ธปท.เผยเศรษฐกิจอีสานไตรมาส4/2562 โตต่ำ ส่งออก-ลงทุนเอกชน หดตัวต่อเนื่อง ลุ้นแนวโน้มเศรษฐกิจ’63โต จากปัจจัยหนุนรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ- การกีดกันทางการค้า ห่วงไวรัสโคโรน่า-ภัยแล้ง กระทบท่องเที่ยว-เศรษฐกิจ
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายประสาท สมจิตรนึก ผอ.อาวุโส ธปท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถลงภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่4 ปี 2562 ว่า เศรษฐกิจหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยการ อุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัว ทั้งการใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจำวันและสินค้าคงทน จากกำลังซื้อที่ยังไม่เข้มแข็ง และ สถาบันการเงินระมัดระวังการให้สินเชื่อ ด้านผลผลิตเกษตรหดตัวจากผลของภัยแล้ง การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจาก รายจ่ายลงทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจาก พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 ที่ยังไม่ประกาศใช้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมและ การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง ตามการผลิตเพื่อการส่งออกที่ยังหดตัว การลงทุนซ่อมสร้างหลังอุทกภัยที่ช้ากว่า และภาวะอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยราคาอาหารสดชะลอลง ตามราคาผักและผลไม้ที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก เนื่องจากความคืบหน้าการเจรจาข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ-จีน ด้านอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ตามการจ้างงานทั้งในภาค เกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรมที่ลดลง สำหรับภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อคงค้างชะลอตัวจากไตรมาสก่อนว่างงานทรงตัวจากผู้อยู่นอกกำลังแรงงานที่ เพิ่มขึ้น สำหรับภาคการเงิน เดือนสิงหาคม 2562 เงินฝากและสินเชื่อขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน
รายได้เกษตรกร หดตัว ตามผลผลิตที่ลดลง ร้อยละ -2.0 ตามผลผลิตข้าวนาปีและอ้อยโรงงาน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง ขณะที่ราคาขยายตัวชะลอลง ร้อยละ 1.8 จากราคาข้าวหอมมะลิ และมันสำปะหลังที่หดตัว ตามความต้องการจากตลาดคู่ค้าต่างประเทศที่ลดลด
การใช้จ่ายภาครัฐยังคงหดตัว จากรายจ่ายลงทุนเป็นสำคัญ ร้อยละ 28.9 ในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างของกรมชลประทาน กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ที่ยังไม่ประกาศใช้ ขณะที่รายจ่ายประจำกลับมาขยายตัวร้อยละ10.6 ในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และงบกลาง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวต่อเนื่อง ร้อยละ -7.9 จากการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การผลิตเยื่อกระดาษ และการผลิตน้ำตาลทรายการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หดตัว ตามการย้ายฐานการผลิตเพื่อบริหารจัดการต้นทุนของผู้ประกอบการ ที่เริ่มในไตรมาสนี้ การผลิตน้ำตาลทรายหดตัว ตามปริมาณอ้อยที่ลดลงจากภาวะภัยแล้ง ทำให้โรงงานเปิดหีบอ้อยล่าช้ากว่าปีก่อน
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนเครื่องจักรอุปกรณ์ และการลงทุนก่อสร้างร้อยละ -6.9 การลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์หดตัวโดยเฉพาะกลุ่มอุปกรณ์โทรคมนาคมตามการผลิตเพื่อการส่งออกที่ยังหดตัวการลงทุนก่อสร้างหดตัวตามการลงทุนซ่อมสร้างหลังอุทกภัยที่ช้ากว่าคาดรวมถึงภาวะอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว
มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรหดตัว ทั้งการส่งออกและนำเข้า สปป. ลาว จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตามความต้องการที่ลดลง สอดคล้องกับ การส่งรถยนต์ไป สปป. ลาว ที่หดตัว ร้อยละ -3.6 และการนำเข้า สปป. ลาว จากหมวดทองแดง ตามความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลง เวียดนาม จากหมวดโทรศัพท์มือถือ/อุปกรณ์ ที่ได้รับผลกระทบจากการ แข่งขันเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ร้อยละ -11.7
ภาคการเงิน เงินฝาก และสินเชื่อชะลอตัวจากไตรมาสก่อน ทั้งฝากทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และเงินช่วยเหลือ เกษตรกรบางส่วนที่ทยอยลดลดร้อยละ 5.1 สินเชื่อคงค้างของสถาบันการเงินชะลอตัว ตามสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดยเฉพาะสินเชื่อ ภาคครัวเรือน ประเภทเพื่อที่อยู่อาศัยและเช่าซื้อรถยนต์ สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวใกล้เคียง กับไตรมาสก่อนร้อยละ 2.7
นายประสาท ยังได้กล่าวถึง แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไป ว่ามีโอกาสขยายตัวใกล้เคียงปีก่อนเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนของรัฐบาลอาจออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป ปัจจัย เสี่ยง ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ อาจกระทบผลผลิตสินค้าเกษตร และกำลังซื้อของเกษตรกรในระยะต่อไป ความไม่แน่นอนของการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายปี 2563 ความเสี่ยงในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง การกีดกันทางการค้ามีแนวโน้มผ่อนคลายลง หลังสหรัฐฯ และจีนสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างกันในระยะที่ 1
ปัจจัยเสี่ยง ความไม่แน่นอนของการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายปี 2563ความเสี่ยงของโรคระบาด (ไวรัสโคโรน่า) ที่จะกระทบต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยโดยรวม ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ อาจกระทบผลผลิตสินค้าเกษตร และกำลังซื้อของเกษตรกรในระยะต่อไปแนวโน้มการจ้างงานและรายได้ที่ชะลอตัว จะเป็นแรงกดดันการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อไปและ ความเสี่ยงในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง