สทนช.ชี้เขื่อนใหญ่ – กลาง 105 แห่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย อีสานเขื่อนอุบลรัตน์ หนักสุดใช้น้ำก้นอ่างไปแล้ว 96 ล้านลูกบาศก์เมตร สำนักงานชลประทานที่ 6 เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ผันน้ำจากเขื่อนลำปาวเข้าเขื่อนวังยาง ผลิตประปาหน้าแล้ง ลดระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์
“เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ” รายงานว่า นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมทั้งประเทศขณะนี้ว่า ปัจจุบันแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 49,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61% เป็นปริมาณน้ำใช้การ 25,714 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 20,738 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 โดยล่าสุดมีเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30% รวมทั้งสิ้น 105 แห่ง แบ่งเป็นขนาดใหญ่ 14 แห่งที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30% ได้แก่ เขื่อนแม่กวง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนหนองปลาไหล
อ่านต่อ>>http://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/418037?utm_source=slide_topnews&utm_medium=internal_referral
“เว็บไซต์ ผู้จัดการออนไลน์” รายงารว่า ด้านนายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 6 ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ 3 แห่ง ประกอบด้วยเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีเพียงเขื่อนลำปาวเท่านั้นที่ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ขณะที่เขื่อนอุบลรัตน์ ปริมาณน้ำต่ำมาก ขณะนี้ได้ใช้น้ำก้นอ่างไปแล้ว 96 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 5 ของน้ำใช้การ ส่วนการระบายน้ำยังคงระบายออกวันละ 0.55 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจัดเป็นปริมาณน้ำที่น้อยมาก
อ่านต่อ>>https://mgronline.com/local/detail/9630000001272