นับถึงวันที่เขียนต้นฉบับนี้ก็ยังไม่เห็นหน้า ครม.ประยุทธ์ 2 เลยนะครับทั้งๆที่ผ่านการเลือกตั้งส.ส.มากว่า 3 เดือนแล้วจึงเป็นการเปิดประวัติศาสตร์การเมืองหน้าใหม่ ให้ลูกหลานได้ศึกษาทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และประวัติ ได้ศึกษาเล่าเรียนเปรียบเทียบกับอารยะประเทศทั่วโลกว่าประเทศไหนทำสถิติการสรรหาครม.ได้ยาวนานที่สุดในโลกบ้าง จึงไม่น่าแปลกใจที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีการเปิดสภาเพื่อเปิดโอกาสให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนที่เลือกตั้งมาจากประชาชนได้ตั้งกระทู้และญัตติถามฝ่าย ผู้บริหารรัฐบาล(ชุดเดิม) เกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่บรรดาส.ส.ทั้งหลายรับโจทย์จากประชาชนในเขตพื้นที่ของตัวเองช่วยหาเสียงเลือกตั้งมาหาคำตอบแม้จะไม่ได้คำตอบเพราะยังไม่มีรัฐบาลชุดใหม่ แต่อย่างน้อยๆก็ได้ออกทีวีถ่ายทอดสดให้ประชาชนในพื้นที่ที่เลือกตัวเองมาได้เห็นว่าตัวเองเริ่มทำหน้าที่ตามที่สัญญากับประชาชนเอาไว้ช่วงหาเสียงแล้ว
หนึ่งในจำนวนส.ส.ที่ขอยื่นอภิปรายในครั้งได้อภิปรายเกี่ยวกับแผนปฎิรูป ประเทศด้านการศึกษาเอาไว้อย่างน่าฟัง ก็คือท่านส.ส.ปรีดา บุญเพลิง หัวหน้าพรรคครูไทย เพื่อประชาชน และส.ส.สายการศึกษาอีกหลายท่านอาทิ ส.ส.ขจิต ชัยนิคม พรรคเพื่อไทย ส.ส.กนก วงตระหง่าน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น ได้นำแผนปฎิรูปประเทศด้านการศึกษามาอภิปรายในครั้งนี้หลายประเด็นด้วยกันเช่น การปฎิรูปการผลิตและพัฒนาครู การปฎิรูปการเรียนการสอน การฝึกหัดครู และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้มีการใช้บูรณาการงานร่วมกันซึ่งแผนปฏิรูปที่ทางคณะกรรมการอิสระเพื่อปฎิรูปประเทศ (กอปศ.)จากรัฐบาล คสช.นำมาเสนอนั้นยังไม่มีทิศทางที่จะให้มีการปฎิรูปทางด้านการศึกษาประสบผลสำเร็จเลย
โดยท่านอาจารย์ดร.กนก วงศ์ตระหง่าน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เสนอให้มีการทบทวนแผนปฎิรูปประเทศ และแผนแม่บทให้สอดคล้อง กับพ.ร.บ.ว่าด้วยการปฎิรูปประเทศซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก เพราะการทบทวนแผนปฎิรูปจากผู้ที่มาจากตัวแทนภาคประชาชน น่าจะนำปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่และสถานการณ์จริง สะท้อนได้ดีกว่าคณะที่มาจากตัวแทนภาคประชาชนน่าจะนำปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่และสถานการณ์จริงสะท้อนได้ดีกว่าคณะที่มาจากคำสั่งคสช.ไม่มากก็น้อย
ประเด็นสำคัญหากมีการยกขึ้นมาทบทวนอีกครั้งนั้นผู้เขียนอยากนำเสนอประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาทบทวนหรือเพิ่มเติมประเด็นการปฎิรูปการศึกษาดังต่อไปนี้
1.แผนการกระจายอำนาจทางการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการปฎิรุปประเทศแทบทุกด้านจะพึงมีและพึงกระทำเพราะอารยะประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อการ กระจายอำนาจจากส่วนกลางไปส่วนพื้นที่เป็นสาระสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระจายอำนาจทางการศึกษาซึ่งการศึกษาไทยได้มีการรวมศูนย์อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาเอาไว้ที่ส่วนกลางมาโดยตลอดตั้งแต่ตั้งกระทรวงศึกษาเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
แม้ว่าในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 จะเขียนบังคับ ไว้ให้กระจายอำนาจทั้ง 4 ด้าน ออกไปไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านวิชาการ จะต้องกระจายไปสู่ส่วนสถานศึกษาโดยตรงไม่ใช่ไปกระจุกอำนาจอยู่ที่เขตพื้นที่การศึกษา หรือกระจุกอำนาจไปไว้ที่ศึกษาธิการจังหวัดอย่างเช่นปัจจุบัน เพราะถ้าเป็นการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็กระจายอำนาจไปไว้ที่มหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่สอนระดับปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนการจัดการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีลงมา ก็ให้กระจายไปยังสถานศึกษาโดยตรงโดยมีรูปแบบการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นฐาน(School Based Management:SBB)โดยมุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญพร้อมมีระบบประกันคุณภาพการศึกษาที่รอบด้าน แต่ที่สำคัญจะต้องมีการจัดทำแผนการกระจายอำนาจทางการศึกษาดังกล่าวให้ชัดเจนก่อนการดำเนินการ
- แผนการปฎิรูปกฎหมายการศึกษาซึ่งได้อธิบายในอีสานบิซในฉบับที่แล้วว่าทางคสช.ได้ออกคำสั่งยกเลิกการใช้กฏหมายการศึกษาหลายฉบับแต่ละฉบับก็มีการยกเลิกหลายมาตราโดยไม่ได้ยกเลิกกฏหมายทั้งฉบับเพื่อแก้ไขปัญหาตามนโยบายคสช.
ดังนั้นเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาคปกติแล้วก็สมควรที่จะให้มีการยกเลิกคำสั่งคสช.ที่นำมาใช้บังคับทางด้านการศึกษาแล้วนำกฏหมายทางการศึกษาฉบับเต็มรูปแบบโดยปฎิรูปและปรับปรุงกฏหมายแต่ละฉบับให้สอดคล้องต้องกันสามารถบูรณาการกันได้ทุกฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งคสช.และกฏหมายการศึกษาหลายฉบับที่ไม่สอดคล้องกันกับแผนการปฎิรูปประเทศด้านการศึกษา
3.แผนการสร้างระบบธรรมภิบาล ในการกำกับดูแลและการบริหารจัดการระบการศึกษาของภาครัฐ เพราะปัญหาหนึ่งที่คอยบั่นทอนความก้าวหน้าของการปฎิรูปการศึกษาในรอบที่1ก็คือการทุจริตคอรัปชันแทบจะทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหารจัดการระบการศึกษาของภาครัฐ สมควรอย่างยิ่งที่จะจัดให้มีระบบธรรมภิบาลโดยมีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมขึ้นมากำกับดูแลกระบวนการบริหารงานบุคคลและการบริหารจัดการระบบการศึกษาภาครัฐทุกขั้นตอน
4.แผนการปฎิรูปด้านการศึกษาอื่นๆเช่นการผลิตพัฒนาครู การปฎิรูปหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การผลิตสื่อ การเรียนการสอน ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและแผนการแก้ไขปัญหาสวัสดิการ สวัสดิภาพครูไปจนถึงการแก่ไขปัญหาหนี้สินครูเป็นต้น
ดังนั้นค.ร.ม.ประยุทธ์2เริ่มขับเคลื่อนเมื่อไหร่แผนปฎิรูปประเทศด้านการศึกษาเหล่านี้จะต้องนำมาทบทวนและดำเนินการตามแผนต่อไป ซึ่งเราจะต้องติดตามการขับเคลื่อนเหล่านี้จากรมว.ศธ.คนใหม่อย่างใกล้ชิดต่อไปครับ
บทความโดย: ดร.เพิ่ม หลวงแก้ว เลขาธิการมูลนิธิครูประชาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