ผ่าทางตัน ! สารเคมีการเกษตร ๓ ชนิด  ประเทศนี้ยังไม่สิ้นคิดว่าจะใช้อะไรมาทดแทน

จากสถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตรในประเทศไทยยังคงมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นตามที่มีการเสนอข้อมูลต่อสื่อมวลชนจากภาควิชาการและเครือข่ายภาคประชาชนที่ติดตามผลักดันให้ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรที่เป็นอินทรีย์ไม่มีการใช้สารเคมี    ปัจจุบันสังคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสนใจ  ต่อสารกำจัดศัตรูพืช ๓ ชนิด ได้แก่ พาราควอต  ไกลโฟเซตและคลอร์ไพริฟอส  ซึ่งใช้กันในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก  ไร่อ้อย ส่งผลกระทบต่อตัวเกษตรกรผู้ใช้ทำให้เป็นโรคเนื้อเน่า และผู้บริโภคโดยตรวจพบสารเคมีตกค้างในร่างกาย รวมทั้งการตกค้างในดินแพร่กระจายไปตามสายน้ำที่ต้องใช้เวลาหลายสิบปีในการพลิกฟื้นผืนดิน ให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ  ทำให้คนไทยยังต้องเสี่ยงต่อโรคภัยตายผ่อนส่งเหมือนเดิม  หนำซ้ำนักวิชาการที่ออกมาเคลื่อนไหวก็ถูกกดดันจากกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ให้นักวิชาการที่ออกมาคัดค้านเคลื่อนไหวห้ามใช้สารเคมี  สะท้อนถึงกลุ่มผู้มีอิทธิพลจริงๆ ที่ควบคุมสั่งการได้ทั้งหน่วยงานและรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่รัฐได้รับผลประโยชน์จากกลุ่มทุนผู้เป็นเจ้าของกิจการ จึงไม่สามารถสั่งห้ามนำเข้า  จำหน่ายและการนำมาใช้  ผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้จึงเป็นเกษตรกรและผู้บริโภค

มองดูประเทศเพื่อนบ้านหรือปประเทศอื่นๆในโลกนี้ ขณะนี้มีเกือบร้อยประเทศที่ห้ามใช้สารเคมีทั้งสามชนิดแล้ว  เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายชาวต่างประเทศที่ป่วยเป็นมะเร็ง  เป็นโรคพาร์กินสันจากการใช้สารพิษเหล่านี้  ซึ่งศาลได้ตัดสินให้บริษัทสารเคมีชื่อดังจ่ายชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายละนับพันล้านบาทและยังมีคดีที่ฟ้องร้องค้างอยู่ในศาลหลายคดี

คณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งเอาแต่เตะถ่วงมาตลอด

สภาผู้ชมผู้ฟังรายการไทยพีบีเอสภาคอีสาน ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน  จึงเห็นควรจัดเวทีเสวนา  ผ่าทางตัน ! สารเคมีการเกษตร ๓ ชนิด ในการมาแลกเปลี่ยนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ  ประชาชน เกษตรกรและผู้บริโภค สร้างความเข้าใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น  วิธีการ  ผลกระทบและการหาสารอื่นมาทดแทน  หามาตรการทางออกร่วมกันร่วมกันลดความเหลื่อมล้ำ  สร้างสังคมคุณภาพร่วมกันต่อไป

 

วัตถุประสงค์การจัดงาน

  • เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาการใช้สารเคมีทางการเกษตร
  • เพื่อระดมความคิดเห็นและร่วมกำหนดมาตรการการควบคุมและยกเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร ๓ ชนิด และสารเคมีอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร

ผู้เข้าร่วม  จำนวน ๓๐ คน   จากองค์กร   

สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น   สมัชชาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น   สภาเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น   เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน   สภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดขอนแก่น  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน   ตลาดเขียวขอนแก่น  /ตลาดเขียวมหาสารคาม   คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช)

บทความ:ปฏิวัติ เฉลิมชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน

แสดงความคิดเห็น