สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และกลุ่มยุติธรรมภิวัฒน์ เปิดโปงเบื้องลึกเบื้องหลัง แผนการอันแยบยล ขบวนการหากินกับ “หนี้สินครู” อย่างถึงลูกถึงคน พร้อมใช้กระบวนการทางศาลเอาผิดบุคคลที่เกี่ยวข้องถึงที่สุด
จะวิกฤตแล้ว หนักยิ่ง จนถึงขั้นธนาคารจะวิกฤตอยู่ไม่ได้ ตามที่อดีตรัฐมนตรีว่าไว้???
และจากปากคำของเลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติที่จับสังเกตติดตามมาแต่ต้นว่า “ธนาคารฯ…โดมิโนใช่หรือไม่?” ไทยรัฐออนไลน์ช่างคิดคำนี้ได้ตรงที่สุด “มืดมิด ไร้ทางออกหนี้ครูดั่งหมูป่าติดถ้ำ…”(สกู๊ปไทยรัฐ.24 ก.ค.2561 เปิดกูเกิลดูได้โดยเฉพาะครูที่ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวจะฟ้องเพื่อให้ศาลเท่านั้นชี้ขาด)
ทำไมยุติธรรมภิวัฒน์เรา(ผู้เขียน) จึงเลือกเรื่องหนี้ครูเป็นตัวแบบอย่างกรณีตัวอย่างของการโกงผลประโยชน์ทับซ้อน ซ่อนเงื่อน โกงในนโยบายของหน่วยงานของรัฐทั้งสาม ผ่านสัญญาเงินกู้ การ(ค่อยๆ)คืนเงินดอกเบี้ยร้อยละ 0.5-1.0 แก่ สกสค.แบบมีชั้นเชิงเหลี่ยม!!! การสมคบกันทั้งสองสามองค์กรของรัฐนี้ อาจใช้วิธีการเรียนรู้ในอดีตโดยเฉพาะของ ศธ. ช่างทำละเอียดละเมียดแต่ไม่ละไม(งามน่าชม) หลบเลี่ยง หลีกลี้ได้เก่ง ผสมโรงกับครูบางคน(มากด้วย) ที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทับซ้อน ได้ฝูงเหยื่ออันโอชะจากครูกว่า 5 แสนคน(ตัวเลขทราบโดยทั่วไปสูงสุดในโครงการ 5-6-7)
กลุ่มยุติธรรมภิวัฒน์โดยเฉพาะเราสมัยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยฯ โอกาสดีที่พรรคความหวังใหม่เสนอให้เป็นกรรมาธิการแปรญัตติร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ.2542 เห็นว่าการแก้ปัญหาที่แน่นอนมั่นคงมีอยู่สองประการนี้เท่านั้น ลดหนี้ลงครึ่งหนึ่งผ่อนส่งดอกเบี้ยต่ำยาว ยกเลิกหนี้ทั้งหมดให้ถ้าทำตามนโยบายรัฐ ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงพูดที่มางบประมาณรัฐชัดเจนให้เป็นทุนประเดิมก้อนแรกไว้ในพระราชบัญญัติ และสองต่อสู้ทางศาล เนื่องจากเราเป็นกลุ่มคนเล็กๆ ทำงานแบบจิตอาสา(ตามแบบจิตอาสาของรัฐสมัยใหม่นี้) จึงเลือกวิธีการจบลงที่ศาลเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อเรามีโอกาสได้พบใครแลกเปลี่ยนกับใคร โดยเฉพาะบรรดารัฐมนตรีเราจะร้องขอให้เข้าไปตรวจดูการใช้เงินต่างๆ ว่าถูกต้องหรือไม่?
เราพบประสบการณ์ที่เป็นจริงแล้ว(อีกครั้งๆ) เมื่อไปยื่นให้องค์กรตรวจสอบภาครัฐเขาจะตอบมาว่า ยังอยู่ขั้นดำเนินการ หรือไม่เข้าข่ายในอำนาจหน้าที่ หรือเงียบงัน เราคอยมาเป็นปีแล้ว ทั้งๆ ที่สามารถทำได้ ถ้านายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมีบัญชาลงไปสองสามอาทิตย์ก็ได้ข้อมูลแล้ว
เราคงยืนยันเสมอว่า วิชาชีพครูต้องเป็นตัวอย่างของสังคม เรามีใบประกอบวิชาชีพ ใครก็ตามที่มาตามกลุ่มยุติธรรมภิวัฒน์ ต่างทราบดีว่า เราสนับสนุนให้ใช้กระบวนทางศาล กลุ่มยืนยัน “ครูต้องชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย” (อ่านในธนบัตรใบละบาทเลยว่า “ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” คำว่า”ตามกฎหมาย” มีความหมายหลายอย่าง ย่อมหมายถึงถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ผิดกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ มติใดๆ ที่ออกมีขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ศาลผู้เดียวจะเป็นผู้ชี้ขาด ดังนั้น เราจึงมุ่งมั่นที่จะร่วมกันฟ้องบุคคลและหน่วยงานที่เราเห็นว่าไม่ทำ “ตามกฎหมาย”
เราจะร่วมกันฟ้องศาลในมูลหนี้ที่ทำให้คนบางสถาบันได้เงินโบนัสมากถึง 7เท่า คนบางคนบางกลุ่มเอาเงินออกมาใช้จ่ายโครงการโซลาร์เซลล์ที่บ้านเกิด 2,500 ล้านบาท ฯลฯ ในข้อหาหลายข้อหา เช่น ฟอกเงิน (ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดไป 28 คน ป.ป.ง. ยึดทรัพย์ 20 คน คดีอาญาอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลทุจริตฯ กลาง) และกฎหมายข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย ก็ต้องดูในสัญญาระหว่างครูกับธนาคารออมสิน พฤติกรรมเป็นอย่างไรตลอดมา ทำไมครูเสียดอกเบี้ยค่าปรับต่างๆ จำนวนมากจนเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ระหว่างการหักเงินเดือนโดยต้นสังกัด ต้นสังกัดได้รับเงิน “ค่าจ้าง” (อ้างในผู้อำนวยการธนาคารออมสินสัมภาษณ์ยูทูปหมาป่าว่าจ่ายเงินเป็น “ค่าจ้าง”) เราต้องฟ้องหน่วยงานต้นสังกัด ฯลฯ ดังนั้น
จึงเรียกร้องให้
(1) ครูทุกคนไปขอใช้เทคโนโลยี่ MyMo มาตรวจสอบการเคลื่อนไหวบัญชีตั้งแต่เริ่มต้นจนปัจจุบัน ด้วยตนเอง
(2) ฟ้องผิดระเบียบฯ กฎหมายต่างๆ (ให้ครูต้องเสียดอกเบี้ยแพงต้องมีคนรับผิดชอบ) ต้องเงินเดือนเหลือร้อยละ 30 จึงจะกู้ได้ ครูส่วนใหญ่ที่กู้เหลือไม่ถึงแน่???
