หอการค้าอีสาน ประเมินผลกระทบโควิด 19 ยังยืดเยื้อทั้งโลก แม้ไทยจะฟื้นได้เร็วกว่าแต่ก็ต้องสัมพันธ์กัน เห็นด้วยการล็อคดาวน์เป็นพื้นที่ แต่ห่วงมาตรการรัฐยังสื่อสารไม่ชัดเข้าใจคนละแบบ ซอฟท์โลนสุดท้ายได้เพียงรายเก่า เสนอหอไทยประสานแจ้งรัฐบาลเร่งไทยช่วยไทย แนะเอกชนต้องช่วยตัวเองให้ได้ เตรียมเสนอปรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีหลังเหตุการณ์สงบ
นายสวาท ธีระรัตนนุกุลชัย ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวกับ “อีสานบิซ” ถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 และมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละจังหวัดในภาคอีสาน ว่า ตนได้หารือร่วมกับที่ประชุมหอการค้า 20 จังหวัดภาคอีสาน ทำให้ทราบว่า สถานการณ์แต่ละพื้นที่โดยภาพรวมอีสานไม่ได้แตกต่างกัน จะมีเพียงข้อแตกต่างกันบ้างคือ นโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละแห่ง ว่าจะดำเนินการอย่างไร เช่น จะล็อคเมืองหรือไม่ล็อคเมือง ซึ่งไม่ตรงกัน แต่อย่างไรก็ตามอันไหนที่เป็นอุปสรรค์เราก็จะได้มีการพูดคุยกันเพื่อให้เกิดความลื่นไหล ในการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ต่อไป
“เรื่องเศรษฐกิจเราจะดูเรื่องการขยายตัวของโลกเป็นตัวตั้ง โดยเฉพาะการเตรียมการเยียวยา มาตรการต่างๆของรัฐที่ออกมา ภูมิภาคยังไม่รู้เรื่อง ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องการสื่อสารจากส่วนกลาง มาไม่ถึงพื้นที่ ด้านแรงงาน มาตรการการเงิน เราเห็นว่า มีข้อแตกต่าง บางจังหวัดทำได้ทำไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องเงินซอฟท์โลน (สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ)ที่จะกลับไปอยู่กับผู้ประกอบการรายเก่า ไม่ใช่รายใหม่”นายสวาทกล่าว
ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฯ กล่าวอีกว่า หอการค้าภาคอีสานจะเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือส่วนกลาง กลับไปพิจารณาร่วมกับรัฐบาล โดยเราจะสะท้อนไปยังนายกรัฐมนตรี ผ่านไปทางประธานหอการค้าไทย เพื่อให้เสนอต่อรัฐบาลต่อไป เพราะมาตรการที่ออกมาเหมือนกับว่า เราถือคัมภีร์คนละฉบับ แม้จะมีฉบับเดียวแต่ความเข้าใจไม่ตรงกัน
“ข้อจำกัดอยู่ที่วิธีคิดแบบเก่าของแบงก์หรือไม่ ผมเห็นว่า เป็นเรื่องการสื่อสาร เราจะรีบสะท้อนไปเพราะยังมีเวลาเหลืออยู่ไปและทำความเข้าใจกับคนพื้นที่ไม่เช่นนั้นไม่ถึงคนที่มีความต้องการ”นายสวาทกล่าว
นายสวาทกล่าวว่า ในภาพใหญ่ทุกภาคส่วนได้รับกระทบหมด โชดดีที่ประชาชนส่วนมากได้ให้ความร่วมมือ จะมีแต่ส่วนน้อยที่ไม่ร่วมมือ ทำให้การควบคุมและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 เป็นไปตามมาตรฐาน เราไม่ต้องปิดเมืองหรือเคอร์ฟิวทั้ง 24 ชั่วโมง
ตนเป็นคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดอุดรฯ ได้ทราบว่าหน่วยงานราชการบางแห่งต้องการปิดเมืองเลย โดยไม่คำนึงว่า ปิด 24 ชม.รัฐบาลจะต้องเอาเงินมาจากไหน ขณะที่ปิดแบบปัจจุบันรัฐบาลยังใช้เงินเป็น หลายล้านๆบาท ปิดเมืองหรือเคอร์ฟิว 24 ชม.รัฐบาลจะเงินมาจากไหนเพื่อมาช่วยเหลือประชาชน
“ผมขอบคุณทุกฝ่าย บุคลากรทางการแพทย์นั้นหนักที่สุดอยู่แล้ว ประชาชนก็หนักเหมือนกันเพราะอยู่แต่ที่บ้าน ภาครัฐอยู่บ้านก็หนัก ทุกคนต้องช่วยกันเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้น”นายสวาทกล่าวและว่า
