เศรษฐกิจอีสานยังไม่กระเตื้อง ยาง-ข้าวเปลือกเหนียวพระเอก อานิสงส์ผลผลิตน้อยจากภัยแล้ง

ธปท.เผยแนวโน้มเศรษฐกิจระยะต่อไปจะโตขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการประกันรายได้เกษตรกร คาดความเชื่อมั่น มาจากความคืบหน้าโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และท่าเรือมาบตาพุดใน EEC ภาคอีสานได้อานิสงส์จากยางพาราและราคาข้าวเปลือกเหนียว และผลจากภัยแล้ง ทำให้รายได้เกษตรกรขยายตัว  

ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายประสาท สมจิตรนึก ผอ.อาวุโส ธปท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถลงภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่3 ปี 2562 ว่า ขยายตัวชะลอลงจาก ไตรมาสก่อน โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ตามการใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจำวันที่ได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อนอกภาคเกษตรกรรมที่ลดลง ขณะที่การใช้จ่ายสินค้ายังคงขยายตัวเล็กน้อย ด้านผลผลิตการเกษตรกลับมาขยายตัว จากผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้นตามพื้นที่กรีด อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนและการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว ตามการส่งออกลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัย และการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากรายจ่ายประจำเป็นสำคัญ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ร้อยละ 0.7 ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ขณะที่หมวดอาหารสดปรับเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวสารเหนียวเป็นสำคัญ ขณะที่ผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรมลดลงในทุกสาขา แต่อัตราการว่างงานทรงตัวจากผู้อยู่นอกกำลังแรงงานที่ เพิ่มขึ้น สำหรับภาคการเงิน เดือนสิงหาคม 2562 เงินฝากและสินเชื่อขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน

รายได้เกษตรกร ขยายตัวทั้งด้านผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร ร้อยละ 9.4 โดยผลผลิตสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวจากยางพาราที่มีการขยายพื้นที่กรีด และจากราคาข้าวเปลือกเหนียวเป็นสำคัญ ตามปริมาณผลผลิตที่ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

การใช้จ่ายภาครัฐ หดตัวต่อเนื่อง จากรายจ่ายประจำสำคัญร้อยละ20.9 ขณะที่รายจ่ายลงทุนชะลอตัว กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.1  ตามรายจ่ายประจำในหมวดเงินการอุดหนุนทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เบิกจ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่รายจ่ายลงทุนหดตัวน้อยลง จากการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นของกรมทางหลวงชนบทในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

 การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.5 การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หดตัวต่อเนื่องตามการปรับลดสินค้าคงคลังของคู่ค้าจากต่างประเทศ การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หดตัว ตามการปิดปรับปรุงสายการผลิตของผู้ผลิตบางราย และการบริโภคที่ลดลง จากผลกระทบของอุทกภัย การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หดตัว ตามการปิดปรับปรุงสายการผลิตของผู้ผลิตบางราย และการบริโภคที่ลดลง จากผลกระทบของอุทกภัย

 การลงทุนภาคเอกชนหดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนทั้งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนก่อสร้างร้อยละ 4.1 การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวโดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลง การลงทุนก่อสร้างหดตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในหลายจังหวัด

มูลค่าการค้าผ่านด้าน มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรทรงตัว โดยการนำเข้าอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือจากจีนตอนใต้และเวียดนามหดตัว ขณะที่การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง ร้อยละ0.1การส่งออกขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 9.0 การนำเข้าหดตัว ร้อยละ 12.6

ภาคการเงิน เงินฝาก ขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูก ข้าวนาปี ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเท่ากับเดือนก่อน ร้อยละ 5.6 สินเชื่อ ขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยธนาคารพาณิชย์ขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อย จากสินเชื่อ ภาคครัวเรือน ขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจหดตัวน้อยลง ด้านสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเท่ากับเดือนก่อน ร้อยละ 6.3

 นายประสาท ยังได้กล่าวถึง แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไป ว่าเศรษฐกิจในประเทศโตขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและมาตรการประกันรายได้เกษตรกร จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อไป

       ปัจจัยเสี่ยง เศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากกว่าคาด จากความขัดแย้งทางการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น และเริ่มส่งผลไปสู่อุปสงค์ในประเทศ ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ อาจกระทบผลผลิตสินค้าเกษตร และกำลังซื้อของเกษตรกรในระยะต่อไป ความคืบหน้าโครงการร่วมลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐและเอกชน อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และท่าเรือมาบตาพุดใน EEC ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ทั้งไทยและต่างชาติ กำลังซื้อนอกภาคเกษตรที่ลดลง ตามการจ้างงานและรายได้ที่ลดลง จะเป็นแรงกดดันการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อไป

แสดงความคิดเห็น