(3) พนักงานของรัฐ (ผู้อำนวยการฯ ทั้งหมดหลายร้อยคนจากสองหน่วยงาน) หักเงินเดือนเราไปแล้ว ได้ค่าจ้าง
“ค่าจ้าง” ต้องนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน ถ้าฟ้องแล้วคาดว่าจะสั่นสะเทือนกันทั้งประเทศเลย.
(4) ฟ้องอาญาโทษฐานฉ้อโกงประชาชนตั้งแต่สิบคนขึ้นไป (ยังหวังพึ่งองค์กรตรวจสอบของรัฐไม่ได้ แต่ก็ต้องทำต่อไปจนสิ้นกระแสความ) โทษหนักมากเป็นร้อยๆพันปี สั่นสะเทือนทั่วประเทศเหมือนแชร์ลูกโซ่
ยอมรับในเล่ห์เพทุบายคนโกงมากของคนไทย หาข้อมูลยังไม่ได้เลย! ขนาดคนระดับรัฐมนตรีหมอธีสั่งหาคนงาบประกันไป ยังหาไปไม่ถึงไหนเลย? และ
(5) ฟ้องการ”โอนสิทธิเรียกร้อง(ไปหมดแล้ว) ตามป.พ.พ.มาตรา 306 และแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2554 คดีนี้(ถ้ามี) คนที่เจ็บปวดที่สุดเห็นจะเป็นหน่วยงานของรัฐทั้งสองแห่ง
(6) และฟ้องในประเด็นอื่น ๆ
ถามว่าจะประสพความสำเร็จไหม??? ตอบว่า ไม่ทราบจริงๆ!!!
แต่เราต้องเตรียมข้อมูลรอบด้าน การสนทนาผ่านไลน์กลุ่ม พร้อมข้อสังเกตของทนายจิตอาสา มากๆ ทุกคนเสนอมา มักจะได้คำตอบ แนวสืบค้นที่ดีและมากพอเสมอ เราจึงต้องเตรียมตัวเป็นปีๆ (เพราะว่าเป็นเรื่องสุดท้ายแล้วตามวัย)
ต่อไปนี้เป็นข้อความสั้นๆ แต่มีพฤติการณ์แห่งคดี(ประเด็นสำคัญแห่งคดี) ได้มาจากสกู๊ปไทยรัฐอ้างแล้วในตอนผ่านมา
เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ(กัลยาณี รุทระกาญจน์) รวมทั้งข้อคิดเห็นไทยรัฐ มีประเด็นที่ควรพิจารณา ดังนี้
(1) เงิน ช.พ.ค.เมื่อตาย “ตามกฎหมาย” แล้ว ป.พ.พ.ระบุว่า ไม่สามารถบังคับคดีได้ เหตุไฉน พวกเขาจึงทำให้กลายเป็นเงินชำระหนี้ (สัญญาเป็นธรรมไหม? ผู้คิดหรือคบคิด “ออกแบบสัญญา” โปรดตอบด้วย?)
(2) สัญญาเจ้าปัญหานี้ ให้แบ่งจากเงินออกเป็นสองส่วน
(2.1) ชำระให้ออมสิน (มีอยู่สามคือกองทุนออมสินที่ให้มาร้อยละ 0.5-1.0 และกองทุนที่ สกสค.ตั้งเองสองกองทุนโดยหักเอาทันทีกับผู้กู้คนละ 2 พันบาทและ4 พันบาท ตามวงเงินที่กู้ และกองทุนที่หักเอาจากผู้กู้คนละ1หมื่นบาท)
(2.2) จ่ายกลับคืนให้ สกสค. (“ค่าจ้าง”ตามที่ระบุ) คิดให้ร้อยละ 0.5-1.0 ธนาคารออมสิน(ธอส.) เริ่มจ่ายให้ สกสค. ตั้งแต่โครงการ 2 (ปี2552) ปัจจุบันยอดเงินสะสมราว 2.2 หมื่นล้านบาท
คำถามสำคัญคือ
1). มีสัญญาเงินกู้ประเภทไหนที่เจ้าหนี้คนให้กู้สามารถให้ลูกหนี้ผ่านตัวแทนลูกหนี้ผู้กู้คือ สกสค.ได้ (ธปท.อาจช่วยตอบด้วย)
2). ธอส.สามารถเอาเงินมหาศาลนี้ไปใช้จ่ายอะไรตามใจชอบได้หรือไม่?