สำหรับกลุ่มธุรกิจ ท่องเที่ยวและโรงแรม ตนได้พยายามคุยกับหลายจังหวัดให้สั่งปิดกิจการไปเลย เพื่อจะได้สู่เข้ากระบวนการประกันสังคม ซึ่งที่จริงประกันสังคมได้มาเยอะแล้ว กิจการกลายแห่งไม่ปิดก็ต้องปิดโดยอัตโนมัต ทุกคนออกไปไหนไม่ได้ ธุรกิจก็เงียบ ห้าง โรงแรมไม่เคยเจอ ธุรกิจการบินอุดรฯเคยเดินทางเข้าออกวันละ 8,000 คน ต้องปิดไปเลย
“ผมไม่เคยเห็น เรื่องอย่างนี้สำหรับภาคการค้า การลงทุน มีความสำคัญมาก หอการค้าภาคอีสาน ได้พยายามกระตุ้นให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันตระหนัก มีการประชุมคอนเฟอเรนท์กันเรื่อย ๆ ขณะนี้เราวิกฤตทั้งโลก ประเทศไทยอาจฟื้นก่อน แต่โลกทั้งใบส่วนมากวิกฤต”นายสวาทกล่าวและว่า
ทั้งนี้การคาดการณ์ว่าต่างประเทศจะฟื้นราวสิงหาคม ถึงกันยาย ซึ่งเรายังไม่มั่นใจว่าจะฟื้นได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและอเมริกา โดยเศรษฐกิจโลกก็จะยึดโยงกับประเทศไทย โดยโปรแกรมที่เราต้องเร่งดำเนินการผลกัดกันออกมา คือคิดเรื่องไทยช่วยไทย หลังจากนั้น ค่อยเงยหน้าขึ้นมาทีละส่วน
ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฯ กล่าวอีกว่า ปัญหาอีกด้านหนึ่งที่เราจะต้องเจอคือ เรื่องภัยแล้งที่กำลังจะต้องเข้ามาส่งผลกระทบอีก ในรอบปีที่ผ่านมาประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน เราเจอหลายเรื่อง ตั้งแต่สงครามการค้า ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาน้ำมัน และมาเจอการยิงกราดอีก ที่โคราช แม้จะเกิดที่โคราชแต่ก็กระทบกับทั้งภูมิภาค และยังมาเจอโควิค 19 อีก
“สิ่งที่เราคิดและจะทำคือ พยายามบอกกับผู้ประกอบการว่า เราจะต้องช่วยตนเองให้ได้ ให้แข็งแรงโดยต้องอยู่ให้ได้ก่อน สร้างกำลังใจ รอรัฐบาลยาก และปล่อยให้รัฐทำหน้าที่ไป ภาคเอกชนจะต้องช่วยตัวเองไปก่อน เมื่อเราแข็งแรงมีพลังก็จะสามารถทำอะไรก็ได้ เช่นการสร้างเงิน สร้างรายได้ เราผ่านร้อน หนาวเจอมาหลายครั้ง เราต้องช่วยตัวเองให้ได้”นายสวาทกล่าว
นายสวาทกล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางการช่วยตัวเอง หากเราเป็นนักธุรกิจทำอะไรเราต้องมีได้มีเสียเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ตอนนี้เราเสียมากกว่าได้ เสียยิ่งกว่าเสีย แต่ต้องปรับเรื่องยุทธวิธิ เรื่องโควิด 19 เดิมเราไม่เคยสนใจเรื่องสุขอนามัยเลย ต่อไปเราต้องมาดูธุรกิจด้านสุขภาพ ด้วย เพราะธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไป จะทำธุรกิจแบบเดิมคงไม่ได้ เราจะต้องดูศักย์ภาพตนเองและเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะโลก
“ผมกลระทบครั้งนี้เกิดทั้งแผง เมื่อเทียบกับปี 40 นั้นกระทบเฉพาะรายใหญ่ เกี่ยวกับภาคการเงิน แต่คราวนี้กระทบทุกภาคส่วน การเงิน สังคมและเศรษฐกิจ มาพร้อมกันเลย สังคมและสุขภาพนับมูลค่าไม่ได้ เที่ยวนี้ โดนถ้วนหน้า ไม่ว่าจะรวยจน ทุกคนเจอผลกระทบหมด และหนักด้วย”นายสวาทกล่าวและว่า
เราคงจะต้องอัพเดทสถานการณ์และปรับกลยุทธ์ต่างๆใหม่ โดยจะต้องมีการปรึกษาหารือกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้พิจารณาปรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีใหม่ ปรึกษากับธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยว่าจากนี้ไปหลายไปหลายเรื่องจะต้องเปลี่ยนแปลงไป