อุดรฯใช้อันสเตอร์ดัมต้นแบบ รถเมล์ไฟฟ้า 6 สายเชื่อมเมือง

      อุดรฯพร้อมใช้รถเมล์ไฟฟ้า 6 สาย เชื่อมระบบขนส่งสู่เมือง และ ทีโอที 2 จุด สนข.ยกอันสเตอร์ดัมเป็นต้นแบบ ระยะที่สองศึกษาระบบรางก่อนปี80 สวนทางกฎบัตรที่ให้เริ่มระบบรางได้ 3 สาย

ที่ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทารา นายสิริทารา นายสิธิชัย จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาโครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี ครั้งที่ 3 มีนายนิรันดร์ เกตุแก้ว ผอ.สำนักส่งเสริมระบบขนส่งและการจราจรในภูมิภาค สนง.นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำคณะนักวิชาการรายงานผลการศึกษา ตลอดจนรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไปกว่า 300 คน

นายนิรันดร์ เกตุแก้ว ผอ.สำนักส่งเสริมระบบขนส่งและการจราจรในภูมิภาคสนข. กล่าวว่าการนำเสนอความก้าวหน้า และรับฟังความคิดเห็น ทั้งแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ,แผนการจัดระบบการจราจร,แนวเส้นทางและรูปแบบระบบขนส่งสาธารณะ,แผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งธารณะ – จุดจอดแล้วจร และผลกระทบและมาตรการป้องกันผลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จะเป็นครั้งสุดท้ายหรือปัจฉิมโครงการ และยังจะรับฟังความคิดเห็นต่อ ระหว่างการรวบรวมจัดทำรูปเล่ม “ฉบับสมบูรณ์” ที่จะแล้วเสร็จกรกฎาคมนี้

“ น่ายินดีกับชาวอุดรธานีมีอุดรซิตี้บัส จากการลงทุนของภาคเอกชนในพื้นที่ 2 เส้นทางแล้ว ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาราคาค่าโดยสาร จะสวนทางกับจำนวนผู้โดยสาร ทำให้มักจะมีปัญหาผลประกอบการ ขณะศักยภาพเส้นทางรถโดยสารต่างกัน ผู้ประกอบการน่าจะเป็นรายเดียวกัน เพื่อเฉลี่ยผลประกอบการกันรวมถึงเมื่อรถโดยสารผลประกอบการไม่ดี ผู้ประกอบการจะต้องมีรายได้จากส่วนอื่น ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากพื้นที่สถานีและรายได้จากโฆษณา หรือการรับสนับสนุนจากภาครัฐ หรือ องค์กรปกครองท้องถิ่น ”

โดยผลการศึกษายังคงยืนยันว่า ระบบขนส่งสาธารณะรวมระยะทาง 105 กม. จะใช้รถเมล์ไฟฟ้า 6 สาย คือ สายสีแดง (สถานีรถไฟ-สนามบิน) ด้วยบัสมารตฐาน 10.8 กม. , สายสีส้ม (รอบในเมือง สถานีรถไฟ-หนองประจักษ์-สถานีรถไฟ) ด้วยไมโครบัส 9.8 กม. เริ่มทันที 2 สายในปีแรก ที่เหลืออีก 4 สาย ดำเนินการก่อนปี 69 คือสายสีเขียว (ศาลแรงงาน-โพศรี-ศรีสุข) 13.10 กม. , สายสีน้ำเงิน (โนนสูง-ตลาดผ้านาข่า) 34.50, สายสีชมพู (มรภ.อุดร ศูนย์สามพร้าว-ทุ่งศรีเมือง-อดุลยเดช) 19.45 , สายสีชมพู (มรภ.อุดม ศูนย์สามพร้าว-ทุ้งศรีเมือง-อดุลยเดช) 19.45 กม. และสายสีเหลือง (แยกบ้านเลื่อม-แยกบ้านจั่น) 12.90 กม.

ซึ่งทั้ง 6 สาย สามารถดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยรถเมล์ไฟฟ้าก็ใช้พลังงานสะอาดแม้จะต้นทุนในการจัดหารถสูงแต่ค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานและการบำรุงรักษาต่อปีต่ำ จากนั้นก่อนปี 2580 อุดรธานีจะต้องศึกษาความเป็นไปได้ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในการใช้ระบบขนส่งสาธาณะทางราง(แทรม) ทั้งในรูปแบบที่เอกชนลงทุนร่วมกับกรมการขนส่ง และการลงทุนของเอกชน กับองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อดำเนินการให้ได้ปี 2582

การศึกษาได้เปรียบเทียบอุดรธานี กับเมืองอันสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ที่มี่ทั้งระบบขนส่งทางอากาศ และขนส่งทางรถไฟ ที่รถเมล์ไฟฟ้าจะเชื่อมระบบขนส่ง เข้ามาหาย่านต่างๆของตัวเมือง พร้อมโครงข่ายการคมนาคมอื่นๆ จึงกำหนดให้มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งหลัก ในพื้นที่เมือง 2 จุด จุดแรกยูดีทาว์น-สถานีรถไฟ-เซ็นทรัล จุดที่สองทุ่งศรีเมือง-ถนนประจักษ์ และจุดจอดแล้วจร พร้อมกับการจัดการเดินรถให้สอดคล้องกัน เส้นทางรถโดยสารสาธารณะ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะการจัดทำร่างกฏบัตรอุดรธาณี ที่ทำทำคู่ขนานมากับ สนข. กลับมีผลที่แตกต่างกันไป โดยยืนยันว่าอุดรธาณีจะต้องมี ระบบขนส่งมวลชนด้วยร่าง (แทรม) 1-3 สาย และจะเดินหน้าหาผู้เข้ามาลงทุนพร้อมยืนยันว่าได้รับการประสานจาก รถไฟฟ้า บีทีเอส. ขอข้อมูลเบื้องต้นในการเข้ามาศึกษาระบบรางของอุดรธาณีหลังจากการเปิดเดินรถอุดรซิตี้บัสในเดือนแรกมีผู้โดยสารสูงถึงวันละ 8-900 คนคนสูงกว่าในบางจังหวัดที่เดินรถมากกว่า 2 ปี

ที่มา:udontoday

แสดงความคิดเห็น