ซ้ำร้ายกว่านั้น เงินจำนวน2.2หมื่นล้านบาท ยังเก็บไว้ที่ ธอส. (สกสค. พยายามทวงถามขอให้ส่งหลายครั้งช่วงปี 2558-2559) ธอส.จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ปล่อยกู้หาประโยชน์ได้ นำไปสร้าง NPL ธนาคารให้จำนวนน้อยลงได้เราเคยสงสัยว่าเงินฝากเบี้ยประกันทั้งหมดที่ ธอส.สาขาบางกะปินั้น ธอส.หรือทิพยประกันภัยได้ประโยชน์หรือไม่? “การรับรู้รายได้” เพื่อเสียภาษีนิติบุคคลในบัญชีของทิพยประกันภัย (สงสัยจริงๆ ใครเอาไปไหนอย่างไร ไม่ยากเพียงดูในบัญชีนั้นว่าใครมีอำนาจเบิกจากบัญชีนี้บ้าง? เสนอกรมสรรพากรเป็นรายปีหรือเสนอรวม9ปี?)
เฉพาะพวกเราโปรดทราบ เงินนี้ ธอส. นำไปชำระหนี้พวกครูผิดนัดสามงวดเป็นเงินเท่าที่ค้นคว้าได้สูงถึงกว่า 1 หมื่นล้านบาทแล้ว(อ้างอิงสกู๊ปไทยรัฐ) สกสค.สมัยหมอธี(นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) จึงสั่งให้ สกสค.ไม่รับเงินยอดนี้ แต่ให้นำไปจ่ายให้ครูลูกหนี้ดีแทน มีบางจำนวนที่ได้รับโอนมา
แต่พวกเขา 20+8 คน นำโดยเลขาธิการ สกสค.คนแรก(เกษม กลั่นยิ่ง) คนที่สอง(สมศักดิ์ ตาไชย) ที่ผู้แทนองค์กรครูพร้อมใจกันเลือก กลับเอาเงินจากโครงการนี้ ไปทำโซลาร์เซลล์ที่บ้านเกิด(อ้างแล้ว) “เงิน(บาป)ก้อนนี้อยู่ที่ไหน ยุ่งยากซับซ้อนมาก ขอข้อมูลตรวจสอบยากมาก ล้วนเป็นเล่ห์เหลี่ยมของคนเกี่ยวข้อง.
เห็นหรือยังครับว่า การล้างท่อขยะโสโครกครั้งใหญ่ใน ศธ. ช่างยากเย็นแสนเข็ญขนาดไหน เราต้องร่วมมือกันช่วย
คราวนี้ ปมเงื่อนสำคัญยิ่งในประเด็นต้องการหาหลักฐานการฟ้อง”ฉ้อโกงประชาชน” ประกันชีวิต(ตามมติ ครม.2551) เสียเบี้ยฯ รวดเดียว10 ปี ไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ต่อมาเราถูกปรับเปลี่ยน”อุบัติเหตุฯ” เป็นเช่นใด?
เราถูกจุดประเด็นขึ้นเมื่อสงกรานต์ อริยะทรัพย์(ทนายความ) ไปร้องเรื่องนี้ครั้งแรกที่ ป.ป.ง. ว่า “ต้องการให้เลขาธิการ ป.ป.ง.ตรวจสอบ และอายัดทรัพย์สินของคณะผู้บริหารต้นสังกัด โครงการ ช.พ.ค.ที่มีส่วนเห็นชอบ ผู้บริหารธนาคาร และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติสินเชื่อฯ ผู้ประกอบการ ตัวแทน นายหน้าของบริษัท เพื่อป้องกันการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปยังบุคคลที่สาม(อ้างแล้วใน kroobannok.com)
อีกนิดหนึ่งไม่อยากเล่าสักเท่าไร หลังจากนั้นไม่นาน ผมก็”ฝัน” เห็นคนคล้ายๆ ผู้นำองค์กรกลุ่มหนึ่ง พร้อมด้วยภรรยาไม่ใหญ่หลายคน ได้ช่วยกันหามถุงอะไรมาจำนวนมาก แล้วรีบใส่รถยนต์แล้วก็ขับออกไป แล้วผมก็ตื่นขึ้น(ฝันใช้เป็นพยานศาลไม่ได้)
นี่แหละครับ…ผมจึงเร่งหาองค์กรของรัฐทำหน้าที่ตรวจสอบ (ปีเศษไม่ได้ผล เราก็ต้องร้องไปยังหน่วยงานอื่นๆ ตรวจสอบต่อไป จนกว่าจะพบ)
เราจึงค่อยๆ ค้นคว้าต่อไป พบว่า บริษัทประกันนี้ ป.ต.ท.ถือหุ้นใหญ่ที่สุด ธนาคารออมสิน (หุ้นใหญ่ลำดับ 2) รองลงไปเป็น ธ.กรุงไทย(องค์กรของรัฐ)บริษัทกรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด(มหาชน) กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ ฯลฯ ตามทั้ง 5 อันดับ.
ลองมาดูกำไรสุทธิประกันภัยนี้
ปี2559 กำไรสุทธิ 1,568 ล้านบาท(ลบ.)
ปี2560 กำไรสุทธิ 1,656 ลบ.
