ทุกครั้งที่มีการประกาศตัวเลข GDP จะมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพราะตัวเลข GDP ยังไม่สะท้อนความจริง อย่างเช่นบอกเศรษฐกิจดีแต่คนกลุ่มล่างกลับยากจนลงและถามกลับว่าที่ว่าดีคือใคร ?
Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซียได้คิดเรื่องการเสนอภาวะเศรษฐกิจวิกฤตผ่าน 4 ประตูทางการค้าการลงทุน
ประตูแรก มองการบริโภคของประชาชน หรือ Consumption ว่าในช่วงเวลานั้นซื้อง่ายขายคล่องดีไหม
ประตูที่สอง มองผ่านการลงทุนของภาคเอกชน Investment ในช่วงเวลานั้นมีการลงทุนมากหรือน้อยแค่ไหน ?
ประตูที่สาม มองการใช้จ่ายของรัฐบาล Gorerment Spending ก็คงหมายถึงงบประมาณประจำปีของรัฐบาลที่จะใช้ผ่านกระทรวงต่าง ๆ ในรอบ 1 ปี
ประตูที่สี่ จะเอาตัวเลขการส่งสินค้าออกไปขาย Export มาลบกับสินค้าที่เราสั่งเข้ามา หรือ Import ถ้านำเข้ามามากกว่าส่งออกก็หมายถึงขาดดุล
C + I + G + ( X – M )
แค่นี้ทำไมเราต้องเชื่อ วันนี้บริบทของโลกเปลี่ยนไปแล้วตัวเลขสะท้อนได้แค่ กำไร – ขาดทุน แต่ตัวเลขของ GDP ไม่สามารถสะท้อนความสุขหรือความทุกข์ของมนุษย์ได้
เมื่อเงินไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของโลก GDP ก็น่าจะใช้ไม่ได้อีกต่อไปแนวคิดของ Simon Kuznets ก็น่าจะเป็นเรื่องล้าสมัย
GDP กับ ชีวิตความเป็นจริง
– GDP โตขึ้น แต่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น GDP จะอธิปรายอย่างไร ? ให้คนเข้าใจ
– GDP บอกว่ามีการลงทุนมาก แต่ GDP ไม่ได้บอกว่าทรัพยากรธรรมชาติถูกรุกรานและกำลังหมดไป ตัวอย่างนายทุนจะยึดครองที่ดินทั้ง ๆ ที่ไม่มีคุณสมบัติ
– GDP บอกว่ารัฐบาลมีเมกะโปรเจคเยอะแยะ แต่ GDP ไม่บอกวว่าเรามีหนี้สาธารณะเพิ่มเท่าไร และถ้าหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นจะแก้ไขอย่างไร ? และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
– GDP บอกว่าเราส่งเสริมค้าออกไปขายทั่วโลก แต่ GDP ไม่สามารถบอกปัญหาการส่งออก เช่น เราถูกยกเลิก GDP ทุกวันและในอนาคตเราจะสู้ใครได้บ้าง
GDP แน่จริงต้องบอกได้ว่าทำไมคนไทยไม่มีความสุข
วันนี้อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยตัวเลขนักโทษที่อยู่ในเรือนจำกว่า 370,000 คน มากกว่ามาตรฐาน 3 เท่าตัว ตัวเลข GDP จะโตขนาดไหนแต่ตัวเลขนักโทษในเรือนจำมันเติบโตขนาดนี้เราจะพอใจกับผลการเติบโตแค่ตัวเลข GDP หรือไม่ ?
เราต้องหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพกว่า GDP เพราะ GDP เป็นอดีตไปแล้ว เพราะ GDP วัดได้แค่ตัวเลขทางเศรษฐกิจ แต่ GDP ไม่สามารถวัด วิถีชีวิตคน และความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
หากทุกหน่วยงานยังยึด GDP เป็นแม่บทในการทำงานเราอาจจะหลงทางได้ เพราะ GDP เริ่มทำให้เกิดความขัดแย้งเมื่อประกาศตัวเลขออกมาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นข้อเท็จจริงที่ทุกฝ่ายไม่อาจปฏิเสธได้เพราะคนรวย คนมีฐานะก็รวยขึ้นแต่คนจนกลับจนลงทั้ง ๆ ที่รัฐบาลได้พยายามจะนำโครงการต่าง ๆ มาให้ไม่ว่า ชิม-ช้อป-ใช้ หรือ บ้านดีมีดาวน์
ถึงเวลาหรือยังที่เราต้องทบทวนเพราะ GDP เจอ Disruption แล้ว
บทความโดย:ทวิสันต์ โลณานุรักษ์ อดีตประธานหอการค้า จ.นครราชสีมา