หลังจากที่ผู้เขียนนำเสนอเรื่องจุดติดแล้ว “ไฟลุกท่วมสหกรณ์ครูทั่วประเทศ” ไปแล้ว 3 ตอน มีปฏิกิริยาจากกลุ่มครูไหนไม่รู้ได้โทรฯมาข่มขู่อีสานบิซหลายครั้งหลายวัน เราถามกลับด้วยความสุภาพแต่เขาไม่ยอมบอกชื่อบอกแซ่ และถามอีกว่าข่าวของสหกรณ์ครูมหาสารคาม (ได้รับรางวัลสหกรณ์สีขาว)
เราเขียนคลาดเคลื่อนโปรดชี้แจงมาเราจะพิจารณาลงให้ ก็ไม่ยอมพูดและไม่ตอบ แต่บอกเราในเสียงดังฟังชัดเปิดดูที่บันทึกไว้ก็ชัดเจนว่าวันจันทร์ (6 มกราคมฯ) ที่ผ่านมาจะไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวน
เราใคร่ครวญแล้วโปรดทำหน้าที่โดยสุจริตของท่าน ถ้าเห็นว่าเราเขียนข้อความอันเป็นเท็จก็ฟ้องศาลหรือไปแจ้งความเลย หรือถ้าเป็นข่าวแล้วสหกรณ์หรือท่านเกิดความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่ข่าวนั้นก็มีข้อยกเว้น (ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328,329 และมาตรา 330) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม หรือติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำและถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่กล่าวหาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริงผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
เรื่องสหกรณ์ออมทรัพย์ครูมหาสารคามจำกัดนั้น เรามีประมาณ 15 เรื่องแต่เลือกเขียนเท่าที่มีหลักฐานจริงเท่านั้น เป็นต้นว่าเรื่องที่ประธาน(นายปราการฯ)รองประธานกรรมการ(นายชวาลฯจากอำเภอเมืองฯ) และผู้จัดการคนก่อนแอบไปลงนามโดยผู้ใหญ่บ้านร่วมลงนามเป็นพยานด้วยกับผู้ร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนประกันชีวิตเพราะว่าเขาได้เสียค่าเบี้ยประกันไป 4,200 บาท (มีใบสำคัญรับเงิน) แต่สหกรณ์ปฏิเสธการจ่ายในหนังสือนั้นกระทำเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561 อ้างในตอนต้นว่า นาย ศ.(ชื่อย่อ) ได้เสียชีวิตแล้ว มีข้อพิพาทในประเด็นทำประกันชีวิต ซึ่งเกิดจากความคลาดเคลื่อนในการบอกเลิกกรมธรรม์(สหกรณ์บอกเลิกไม่ได้ ต้องบริษัทประกันเป็นผู้บอกเลิก) และการคืนเบี้ยประกันให้แก่สมาชิกในกลุ่มที่ยกเลิกกรมธรรม์ 61 ราย
ประธานฯจึงสั่งจ่ายเงินสด 4.3 แสนบาท(แปลกจริงๆ ทำไมไม่โอน ไม่ทราบว่าเป็นเงินสดของสหกรณ์หรือเงินของใคร?) และในสัญญายอมความกันในข้อ 2. กล่าวว่า “ไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความใดๆกับ สอ.มค.อีกต่อไป และในส่วนของการร้องทุกข์กล่าวโทษและยื่นข้อร้องเรียนต่างๆ ข้าพเจ้า(ทายาทของนาย ศ.) จะเป็นผู้ดำเนินการถอนคำร้องทุกข์และคำร้องเรียนเหล่านั้นต่อไป”
ประเด็นนี้จะเป็นเรื่องใหญ่มากอีกเรื่องหนึ่งเพราะได้มีคนกู้และทำประกันกว่า 3พันคนและมีบางคนเท่านั้นที่บริษัทรับรอง.
