สังเวย 30 ศพบทเรียนราคาแพง

 14กุมภาวันวาเลนไทน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สถาบันที่มีคำขวัญว่า “เป็นที่พึ่งของชุมชน”ได้จัดเวที วิเคราะห์บทเรียนเหตุการณ์ “กราดยิงที่โคราช” มีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

การถอดบทเรียนในครั้งนี้ แบ่งเป็น3ระยะ

ก่อนเกิดเหตุการณ์

นิวยอร์กไทมส์ สื่อเก่าแก่ของโลกได้เสนอข่าวการกราดยิง ด้วยข้อความที่มือปืนได้พูดไว้ว่า

Do they think they can Take Money to spend  in Hell?”

คำพูดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความคับแค้นใจขั้นสูงสุดนำมาซึ่งการตัดสินใจก่อเหตุร้ายแรงอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน การมุ่งจะเอาคืนโดยแสดงผ่านสังคมที่คนถูกทำร้ายไม่ใช่คู่กรณีแต่ต้องมารับเคราะห์ไปด้วย เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องหันมาให้ความสนใจ โดยเฉพาะการทุจริต การเอารัดเอาเปรียบในองค์กร การใช้อำนาจผิดๆกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชา ทุกฝ่ายต้องถอดบทเรียน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก

ปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจก่อเหตุที่น่าสยดสยอง

 8 กุมภาพันธ์  2563

จ่าผู้ก่อเหตุร้ายได้กระทำการอย่างอุกอาจ เขาตระเวรฆ่าคนถึง4จุด ระยะทางกว่า 10กิโลเมตร ที่เขาเดินทางผ่านมาได้โดยไม่มีใครสกัดเขาได้

จุดแรกในเวลาประมาณ14.00 น. เขาได้ยิงพ.อ.ที่เป็นผู้บังคับบัญชาและแม่ยาย เสียชีวิต 2 ศพ ส่วนนายหน้าอาการสาหัส

จุดที่สองเขาบุกไปปล้นปืนจากค่ายทหาร และยิงพลทหารที่เข้าเวร เสียชีวิตไปอีก1ศพ เขาได้อาวุธ และรถยนต์ทหารเดินทางต่อไปได้

จุดที่สามเขาบุกไปที่วัดที่คิดว่า ภรรยา พ.อ. ไปทำบุญจุดนี้มีผู้เสียชีวิตถึง9ศพ มีตำรวจเข้าไปสกัดแต่ก็ถูกยิงเสียชีวิตไปด้วย

จุดที่สี่ เขาเข้าไปกลางเมืองจุดหมายคือห้างเทอร์มินอล 21 เพราะเขาคิดว่าภรรยา พ.อ.ที่เขาตามทวงเงินไปที่นี่ การเข้าไปในห้างเขาได้ยิงคนเสียชีวิตไปหลายศพบริเวณหน้าห้างและเข้าไปในห้างใช้เวลาทั้งสิ้น17ชั่วโมง จึงสามารถวิสามัญเขาได้สำเร็จ

คงต้องถอดบทเรียนในเรื่องแผนสกัดผู้กระทำผิด และการประเมินสถานการณ์ที่มีตัวประกันเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญรัฐบาลต้องมีศูนย์บัญชาการข่าวสารอย่างที่เด็กติดในถ้ำเพื่อให้ข่าวสารเป็นไปตามความเหมาะสม

ในเหตุการณ์ครั้งนี้เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ว่า โดรน เฟซบุ๊ก กล้องวงจรปิด โทรศัพท์มือถือ มีบทบาทที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีกาบริหารจัดการที่ดี และมีประสิทธิภาพกว่านี้

หลังเหตุการณ์

ผบ.ทบ. ประกาศล้างบาง ธุรกิจสีเทาในค่ายทหาร ท่านสั่งย้ายนายทหารของกองทัพภาคที่ 2 หลายคน และยังมีบัญชีแก้ไขปัญหา ที่นำมาซึ่งคำว่า ไม่โปร่งใส และการดูแลกำลังพล ที่ไม่ยุติธรรม นอกนนั้นยังปูนบำเหน็จให้ผู้เสียชีวิตในการปฎิบัติงานอีกด้วย

ผู้เสียชีวิตได้รับความเยียวยาทั้งภารัฐและภาคประชาชน ศพละ 2-4 ล้านบาท ยอดบริจาคจากน้ำใจคนไทยกว่า 89 ล้านบาท ผู้เจ็บป่วยที่ได้รับการดูแลอย่างดี ที่สำคัญสูงสุดคือพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่รับศพผู้เคราะห์ร้ายไว้ในความอนุเคราะห์ ประทานของเยี่ยมผู้ป่วยทุกคน ทำให้ประชาชนซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

เหตุการณ์กราดยิงที่โคราชจบลงแล้ว แต่บาดแผลนี้คงอยากที่จะลืมได้ บทเรียนราคาแพงที่ต้องมีผู้เป็นเจ้าภาพและรับผิดชอบในเหตุการณ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเอาอย่างจ่าโหดคนนี้

โดย-ทวิสันต์ โลณานุรักษ์ อดีตประธานหอการค้า จ.นครราชสีมา

แสดงความคิดเห็น