ปี2561 กำไรสุทธิ 1535 ลบ. จะเห็นว่าเป็นอัตรากำไรสูงถึงร้อยละ 27.8 เลยทีเดียว (อ้างใน. เสือนอนกินทิพยประกันภัย.www.longtunman.com)
บริษัทมีธรรมาภิบาลหรือไม่? หลังจากมีข่าวหนาหู ผู้จัดการใหญ่กับพวกรวม4 คน ทำการ “ใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้นทิพยประกันภัย” (อินไซด์) ก.ล.ต.เขาเลยใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งปรับ 8.6 ล้านบาท เขาจะใครไปไม่ได้ นอกจากนายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ทิพยประกันภัย ทั้งๆ ที่เขาบอกเราเสมอว่า “เนื่องจากเป็นโครงการภาครัฐ ทิพยประกันภัยซึ่งเป็นบริษัทที่มีภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นและดำเนินธุรกิจด้วยคุณธรรม จึงยินดีสนองนโยบาย…” (www.mrgonline.com 7 มิ.ย.2558 และ Isranews.org และอื่นๆ อีกหลายฉบับ)
ขอท่านตามเราอีกสักนิดคำว่า “ดำเนินธุรกิจด้วยคุณธรรม” เรื่องเงินค่าปรับทางแพ่ง 8.6 ลบ.เมื่อ ป.ต.ท.รับรู้ก็ได้เรียกประชุมบอร์ด ป.ต.ท.ทันทีกับผู้แทน ป.ต.ท.ในบอร์ดทิพยประกันภัยฯ เพราะเป็น “ธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจ” ภาษาที่ ป.ต.ท.ใช้ เมื่อเข้าประชุมบอร์ดทิพยประกันภัยฯ นายสมใจนึก เองตระกูล (อดีตปลัดกระทรวงการคลัง) ประธานกรรมการบริษัททิพยประกันภัยฯ กลับบอกว่า เราลงโทษไปแล้วแค่ “ตักเตือน” เพราะในตอนนั้นผู้แทน ป.ต.ท.บอกว่า “ไม่ได้บอกว่าให้ทำอะไร” ทั้งที่ในบอร์ด ป.ต.ท. โทษถึงขั้นปลดออกไล่ออกเลย (อ้างแล้วใน Isranews.) ถามผู้อ่านว่าใครเชื่อ เรื่องประกันครูจำนวนเบี้ยหลายหมื่นล้านบาทบ้างสำหรับเรา…ครับ)
ใครเป็นผู้นำทิพยประกันภัยเข้ามาหาครู เราคิดไตร่ตรองตลอดใครกันแน่? ก็ไม่สามารถสรุปได้แน่นอน เราเริ่มจาก
- ด้านความสัมพันธ์เราทราบดีว่า เลขาธิการ สกสค. มีความสัมพันธ์รู้จักดีหรือไม่ ไม่ขอตอบ แต่ถ้าพิจารณาในหนังสือ
“แผนยุทธศาตร์สำนักงาน สกสค.พ.ศ.2552-2554” ในหน้า 29 ก็ได้กล่าวถึงบริษัททิพยประกันภัยฯ นี้ไว้
เวลาเราไปถามพนักงานออมสินสาขาจะได้ตอบเราด้วยวาจาทำนองว่า ให้ไปถาม สกสค. เราจะพิจารณาจากคำพูดของคนเพียงสามคนก่อน
(หนึ่ง)ธนาคารออมสิน
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธอส.กล่าวในเรื่องนี้ว่า “ธนาคารจึงประสานบริษัทประกันเพื่อจัดทำประกันสินเชื่อแบบคุ้มครองเต็มวงเงินกู้(แบบทุนประกันคงที่) เพื่อลดความเสี่ยงทุนประกันไห้พอกับมูลหนี้คงเหลือ…”(อ้างอิงหลายแห่ง เช่น www.bankokbiznews.com…)
- สกสค. ฟังคำตอบจาก ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงในฐานะประธาน สกสค.(ตอนนี้ถูกปลดออกจากราชการตามมาตรา 157 ไม่ระงับทุจริตสอบผู้ช่วยครูใน สพฐ.) กล่าวว่า ที่เลือกทิพยประกันภัยมาในโครงการเพราะได้รับคำชี้แจงว่า รัฐถือหุ้น ขณะที่นายวัฒนา วรรณโสภา รองเลขาธิการ สกสค.กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องไปขอดูกับธนาคารออมสิน ทาง สกสค.ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไรแล้ว เพราะโครงการนี้ก็เอาตัวอย่างมาจากโครงการพัฒนาชีวิตครู (อ้างในเอกสาร 1.และ 2.) เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีเรื่องมติ ครม.ที่หน่วยงานตรวจสอบอย่างน้อย 4 แห่ง อ้างว่า โครงการ 5-6-7 นั้นไม่ใช่มติ ครม.(2551) แต่ประการใด.
- จากทิพยประกันภัย นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการทิพยประกันภัยฯ กล่าวว่า “ไดรับเชิญจาก ธอส.และสำนักงาน สกสค.ให้เสนอการประกันสินเชื่อให้แก่ข้าราชการครูในโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.” (เดลินิวส์.8มิ.ย.2558)
ความเห็นของเราสรุปว่า มีผู้ไปเชิญประกันภัยสององค์ (แต่ไม่ต้องประกวดราคาตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงการคลังและสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น และบังคับทำประกัน? ผิดหรือไม่???)
ประเด็นที่เป็นจุดสำคัญที่สุด “ฉ้อโกงประชาชน” จะใช้ประโยคสั้นๆ ตามกลุ่มเอกสารอ้างอิงต่อไปนี้
เอกสารเหล่านี้และจะได้เพิ่มเติมตามมาอีกในวันข้างหน้า จะเป็นหลักฐานมัดได้หรือไม่ อย่างไร?