คราวนี้ถึงลำดับที่จุดไฟติดแล้วในช่วงปี 2553-2556 เรื่องแชร์ลอตเตอรี่ใน 14 จังหวัด(เฉพาะในขอนแก่นผู้มีอำนาจในดีเอสไอสั่งการให้ยุติสอบเรื่องเอาแชร์ลอตเตอรี่ขอนแก่นไว้ก่อน และเงินก็ได้หายไปอย่างน้อย 431 ล้านบาท***ในช่วงนั้นปี 2553-2554 พอดี) โดยเริ่มต้น “แชร์ลูกโซ่แชร์ลอตเตอรี่” ในจังหวัดเลยก่อนจังหวัดใดและได้ลุกลามไปทั่วประเทศ
ในรายงานการสอบสวนเบื้องต้นของดีเอสไอระบุว่า มีการกระทำผิดตั้งแต่ปี 2552 โดยมีกลุ่มบุคคลได้ตั้งบริษัทในนามนิติบุคคลให้เป็นคู่สัญญากับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่ต่อมาได้เริ่มทำการออกแบบให้มีการทุจริตแอบขายโควตาให้กับสหกรณ์ต่างๆ ในจังหวัดเลยตามคำพิพากษาศาลอาญารัชดาฯ เริ่มต้นจาก ลำดับ 1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเลย จำกัด 2. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญศึกษาจังหวัดเลย 3. สหกรณ์การเกษตรวังสะพุง จำกัด จังหวัดเลย 4. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ จำกัด 5. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูปทุมธานี 6. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูราชบุรี จำกัด 7. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูยโสธร 8. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูร้อยเอ็ด จำกัด 9. สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสงขลา จำกัด 10.สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนนทบุรี จำกัด 11. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสกลนคร จำกัด 12. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย จำกัด และ 13. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาฬสินธุ์ จำกัด
ไฟเงินบาปลุกโชนลามทุ่งไปทั่วอย่างรวดเร็วมาก ทั้งชีวิตของคณะกรรมการดำเนินการและผู้จัดการรวมทั้งบริษัทนิติบุคคลได้ร่วมการก่อกรรมทำเข็ญสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงแก่สมาชิกสหกรณ์ที่ต้องการเงินบาปกว่า 2 แสนราย มูลค่าความเสียหายสูงมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท จนคณะรัฐประหารคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้ส่งผู้แทนมาประชุมร่วมกับสหกรณ์ 13 แห่งแล้วรับเรื่องไปตรวจสอบ จนกระทั่งมีการฟ้องศาลและลงโทษจำคุก 79 กรรมการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ 13 แห่ง แต่ผู้ถูกจำคุกทั้งหมดได้พากันยื่นประกันตัวศาลได้ปล่อยตัวชั่วคราว และส่งคำแก้ไขคำพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ อันเป็นศาลลำดับสองต่อไป
ในคำฟ้องศาลอาญารัชดาฯชั้นต้น ฟ้องในความผิดต่อพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ความผิดพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฉ้อโกงประชาชน คดีหมายเลขแดงที่ อ.863/2561 วันที่ 28 มีนาคม 2561 (หนา 294หน้ากระดาษ)
รายงานระบุว่าในปี 2552 ตัวละครเด่นๆ มาก ประกอบด้วยนางสาวกัลยาณี แก้วโวหาร ฉายา “เจ้าแม่แชร์รายใหญ่ของจังหวัดเลย” ยี่ปั๊วรายใหญ่ของจังหวัดเลย ร่วมกับนายศรีสุข รุ่งวิสัย สมาชิกวุฒิสภาประเภทสรรหาปี 2554 (หลายแหล่งข่าวบอกว่าตายไปแล้ว) เป็นผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหน้าเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ใช่คู่สัญญากับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่กลับอ้างว่าได้รับโควตาสลากถึง 20,000 เล่ม และผู้จัดการสหกรณ์ครูกรมสามัญศึกษาจังหวัดเลย นางสุฎาภรณ์ นครธรรม
รายงานจากดีเอสไอยังระบุว่า อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษยังแต่งตั้งพ.อ.ปิยะวัฒน์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีดังกล่าว และทางหัวหน้าพนักงานสอบสวนฯ ยังได้ข้อมูลจำนวนมากจากนายสานิตย์ พลศรี ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ จำกัด สมัยนั้น มาในสมัยนายประทีป พลมณี ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิสมัยปี 2556 หลังจากสมาชิกสหกรณ์ครูกว่า 9 พันคนได้มอบอำนาจให้ประธานสหกรณ์ฯ เร่งร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวนประจำท้องที่ สภ.เมืองชัยภูมิ และหน่วยงานดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
โครงการดังกล่าวทำให้สหกรณ์เสียหายกว่า 1 พันล้านบาทมาตั้งแต่ปลายปี 2553 ซึ่งเข้าข่าย “แชร์ลูกโซ่” ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ทางสหกรณ์จ่ายเงินงวดไป งวดแรกเป็นเงินกว่า 393 ล้านบาท(สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมาจำกัดนำเงินไปฝากลงทุน 100 ล้านบาทได้ดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 บาทต่อปีตามหนังสือเชิญชวนของสหกรณ์ครูชัยภูมิ
