สุดยอด!นวัตกรรมผู้สูงวัย“สายรัดข้อมืออัจฉริยะ”ขอนแก่นนำร่องของประเทศ

เทศบาลนครขอนแก่นผนึกเครือข่ายขอนแก่นสมาร์ทลีฟวิ่งแล็ป ส่งมอบ”สายรัดข้อมืออัจฉริยะ”จำนวน 350 เรือน สร้าง Smart Health ต้นแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ

วันที่ 2 มี.ค.63 ณ ห้อง ภูพาน โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การใช้เทคโนโลยีในการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะสุขภาพ และพิธีมอบสายรัดข้อมือเพื่อการบริหารจัดการสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุและแกนนําสุขภาพ

ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นกําลังมีแผนการลงทุน พัฒนาเมืองครั้งใหญ่เพื่อก้าวไปสู่สมาร์ทซิตี้ ทั้งด้านการศึกษา การแพทย์ โครงข่ายโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และระบบขนส่งรถไฟฟ้ามวลเบาในตัวเมือง ที่กําลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า ประกอบกับจังหวัดขอนแก่น ได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อก้าวสู่การเป็น “เมืองอัจฉริยะ” โดยได้ ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

หนึ่งในความก้าวหน้าด้านสมาร์ทซิตี้ คือ ขอนแก่นสมาร์ทลีฟวิ่งแล็ป ที่ได้รับรางวัลสุดยอดเมือง สมาร์ทซิตี้เอเซียแปซิฟิค ปี ๒๕๑๒ ด้านสาธารณสุขและบริการสังคม ซึ่งประกอบด้วย ๑. ระบบการเฝ้า ระวังป้องกันภาวะสุขภาพ การใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์ฉลาดที่มีเซ็นเซอร์ สามารถ บันทึกข้อมูลสุขภาพและประมวลผลได้อัตโนมัติ ได้แก่ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาล ตรวจออกซิเจนในเลือด ตรวจความเค็มของอาหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ประชาชน สามารถเข้าถึงและใช้งานในชีวิตประจําวันได้ ๒. ระบบศูนย์สั่งการอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลขอนแก่น เป็นการพัฒนาระบบการสื่อสารระหว่างรถพยาบาลและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลขอนแก่น ผ่านระบบ สัญญาณไร้สาย เพื่อปิดช่องว่างการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตระหว่างส่งต่อจากโรงพยาบาลต้นทาง โรงพยาบาลปลายทาง ให้เกิดความปลอดภัยด้านสุขภาพแก่ประชาชน โดยจัดซื้อเครื่องมือแพทย์เis อุปกรณ์ส่งสัญญาณไร้สายผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่โรงพยาบาลชุมชน

รวมถึงติดตั้งระบบสื่อสาร แบบ VIDEO call และ Medical GPS tracking ในรถแอมบูแลนซ์ ๓. การพัฒนาระบบฐานข้อมูล สุขภาพรวมของจังหวัดขอนแก่น (Big Data) และถนนข้อมูลสุขภาพ (X – Road) ที่จะช่วยให้ประชาชนใน จังหวัดขอนแก่นสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตนเอง นําข้อมูลมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้ สะดวก ต่อแพทย์และทีมงานด้านสุขภาพ เพราะเป็นระบบฐานข้อมูลเดียวกัน เห็นความเปลี่ยนแปลงสุขภาพ สามารถวินิจฉัยโรคและให้การรักษาพยาบาลได้รวดเร็ว ถูกต้องไม่ซ้ำซ้อน ประหยัดงบประมาณจากการ ทําซ้ำในเรื่องเดียวกัน และช่วยให้การรักษาพยาบาลการดูแลสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น  กล่าวว่า จากการสํารวจปัญหาสุขภาพ พบว่า ประชากรผู้สูงวัยส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน เสี่ยงต่อการล้ม มีภาวะซึมเศร้าและสมองเสื่อมในอัตราที่สูง ส่วนใหญ่ต้องอยู่บ้านลําพังในตอน กลางวันเนื่องจากลูกหลานต้องไปทํางานนอกบ้าน ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆบางครั้งไม่ สามารถขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที และบางคนไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ จึงเป็นปัญหาที่สร้าง ความกังวลใจให้กับผู้สูงวัยเองและบุตรหลานผู้ดูแล จึงเป็นที่มาของการหารูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ สภาพปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่และสร้างระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ โดย การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีเครือข่าย

การใช้เทคโนโลยีฉลาด เช่น สายรัดข้อมืออัจฉริยะหรือ Smart Wristband เป็น นวัตกรรมอย่างหนึ่ง ที่ช่วยสร้างต้นแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ จากเซนเซอร์ติดตามสุขภาพและ พฤติกรรมการสวมใส่ ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถรับทราบข้อมูลสุขภาพของตนองที่เป็นจริงในขณะนั้น เช่น การออกกําลังกายประจําวัน การพักผ่อนนอนหลับที่เพียงพอ ค่าความดันโลหิตที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ซึ่งสามารถนํามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม และยังมีระบบหลังบ้านที่เชื่อมต่อกับศูนย์สั่งการ อัจฉริยะอุบัติเหตุฉุกเฉิน (IOC) ของโรงพยาบาลขอนแก่น ที่สามารถระบุตําแหน่งที่อยู่ของผู้สวมใส่ และมี ระบบการติดต่อสื่อสารที่ง่าย สะดวกในการใช้งาน ทําให้สามารถเข้าถึงผู้สูงอายุที่เกิดอุบัติเหตุได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ การที่เทศบาลนครขอนแก่นได้รับการสนับสนุนสายรัดข้อมือเพื่อการบริหารจัดกา สุขภาพ รุ่นมะลิ ๒ จากเครือข่าย ได้แก่ สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ เมื่อเดือนกันยาย ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา จํานวน ๑๔๐ เส้น และในวันนี้ จากสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคอีสา ตอนกลาง อีก ๓๕๐ เส้น

ทำให้ได้ข้อมูลสุขภาพขนาดใหญ่พอสมควร ที่สามารถวิเคราะห์ทํานายภาวะสุขภาพผ่านศูนย์ปฏิบัติการ อัจฉริยะได้ (Intelligence Operation Center) ซึ่งจะช่วยให้จังหวัดขอนแก่น สถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาล รวมไปถึงผู้วางแผนด้านงบประมาณสุขภาพได้ตรงตามข้อเท็จจริง เกิดนวัตกรรมดิจิทัลสุขภาพ ใหม่ ๆ สามารถทํานายสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านสุขภาพขนาดใหญ่ใน วางแผนการจัดการสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนโดยรวมต่อไป

แสดงความคิดเห็น