ประเด็นทั่วไปก่อน เราจะเริ่มในโครงการ 5 (ที่ สกสค.ยุบทิ้งพร้อมการตรวจพบการทุจริตจากเลขาธิการสกสค. คนที่1(8ปี) และเลขาธิการคนที่ 2 กับพวกรวมแล้ว 20+8 คนที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ป.ป.ง. ยึดทรัพย์รวม 20 คน เลขาธิการฯคนที่ 2 พบส่อพิรุธหลายอย่างในช่วงกำลังตรวจสอบมากมาย ยังผลให้ คสช. ใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 ทำการปลดออกจากตำแหน่ง จากนั้นไม่นานรัฐมนตรีฯสั่งไล่ออกจากราชการ
ปัญหาก็เกิดขึ้นมากมาย แต่หน่วยตรวจสอบของรัฐกลับนิ่งเฉย(ใครจะทำไม?)
เริ่มจาก ประเด็นแรก เรียกเก็บเบี้ยรวดเดียว10ปีเป็นการประกันชีวิต(ตามมติครม.2551)* ตอนหลังมติชนได้รับคำชี้แจงว่า บริษัทธนชาต ประกันชีวิต จำกัด เป็นบริษัทประกันชีวิต แต่กลับมารับจากบริษัททิพยประกันภัยฯ ซึ่งเป็นบริษัทประกันวินาศภัย ทำไมไม่รับตรง?…ข้อสงสัยเหล่านี้ได้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ดังตัวอย่างนักวิชาการ และผู้ผู้บริหาร คปภ.ว่า ทำไม?
นางสุดา วิศรุตพิชญ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ในหลักกฎหมายไม่น่าจะทำได้ในกรณีให้บริษัททิพยประกันภัยฯ ทำ เพราะเป็นบริษัทซึ่งทำได้เฉพาะประกันวินาศภัยอุบัติเหตุเท่านั้น (อ้างในเอกสาร 11.)
“มติชนรายวัน 18ตุลาคม2553 ได้ยกตัวอย่าง นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการฯ คปภ. ให้สัมภาษณ์ว่า
“กรณีสงสัยเรื่องที่บริษัททิพยประกันภัยซึ่งเป็นบริษัทรับประกันวินาศภัย แต่เข้ามารับประกันสินเชื่อโครงการเงินกู้
ช.พ.ค.5 และ 6 ตามหลักกฎหมายแล้ว บริษัทรับประกันวินาศภัยจะเข้ามารับประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่อไม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการเลี่ยงระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นธนาคารออมสินและ สำนักงาน สกสค.ด้วยเป็นลำดับแรกๆ” (อ้างในเอกสาร 10.)
สอดรับกับนางจารุพร ไวยนันท์ อดีตคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. กรณีนีี้กล่าวว่า คงเป็นเรื่องยากมากที่บริษัทประกันภัยจะออกกรมธรรม์มาผิดประเภท เพราะสำนักงาน คปภ. จะเป็นผู้พิจารณารายละเอียดในกรมธรรม์ว่าบริษัทประกันภัยดังกล่าวสามารถสามารถออกกรมธรรม์ได้หรือไม่” (อ้างใน 10.) ในทางปฏิบัติตลอดมาทาง สกสค.เมื่อผู้กู้ถึงแก่ความตายทาง สกสค.จะต้องส่งเงิน ช.พ.ค.นั้นไปให้ธนาคารออมสิน และธนาคารออมสินเป็นผู้รับสินไหม (อ้างจากการสอบถาม) เมื่อได้ศึกษาจากมติชนที่รับคำชี้แจงจากทิพยประกันภัยฯ ว่า บริษัทประกันชีวิตธนชาตยกเลิกกรมธรรม์นี้ไปแล้วนั้น ” แหล่งข่าวกล่าวว่า ไม่เป็นความจริง ธนชาตฯ ยังคงมีพันธสัญญาตามข้อความที่ระบุตามกรมธรรม์ ตามที่บริษัททิพยประกันภัยฯ เพราะเกรงจะกระทบความสัมพันธ์” (อ้างใน 10.)
มติชนจึงเขียนสรุปว่า ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 และดีเอสไอไต่สวนแล้วสรุปว่า “คณะพนักงานสืบสวนพบข้อเท็จจริงกรณีบริษัททิพยประกันภัยจำกัด(มหาชน) อาจมีการกระทำผิดพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงได้ข้อมูลการกระทำความผิดและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยัง คปภ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปแล้ว” (กรมสอบสวนคดีพิเศษที่ ยธ 0806/025 ลงวันที่ 17 เมษายน 2562)
ความผิดและข้อสังเกตหลังจากตรวจสอบข้อมูลในโครงการ 5-6 ของมติชน มีดังนี้
ประการที่ 1. โครงการฯ ช.พ.ค.5 (มีปัญหามากจนนำไปสู่การยุบทิ้ง(ดูเอกสาร 4.และ 5.)
มีการเปลี่ยนแบบประกันภัย “การออกกรมธรรม์ประกันภัยแตกต่างไปจากแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบ” (ธนชาตออกแบบประกันชีวิต10 ปี แต่มีการออกเอกสารแนบท้าย ไม่ค้มครองการเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ (ผิดกฎหมายประกันชีวิต มาตรา 29 วรรคสาม)
มติชนสรุปว่า “ทั้งสองโครงการ(5-6) มีลักษณะที่ฉ้อฉลเหมือน ๆ กันคือ กำหนดเงื่อนไขแบบบีบบังคับให้ครูที่อยากเข้าร่วมโครงการต้องทำประกันสินเชื่อ…” และจากกรมธรรม์นี้ไม่คุ้มครองการชีวิตจากอุบัติเหตุจึงได้รับเงินเพียง 6 แสน ความจริงต้องได้รับ 1.2 ล้านบาทจากบริษัททิพยประกันภัยฯเท่านั้น “ซึ่งแต่เดิมครูไม่เคยรับรู้มาก่อน”**(ยังมืดมิดในประเด็นนี้)
ประการที่ 2 สงสัยจริงๆ ว่าไม่อ่านมติชน ทำไมไม่สอบสวนถ้าจริงก็ต้องลงโทษ ก่อนที่จะเป็นโครงการ 6 แผนการนี้ สกสค. มีแผนจะเพิ่มเงินเก็บศพจากศพละ 1 บาทเป็น 1.50 บาท แต่เมื่อมติชนเปิดโปงก็ได้ระงับไปในที่สุด(อยู่ในบันทึกการประชุมหลายครั้ง)
ประการที่ 3 เกิดในช่วงกองทุนต่างๆ ใน สกสค.มีการทุจริตหลายกองทุน หลายกองทุนได้จากรีดจากครูกู้หนี้ แต่โครงการยังไม่สมบูรณ์ เช่น กองทุนสนับสนุนพิเศษฯ ธนาคารออมสินจ่ายให้ กองทุนสวัสดิการเพื่อความมั่นคงของสมาชิก ช.พ.ค.(หักเอาจากครูผู้กู้) และกองทุนเสริมสร้างความมั่นคงโครงการสวัสดิการเงินกู้ ช.พ.ค.(หักเอาจากครูผู้กู้) ข้อสังเกตของเรา คิดว่าออกแบบวางแผนมาก่อนเพื่อจะเอาไปหาประโยชน์มากมายโดยที่ครูไม่รู้มาก่อน โครงการเก็บเงินก่อนจนรัฐมนตรีว่าการฯ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ นำเข้าที่ประชุม ปรากฏว่ากำลังอยู่ในขั้นเขียนโครงการ แต่เก็บเงินไปก่อน รัฐมนตรีจึงสั่งคืนครู (ดูเอกสาร 3.)
ท่านลองคิดวิเคราะห์ดูว่า การเสนอของมติชน ผลการสอบสวนและตรวจสอบ คปภ.และผลการตรวจสอบของรัฐมนตรีว่าการฯทั้งสอง (นายจุรินทร์ฯและนายแพทย์ธีระเกียรติฯ) นั้น พอจะกล่าวได้ว่า วางแผนออกแบบเรื่อยมาโดยลงนามร่วมสององค์กรในMOUและทำการแก้ไขถึง 5 ครั้ง เพื่อให้ประชาชน(ครู) และ(หลอก)ให้ประชาชน(ครู)หลงเชื่อ โดยให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หรือไม่ตาม ป.อาญามาตรา 343 ประกอบมาตรา 341 หรือไม่?
เราขอนำข้อความในมติชนที่ว่า “ซึ่งแต่เดิมไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย” “ครูที่กู้เงินทั้งสองโครงการจ่ายเบี้ยประกันสินเชื่อไปเกินความเป็นจริง” ยังผลให้นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการทิพยประกันภัยฯ สั่งการให้รีบจ่ายเงินดังกล่าวแก่ครูโดยเร็ว” “ได้เห็นพฤติการณ์หาผลประโยชน์จากเบี้ยประกันภัยที่รีดจากครูโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมในทุกวิถีทาง”(เอกสาร1.)
และข้อความที่ว่า “ผลจากการตีแผ่พฤติการณ์อันส่อทุจริตบังคับให้ครูมากกว่า2แสนคนต้องเสียเงินประกันชีวิตรวมกันมหาศาลถึง 7,440 ล้านบาทโดยไม่มีเหตุผลความจำเป็นได้ส่งผลให้ คปภ. แต่งตั้งกรรมการสอบสวนประเด็นการบังคับและอีกสองประเด็นที่ส่อไม่โปร่งใส กรณีครูต้องทำประกันชีวิตกันถึง 2 บริษัท คือบริษัททิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) และบริษัทธนชาตประกันชีวิต จำกัด โดยไม่มีสิทธิได้ซึ่งต้องทำให้ครูจ่ายเบี้ยประกันแพงกว่าปกติไปมากกว่า 1.2 หมื่นบาทต่อหัว” (เจ้าหน้าที่ศาลกู้ธนาคารกรุงไทยวงเงิน 8 แสน-1ล้านบาทเสียค่าเบี้ยประกันเพียงปีละ 1,700 บาทเท่านั้น** และเบี้ยประกันอุบัติเหตุนี้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอบอกว่าเขาจะเปิดบัญชีเป็นรายคนหักเอาเป็นรายปี (ดูเอกสาร 3. ข้อเขียนของเราก่อนหน้านี้)
เราสามารถตั้งข้อสงสัยได้ว่า “เหตุใดบริษัทธนชาตประกันชีวิตจึงไม่ได้เข้าร่วมโครงการนี้โดยตรง แต่กลับเข้ามารับช่วงทำประกันชีวิตต่อจากบริษัททิพยประกันภัย จึงเชื่อได้ว่า มีเงื่อนงำไม่ชอบมาพากลอยู่แน่นอน โดยที่ผู้บริหารในสำนักงาน สกสค.และธนาคารออมสินน่ามีส่วนรู้เห็นด้วย…”(เอกสาร 2.)
ท่านที่ต้องการทราบข้อมูลก็สามารถใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสารไปขอดูหลักฐานส่อว่าไม่สุจริตได้กับ คปภ.จังหวัดต่างๆ
ดังที่เลขาธิการ คปภ. คนที่ผ่านมาได้กล่าวปรากฏในสื่อว่า “หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะออกมาทำการตรวจสอบกระบวนการปล่อยกู้ของ ช.พ.ค.ให้กับครูและการทำประกันภัยดังกล่าวให้ถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้เพื่อสร้างความพอใจให้ทุกฝ่าย” และไปขอข้อมูลผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการ 5 จากนายสุนันท์ เทพศรี ผู้ตรวจราชการ ศธ.เป็นประธานที่รัฐมนตรีสั่งแต่งตั้งในสมัยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ (สมัยนั้นเราผู้เขียนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเคยตั้งกระทู้ถามกรณีไว้ด้วย. อ้างในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 38 ง หน้า 35 25 มีนาคม 2553) เราจะทราบดีว่า
ในโครงการ 5 ส่อว่าพิรุธอะไรหรือไม่ ใครเกี่ยวข้องบ้าง ครับ.