ตามหนังสือร้องเรียนของนายสัมนา ฉัตรบูรณจรัส กรรมการทั้ง 12 คนขาดประชุมไปสองคนอนุมัติให้นำเงินไปฝากลงทุนกับสหกรณ์ครูชัยภูมิจำนวน 100 ล้านบาท (ประชุมคณะกรรมการฯครั้งที่ 50/2554) อาจผิดกฎหมาย ข้อบังคับ ประกาศและระเบียบหรือไม่? เพราะกฎหมายฯบอกว่า สามารถฝากเงินยังสหกรณ์อื่นได้ ถ้ามีเงินของสหกรณ์เหลือ แต่กรณีนี้ไปกู้เงินมาจากธนาคารฯ) และสหกรณ์ครูชัยภูมิยังส่งค่างวดเพื่อซื้อสลากกินแบ่งไปอีก 12 งวด งวดละ 72 ล้านบาท ซึ่งกรรมการสหกรณ์สามารถติดตามยึดเงินคืนมาได้เพียงบางส่วนจากธนาคารฯ เพียง 172.8 ล้านบาท ยังคงเหลือจะต้องติดตามอีกกว่า 1 พันล้านบาท
ประเด็นเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินมัดจำ 393 ล้านบาท ไม่มีหลักทรัพย์ใดๆ มาค้ำประกัน มีเพียงเช็คเปล่าและมีการทำนิติกรรมอำพราง ซึ่งไม่มีการจัดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมาจำหน่ายได้ตามที่กล่าวอ้าง ตามที่มีหนังสือยืนยันเป็นหลักฐานไม่มีคู่สัญญาสัมปทานโควตาระหว่าง บจก.เทวาสิทธิพิฆเนศจำกัด (นิติบุคคล)กับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแต่ประการใด
ความมืดบอดทางปัญญาแสวงหาแต่ผลประโยชน์ตามกิเลสของคนในยุคทุนนิยมสามานย์ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง นายสานิตย์ พลศรี ประธานสหกรณ์ครูชัยภูมิได้มีหนังสือให้นายศรีสุข รุ่งวิสัย ประธานกรรมการบริหารบริษัทเทวาสิทธิพิฆเนศจำกัดส่งมอบหลักประกันสัญญา(ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554) และทำหนังสือบอกเลิกสัญญาตามมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญโดยสมาชิกเมื่อ 26มีนาคม2554(29 มีนาคม 2554) ขอเงินคืนจาก บจก.เทวาสิทธิพิฆเนศ (11 สิงหาคม 2554) บจก.เทวาสิทธิพิฆเนศ จำกัด เปลี่ยนนโยบายใหม่และกรรมการใหม่ (26 สิงหาคม 2554)
บจก.ฯระบุว่าผู้บริหารชุดเดิมพร้อมรับผิดชอบโดยยินดีรับสภาพหนี้ที่มีต่อสหกรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 83 วัน(9 กันยายน 2554) สหกรณ์ฯจัดประชุมใหญ่วิสามัญโดยสมาชิกมีมติถอดถอนกรรมการชุด53 ที่ถูกฟ้องคดีทั้ง 9 คน(18 กันยายน 2554) ผู้จัดการสหกรณ์ครูชัยภูมิระบุว่า สหกรณ์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัท บจก.ฯ แต่อย่างใด(18 ตุลาคม 2554)
สหกรณ์ครูชัยภูมิโดยนายประทีป พลมณี ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับ บจก.ฯ นายสมสันต์ ปาณาเขียวกับพวก ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ฯลฯ ซึ่งสถานีตำรวจภูธรเมืองชัยภูมิได้รับคำร้องทุกข์ไว้แล้ว (18 ตุลาคม 2554) นายสานิตย์ พลศรี จะดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในข้อหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 (อายุความในคดีนี้อัตราโทษจำคุกขั้นสูงคือ 10 ปี ดังนั้นการฟ้องคดีอาญาอายุความคือ 20 ปีและ 15 ปีตามลำดับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2550) แก่สหกรณ์จังหวัดชัยภูมินายสุพจน์ วัฒนวิเชียร (เริ่ม 19 มกราคม 2555) และพร้อมกันนี้ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ( 23 พฤษภาคม 2555).
เราจะเห็นได้ว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิจำกัด ไม่หวังพึ่ง “ผู้แทนสมาชิก” ให้ทำการใหญ่เพื่อความชอบธรรมจะเลือกใช้ผู้แทนสมาชิกไม่ได้เลย แต่พวกเขาอาศัยการประชุมใหญ่วิสามัญโดยมวลสมาชิกทั้งสิ้นทั้งการบอกเลิกสัญญาแชร์ลอตเตอรี่ และการถอดถอนกรรมการชุดที่53 ออกจากความเป็นกรรมการซึ่งกระทำความผิด ซึ่งประสพผลสำเร็จตามประสงค์ทุกประการ
เรื่อง “แชร์ลูกโซ่” จากแชร์ลอตเตอรี่สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นไม้ขีดก้านแรกที่จุดไฟและโหมโรงลุกท่วมประเทศ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการคดีพิเศษ 1 ส่งฟ้องศาลคดีหมายเลขดำที่ อ.538/2557 เรื่องเหล่านี้ ถ้ามิได้ครูผู้กล้าเฉกเช่นครูชัยภูมิ(ยกเว้นผู้แทนสมาชิก) และกรรมการชุดที่ 54-55 และชุดต่อๆมา แล้ว
เราผู้เขียนคิดว่าจุดแล้วไฟก็ไม่ติด จนทำให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอกับกรรมการสหกรณ์หลายคนต่างได้รับเงินขวัญกำลังใจตอบแทน แต่พอโอนเงินเข้าบัญชีมาแล้วก็บันทึกให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอเก็บหลักฐานไว้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานสำคัญประเภทประจักษ์พยานในศาลอาญา
ด้วยเหตุที่กล่าวมา คดีนี้เราจึงเริ่มอธิบายจากหลักฐานและการกระทำโดยมวลสมาชิกของสหกรณ์ครูชัยภูมิลำดับ 4. ก่อน
สหกรณ์ครูจังหวัดอื่นใดทั้งสิ้น.
(ติดตามตอนที่ 5 ฟ้องศาลสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ)