วันที่ 25 ก.พ.63 อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานกับเหตุการณ์ต้นปี 2563” พบเหตุการณ์ในช่วงต้นปี 2563 ที่คนอีสานพึงพอใจมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1) การรับมือเหตุการณ์กราดยิงที่โคราชของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 2) การจับกุมคนร้ายบุกชิงทรัพย์ร้านทองในห้างจังหวัดลพบุรีของตำรวจ 3) รัฐบาลรณรงค์ให้ห้างร้านต่างๆ งดแจกถุงพลาสติก 4) ฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ 5) กิจกรรมวิ่งไล่ลุง
ขณะที่ 5 เหตุการณ์ที่คนอีสานพึงพอใจน้อยที่สุด คือ 1) การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล 2) การยุบพรรคอนาคตใหม่ 3) การเสียบบัตรแทนกันของ ส.ส. จน พ.ร.บ. งบประมาณฯ ล่าช้า 4) กระบวนการดำเนินคดีกับนักการเมืองที่รุกป่า และ 5) การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล
ผศ.ดร.สุทินเวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อ 14 ประเด็นและเหตุการณ์ที่ประชาชนให้ความสนใจในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2563 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,107 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ดังนี้
1) รัฐบาลรณรงค์ให้ห้างร้านต่างๆ งดแจกถุงพลาสติก มีค่าดัชนีความพอใจ 67.9
2) กิจกรรมวิ่งไล่ลุง มีค่าดัชนีความพอใจ 63.6
3) กิจกรรมเดินเชียร์ลุง มีค่าดัชนีความพอใจ 40.8
4) การจัดการปัญหาภัยแล้งของรัฐบาล มีค่าดัชนีความพอใจ 35.3
5) การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล มีค่าดัชนีความพอใจ 31.4
6) กระบวนการดำเนินคดีกับนักการเมืองที่รุกป่า มีค่าดัชนีความพอใจ 30.7
7) การเสียบบัตรแทนกันของ ส.ส. จน พ.ร.บ. งบประมาณฯ ล่าช้า มีค่าดัชนีความพอใจ 30.4
8) การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล มีค่าดัชนีความพอใจ 26.7
9) การจับกุมคนร้ายบุกชิงทรัพย์ร้านทองในห้าง จ.ลพบุรี ของตำรวจ มีค่าดัชนีความพอใจ 69.8
10) การรับมือเหตุการณ์กราดยิงที่โคราชของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง มีค่าดัชนีความพอใจ 71.5
11) การถอนตัวเป็นฝ่ายค้านของพรรคเศรษฐกิจใหม่ มีค่าดัชนีความพอใจ 38.9
12) ฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี มีค่าดัชนีความพอใจ 64.0
13) การรับมือการระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19 โดยรัฐบาล มีค่าดัชนีความพอใจ 35.0
14) การยุบพรรคอนาคตใหม่ มีค่าดัชนีความพอใจ 29.4
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4% ประกอบด้วยเพศหญิง ร้อยละ 53.4 และเพศชายร้อยละ 46.6 โดยมี อายุ 18-30 ปี ร้อยละ 9.4 อายุ 26-30 ปี ร้อยละ 8.5 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 21.1 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 29.9 อายุ 51- 60 ปี ร้อยละ 26.2 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 4.9
ด้านการศึกษา จบประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 27.2 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 22.9 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 17.5 ระดับอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 10.2 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.4 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 3.9
ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 39.2 รองลงมาผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป/ลูกจ้างสถานประกอบการ ร้อยละ 13.2 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/งานอิสระ ร้อยละ 12.8 พนักงานบริษัทและเอกชน ร้อยละ 11.6 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.4 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.9 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 6.5 และ อื่นๆ ร้อยละ 1.4
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 19.4 รายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 28.9 รองลงมามีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 27.1 รายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.8 รายได้ระหว่าง 20,001-40,000 ร้อยละ 9.9 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไปร้อยละ 3.8.