*ท่านผู้อ่านเชื่อว่าคดีนี้ศาลฯ คาดเดาว่าจะจบลงอย่างไร สำหรับเราแล้วหลังจากค้นคว้า สนทนากับแหล่งข่าวมาราว 11เดือนแล้วบอกได้คำเดียวว่า…อย่างแน่นอนครับ.
ประการที่ 3 ค่าคอมมิชชั่น เราต้องเข้าใจด้วยว่า เบี้ยประกันนี่เขามีค่าคอมมิชชั่นกันเสมอ (ไม่อย่างนั้นเราคงไม่ฝัน) รายงานบอกเราได้ว่าขั้นสูงสุดน่าจะได้ร้อยละ 18
แล้วกรมธรรม์ที่พวกเขาอ้างว่า สกสค.เป็นนิติบุคคลเปลี่ยนประกันได้เลย ไม่ต้องสนใจมติ ครม.2551 แต่ประการใด
เปลี่ยนMOU แล้วก็ทำกันใหม่ มีปัญหาถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก ถอยดีกว่าเลยยุบโครงการ 5 อีกสักระยะก็เอาโครงการ 6ขึ้นมาแทนตามคำพูดของรองเลขาธิการฯ นายวัฒนาฯ(เอกสาร 5.)
กลุ่มยุติธรรมภิวัฒน์และครูได้ร้องเรียนให้ตรวจสอบยัง 5 หน่วยงาน ในวันที่27 กันยายน 2561 บัดนี้ได้เวลาพอสมควรแล้วที่จะต้องร่วมมือกันช่วยกัน กระชากหน้ากลุ่มมาเฟียที่ทำมาหากินบนหลังครู
หลังจากกลุ่มฯนั้น ครูก็ทำการร้องเรียนไปแล้ว ปรากฏว่า ผอ.ธอส.ได้ชี้แจงว่า กรมธรรม์นั้น บริษัทประกันจะส่งให้เราสองชุด ชุด1 ให้ออมสินถือไว้ ชุด 2 ให้ สกสค.ถือว่า ส่วนเงินค่าคอมมิชชั่น(เอกสารอ้างใน 7.) “ผู้บริหารและ สกสค. ต่างยอมรับว่ามีจริงแต่ไม่ได้รับเป็นตัวเงินโดย สกสค.(สั่ง?)ให้ทิพยประกันภัยนำไปเป็นส่วนลดเบี้ยประกัน”(อ้างเอกสารออกโดยทั่วไป)
พวกครูทั้งหลายบอกโชคดีแล้วที่ผู้แทนครูเป็นผู้เลือกเลขาธิการ สกสค.คนนี้ และพวกเขายังยกย่องต่ออีกว่า ที่ว่าเขาดีมากที่ให้ครูหนี้ไม่เกิน3แสนบาทไม่ต้องทำประกันชีวิต
ในช่วงที่รัฐมนตรี เราและครูคนอื่นๆ กำลังแก้ปัญหาร้องเรียนอยู่นั้น เราถูกครูจำนวนหนึ่งก่นด่า และมีผู้แทนครูคนหนึ่งเขียนข้อความให้เราทางโทรศัพท์ทำนองข่มขู่ถึงชีวิต ในฐานะองค์กรแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(2549-2556) แล้วมายุ่งเกี่ยวทำไม? เพราะเขาย่อมเสียประโยชน์หรือผลกระทบอันควรจะได้อยู่แล้ว คือแต่เดิมถ้ากู้ 1แสนเสียเบี้ย 6,200 บาท วงเงิน2แสนเสีย12,400บาท ไป(เอกสาร 3.)
นายแพทย์ธีระเกียรติฯ รมว.ศธ. กล่าวยอมรับและอยากทราบว่า “สำหรับโครงการเงินกู้ ช.พ.ค.ที่ผ่านมามีเงื่อนไขให้ผู้ขอกู้ทำประกันชีวิตไว้ด้วย รวมเป็นเงินกว่า 3หมื่นล้านบาทและมีคนได้ค่าคอมมิชชั่นจากการประกันนี้ื ตนอยากทราบว่าบุคคลดังกล่าวคือใคร ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐก็ถือว่ารับมาอย่างไม่ถูกต้องเป็นการทำนาบนหลังครู”(เอกสาร 6.)
เมื่อเป็นเช่นนี้ รมว.ศธ.จึงได้แต่งตั้งให้ผู้ตรวจราชการนายอรรถพล ตรึกตรอง เป็นปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สกสค.คนใหม่ และให้ทำการตรวจสอบเรื่องทุจริตใน สกสค.โดยเฉพาะบรรดากองทุนต่างๆ และคิดเรื่องการต่ออายุกรมธรรม์ ด้วย เมื่อตรวจสอบแล้ว พบดังข้อสรุปที่ว่า “ไม่ใช่เหมือนในอดีต(หมายถึงก่อนลงนาม13พฤษภาคม2562)ที่ผ่านมา อยู่ ๆ จะนำเงินจากกองทุนมาใช้ทำอะไรก็ได้ โดยไม่มีแผนงานบริหารการใช้เงินเลย”(อ้างในไทยโพสต์.Thaipost.net13 พ.ค.2562) และนายอรรถพลฯ ยังกล่าวอีกว่า ประกันชีวิตที่จะหมดอายุในปีนี้มีถึง 447,599 รายจะต่ออายุแบบไหนดี สกสค.ต้องใช้การประกวดราคา (ระวังด้วยก่อนหน้านี้ พวกสององค์กรที่ร่วมกันทำประกันภัยจำนวนมากกว่าครั้งนี้ แต่ใช้วิธีตกลงราคาให้บริษัทประกันภัยบริษัทเดียวทำได้เลย โดยไม่ประกวดราคา ผิดกฎหมายหรือไม่? ทำไมจึงเปลี่ยนเป็นประกวดราคาในคราวใหม่ด้วย สอง ไม่มีค่าคอมมิชชั่นเด็ดขาด (ไม่ใช่ยอมรับเหมือนคราวก่อนว่ามี แต่ไปนำไปเป็นส่วนลด) และสามประกันวงเงินสินเชื่อแบบทุนประกันลดลงตามจำนวนหนี้(MRTA) (อ้างโดยทั่วไปเป็นที่ทราบดีแล้ว)
บทสรุป: ความลงท้าย
อยากให้ท่านผู้อ่านร่วมด้วยช่วยกันคิดว่า
- เรื่องมติ ครม.2551 ใครจะทำแบบเปลี่ยนไป จะต้องขอปรับมติ ครม.ใหม่ เช่นมติให้ทำประกันชีวิตแต่ตอนหลังเปลี่ยนไปทำประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ(วินาศภัย) ด้วยวงเงินและผลประโยชน์อันมหาศาล ราว 4 แสนล้านบาทได้หรือไม่? หรือองค์กรของรัฐซึ่งเป็นนิติบุคคลสามารถกระทำการเปลี่ยนได้ตามลำพังด้วยMOUเลย หรือไม่?
- ข้อขัดข้องครูกู้หนี้มีว่า ตอนที่ทำประกันชีวิต10ปีอยู่นั้น ก็ยังมีบริษัททิพยประกันภัยเรียกเก็บเบี้ยประกันซ้ำไปอีกรายละ 5,580 บาทอ้างว่าเพื่อเอาไปทำประกันวินาศภัยด้วย(ปรารถนาดีต่อครู) โดยมติชนใช้เวลา 7 เดือนในการตีแผ่ (จนยอมจ่ายเงินค่าสินไหม) สรุปว่า “คนเดียวกันมี2กรมธรรม์แล้วระบุเลขกรมธรรม์เดียวกัน” ด้วย เราไม่ทราบเลยว่าโครงการ 5 มี 2 กรมธรรม์ จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่เคยได้รับกรมธรรม์เหล่านั้นเลย(อ้างในเอกสาร 11.) คปภ.ช่วยกรุณาตอบเราได้ไหม?
- เหตุใดหนอ ธปท.องค์กรนี้ไม่เคยตรวจสอบตามที่มติชนสื่อสาธารณะได้บอกเราว่า “บังคับทำประกัน” เหมือนดังที่ท่านได้ลงโทษธนาคารไทยพาณิชย์และกรุงไทยไปแล้ว(อ้างแล้วในตอนต้น)
ด้วยจิตคารวะ.
สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
10กันยายน2562.
อรรถาธิบาย
- มติชน(กองบรรณาธิการ). เอกสารหมายเลข B-4-3-2553-15 “ตีแผ่ลลูกเล่นบริษัทประกันบริษัทประกันภัยยอมคืนเงินครูพันล้าน”.
- มติชน(กองบรรณาธิการ). เปิดโปงขบวนการประกันสินเชื่อแสนล้าน สะกัด สกสค.-ธ.ออมสิน-ทิพยฯร่วมมือรีดเงินค่าศพครูกว่าหมื่นล้าน”.
- มติชน. ประมวลคำถาม-ข้อสงสัยสมาชิก ช.พ.ค.ฝาก “จุรินทร์เงื่อนงำ”เงินกู้ ช.พ.ค.5”. 12ก.ค.2552.
- เว็ปไซด์. snook.com หัวข่าว “สกสค.ถอย31 ตุลาฯ ปิดฉากปล่อยเงินกู้ ช.พ.ค.”. 4 ก.ย.2552.
- เว็ปไซด์. mrgonline.com 7 ก.ย.2553. หัวข่าว “รองเลขา สกสค.แจ้ง “ชินภัทร “ยุติโครงการ ช.พ.ค.5 พร้อมโบ้ยถามออมสิน บ.ใด รับทำประกัน”
- ไทยโพสต์.19 มิ.ย.2560.
- แนวหน้า. 6 ส.ค.2562 (แวดวงการเงิน. อนันตเดช พงษ์พันธ์).
- โพสต์ทูเดย์. 3 มิ.ย.58. หัวข่าว “เปิดปูมประกันสินเชื่อ ช.พ.ค.”
- เว็ปไซด์. mattichonweekly.com. 4 พ.ย.2560. หัวข่าว “การศึกษามหากาพย์ สกสค-ออมสิน กว่าจะบรรลุเอ็มโอยู” .
- เว็ปไซด์. educationnews.in.th 26 ต.ค.2554. อ้างอิงใน มติชนออนไลน์. “ออมสิน-สกสค.รับประโยชน์ประกัน..”.
- เว็ปไซด์. moe.go.th 21ต.ค.2553. อ้างอิงในมติชนออนไลน์ “ครูข้องใจ “ทิพยฯ” เก็บเบี้ยประกันครู ช.พ.ค.ทั้งที่คุ้มครอง 10 ปีจาก”ธนชาต” .
- เว็ปไซด์. bangkokbiznews.com. 26 ก.ย.2562 “ออมสินชี้แจงเงินกู้ครูในโครงการ ช.พ.ค.-ช.พ.ส.”.