มีการจัดการศึกษาแบบใหม่เด็กได้เรียนกับผู้ประกอบการโดยตรง หากบัณฑิตของเราเข้าไปในองค์ต้องไม่เกิดคดีขึ้น ทำอย่างถึงจะลดการมีคดีความน้อยลง ทำอย่างไรสถานประกอบการจะมีความปลอดภัย

   โอกาสเมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร นักศึกษาจะได้รับวุฒิปริญญาตรีทางกฎหมาย และ นักศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรอบรม Mini MBA ของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชีพร้อม บันทึกแสดงวิชาโทการบริหารจัดการธุรกิจ (Minor Subject) เป็นการเพิ่มเติม ความก้าวหน้านักศึกษามีสิทธิเข้าศึกษาต่อและเทียบเท่ารายวิชาในระดับปริญญาโท M.B.A. วิชาเอกการจัดการผู้ประกอบการ พาณิชย์และนวัตกรรมของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยสามารถสำเร็จการศึกษาได้ภายในระยะเวลา 1 ปี

     คุณกังวาล เหล่าวิโรจน์กุล ตัวแทนจากหอการค้า จ.ขอนแก่น  กล่าวว่า ในส่วนของภาคเอกชนจะนำนักธุรกิจ  ที่มีประสบการณ์จริง เจอปัญหาจริงในด้านกฏหมาย เข้ามาเล่ามาสื่อสารให้กับนักศึกษาอันนี้เป็นรูปแบบหลัก รวมไปถึงรูปแบบของวิธีการเรียนการสอน ที่มีการปรับเปลี่ยน ถึงแม้จะเป็นเนื้อหาเดิมก็ตาม แต่จะทำอย่างไรจะสร้างให้นักศึกษามีส่วนร่วม สร้างนักศึกษาได้มีการเวิคร์ชอป เข้าใจภาคธุรกิจให้มากขึ้น  รวมไปถึงทางคณะบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็เข้ามาร่วมด้วยโดยสอดแทรกวิชาเสริม พื้นฐานของธุรกิจให้ทางนักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น ทำให้นักศึกษาที่มาเรียนในโครงการผลิตนักกฎหมายที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ มีศักยภาพสูงขึ้นในความเข้าใจธุรกิจและเราคาดหวังว่า นักศึกษาที่จบออกมาจากโครงการนี้จะสามารถเข้าสู่ภาคงาน ภาคธุรกิจ และมีวิธีคิดไปในทิศทางที่ช่วยเสริมธุรกิจนั้นเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

   คุณบดินทร์ เสรีโยธิน ผจก.ฝ่ายขายต่างประเทศ บริษัท ขอนแก่นแหอวน จำกัด กล่าวว่า  ทางภาคเอกชนก็มองว่าเราอยากได้นักศึกษาที่เรียกว่า hybrid คำว่า hybrid ก็คือนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถหลายด้านเข้ารวมกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่จบการตลาดหรือคนที่จบมนุษยศาสตร์ที่ได้ภาษาแล้วก็คนที่จบวิศวกรรม ถ้า 3 ศาสตร์นี้มารวมกันได้เป็น 1 เราก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพในเรื่องของบุคลากรที่เป็น hybrid ที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์ของความซับซ้อนของธุรกิจที่แข่งขันกันสูงในปัจจุบันนี้ เราอาจจะอยากมีของนักกฎหมายที่มีความรู้เรื่องบัญชี เรื่องธุรกิจ ที่สามารถออกกฎหมายหรือว่าเป็นที่ปรึกษาการผลักดันก้าวไปข้างหน้า เราอาจจะมีนัก IT คนที่เขียนโปรแกรมที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของวิศวะ ที่จะออกแบบโปรแกรมได้ตอบโจทย์กับอุตสาหกรรมการผลิตหรือบุคลากร IT ที่มีความเกี่ยวกับเรื่องแพทย์ อาจจะออกแบบ AR ก็คือ Augmented Reality เข้ามาเพื่อการสอนจะช่วยเข้ามาเพื่อวินิจฉัยโรคคนไข้ให้แม่นยำได้ยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าน้อง ๆบุคลากรที่สามารถมีความรู้หลายด้านมาแผนวกเข้าด้วยกัน

        โดยส่วนตัวของผมคิดว่าการเรียนการสอนแบบเดิมที่มีความรู้ด้านเดียวมันหมดยุคหมดล้าสมัยไปแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเราสามารถมีบุคลากรที่เป็น hybrid ผมคิดว่าจะช่วยพัฒนาศักยภาพของคน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจได้ก้าวไปข้างหน้าอันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นหลักสูตร 4+1 ผมมีความเชื่อว่าอยากให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้จากในมหาวิทยาลัย 4 ปี หลังจากนั้นบวก 1 อยากจะให้นักศึกษาอยากได้ประสบการณ์จริงอีก 1 ปี แต่ว่า 4+1 จะเกิดขึ้นได้ ก็จะต้องมีการผลักดันจากภาครัฐ อาจจะต้องมีการออกกฎหมายในการแก้กฎหมายที่มีองค์กรบุคลากรจาก 50 หรือเกิน 100 ท่าน จะต้องรับนักศึกษาเป็นกี่เปอร์เซ็นต์  เพื่อที่จะดึงเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร เอกชนเหล่านี้ก็จะเข้ามาช่วยให้น้อง ๆนักศึกษาเข้ามามีประสบการณ์โดยตรงในการทำงาน หลังจากนั้นนักศึกษามีประสบการณ์การทำงาน 1 ปี ก็จะเรียนยจบที่ได้ทั้งเรียนรู้ทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ก็จบไปพร้อมกับการมีประสบการณ์การทำงานไป 1ปี

         เราต้องยอมรับตอนนี้ว่าเอกชนไม่อย่ารับนักศึกษาฝึกงานที่ไม่มีประสบการณ์การทำงาน เพราะฉะนั้นหลักสูตร 4+1 มันจะเป็นการแก้โจทย์ 2 อย่าง ทั้งความต้องการของเอกชนก็จะตอบโจทย์ เพราะฉะนั้นเราจะไม่มีนักศึกษาฝึกงานโดยที่จบไปไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย แล้วเราก็ผลิตนักศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานที่พร้อมออกไปสู่ตลาดแรงงาน ผมเชื่อว่า 50% ก็จะได้งานจากบริษัทเดิมที่ได้ไปฝึกอบรม อีกส่วนอื่นก็สามารถไปรับงานส่วนอื่นได้ เพราะฉะนั้นมันก็จะทำให้น้อง ๆที่จะพร้อมใช้ เข้ามาในตลาดแรงงาน ไม่เป็นภาระต่อตลาดแรงงาน หรือผู้ปกครอง ที่หลังจากเรียนจบแล้วอาจจะหางานลำบากนี้ก็เป็นส่วนสำคัญ ไอเดียที่สามารถต่อยอดได้

แสดงความคิดเห็น