“ไบโอฮับ” ส่อสะดุด มิตรผล-น้ำตาลขอนแก่น ผับแผนลงทุน

เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า ผ่านมา 1 ปีเศษ หลังจากรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เดินหน้านโยบายโครงการเขตเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ bioeconomy ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อ 17 ก.ค. 61 ตามมติ ครม. วางแผนการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และในพื้นที่ส่วนต่อขยายในบริเวณจังหวัดภาคหนือตอนล่างกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ครอบคลุม 3 จังหวัด จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร ขอนแก่น รวมมูลค่าโครงการ 5 ปี 133,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับมาตรการ bioeconomy ถือเป็นแนวคิดที่เชื่อมภาคเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรม หากประสบความสำเร็จจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทางการเกษตรอย่าง อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อย่างมาก และการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพถึง 200,000 ล้านบาท ซึ่งการปรับผังก็ไม่สามารถทำได้ เพราะถูกคัดค้านจากชุมชนเกษตรกร

แต่ผ่านไปกว่า 1 ปี กลับดูท่าทีว่า มาตรการ bioeconomy ที่เคยคาดหวังให้รายใหญ่ ๆ ลงทุนตามแผน 1.33 แสนล้านที่วางไว้ โดยขณะนี้มีเพียงกลุ่ม ปตท. โดยบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ที่จับมือกับทางกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผุดโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ภายใต้เงินลงทุน 7,500 ล้านบาท

ขณะที่ “บริษัท มิตรผล จำกัด” คือ อีกหนึ่งรายที่มีแผนสร้างนิคมอุตสาหกรรมชีวภาพ ที่ จ.ขอนแก่น ด้วยมูลค่าการลงทุนเกือบ 30,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้ยังต้องชะลอแผนนี้ออกไป เนื่องจากยังต้องใช้เวลาสร้างความเข้าใจกับชุมชนก่อนว่า อุตสาหกรรมนี้ไม่ใช่อุตสาหกรรมหนักที่จะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม

เช่นเดียวกับ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL ก็ต้องสั่งทบทวนแผนไบโอฯแล้วเช่นกัน “นายชลัช ชินธรรมมิตร์” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ KSL กล่าวด้วยเหตุผลที่ว่า รัฐบาลเน้นให้การยกเว้นและลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ลงทุน จนลืมมองว่าขณะนี้ตลาดมีความต้องการ หรือมีดีมานด์มากน้อยเพียงใด

อ่านต่อ https://www.prachachat.net/economy/news-394075

 

แสดงความคิดเห็น