องค์กรแรงงานระหว่างประเทศเผย ร้อยละ 61 หรือ ประมาณกว่า 2,000 ล้านคนของแรงงานนอกระบบทั้งโลก 3,300 ล้านคน ประสบปัญฯหาปิดเมืองและมาตรการอื่นๆ เพราะวิกฤตโควิด 19 เสนอรีเซ็ทระบบเศรษฐกิจใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการทั่วถึงอย่างเท่าเทียม
นางสุนทรี หัตถีเซ่งกิ่ง ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ทำการผลิตที่บ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า องค์กรของแรงงานในระบบเศรษฐกิจนอกระบบทั่วโลกได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลทุกระดับร่วมมือกับเครือข่ายแรงงานนอกระบบในการบรรเทาทุกข์ ฟื้นฟูและความพยายามในการปรับตัวที่เกิดขึ้นจากระดับรากหญ้าในช่วงเวลาวิกฤติที่สำคัญครั้งนี้
แรงงานนอกระบบเป็นแรงงานสำคัญและยังคงสำคัญ เสมอมาผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและผู้ค้าในตลาดเป็นห่วงโซ่สำคัญในการเชื่อมโยงความมั่นคงด้านอาหารและเครื่องอุปโภคขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่กลุ่มที่ยากจนที่สุดของสังคม
แรงงานเก็บขยะและรีไซเคิลได้ให้บริการที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนและระบบสาธารณสุข ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะและส่งผลให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ลูกจ้างทำงานบ้านเป็นแนวหน้าในการจัดการมาตรฐานสุขอนามัยในบ้านและให้การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ผู้ทำการผลิดที่บ้านทำให้ห่วงโซ่อุปทานดำเนินต่อได้เย็บหน้ากากและอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในแนวหน้า เศรษฐกิจทุกแห่งหนขึ้นอยู่กับงานของเรา
เศรษฐกิจโลกไม่สามารถฟื้นตัวได้หากปราศจากเรา
จากรายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)พบว่าร้อยละ81 ของแรงงานทั่วโลกซึ่งมีประมาณ 3,300 ล้านคนได้รับผลกระทบจากการปิดเมืองและมาตรการต่างๆเพื่อควบคุมโควิด19 ซึ่งแรงงานร้อยละ61 ของกำลังแรงงานทั่วโลกหรือประมาณ 2,000 ล้านคนอยู่ในการจ้างงานในเศรษฐกิจนอกระบบ ในประเทศกำลังพัฒนานั้นพวกเราถือเป็นร้อยละ90 ของการจ้างงานทั้งหมดมาตรการด้านสาธารณสุขที่จำกัดการเคลื่อนย้ายทำให้สมาชิกจำนวนมากของเราไม่สามารถทำงานได้โดยสิ้นเชิง
“ทุก ๆวันที่พวกเขาไม่สามารถทำงานได้พวกเขาไม่สามารถหารายได้ พวกเขาไม่สามารถอยู่แต่ในบ้านได้ถ้าต้องหิวโหยและไม่สามารถทำงานได้ถ้าต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนในหลายประเทศยังไปไม่ถึงแรงงานของเรา การขับไล่ที่โหดร้ายและความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้หญิงนั้นเพิ่มมากขึ้น”นางสุนทรีกล่าว
นางสุนทรี กล่าวอีกว่า จากการศึกษาผลกระทบระยะแรกของวิกฤตแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อรายได้ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบของเราซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคมและเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพมายาวนานเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดสังคมต้องการองค์กรของแรงงานนอกระบบเพื่อช่วยออกแบบนโยบายสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการตอบสนองต่อวิกฤติ และมุมมองเพื่อการฟื้นฟูในระยะยาวและการปฏิรูปโครงสร้าง
“เราต้องปรับระบบเศรษฐกิจใหม่ (reset) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการทั่วถึงอย่างเท่าเทียมวิกฤตโควิด-19 ได้ดึงความสนใจของโลกมาที่วิธีที่รัฐบาลและอุตสาหกรรมจัดการกับแรงงานนอกระบบจำนวนมหาศาลของโลกอย่างไม่เท่าเทียมมายาวนาน”นางสุนทรีกล่าวและว่า
สมาพันธ์ลูกจ้างทำงานบ้านสากล (IDWF) สมาพันธ์ผู้ค้าแผงลอยสากล (StreetNet International) เครือข่ายผู้ทำการผลิตที่บ้านเอเชียใต้ (HomeNet South Asia) เครือข่ายผู้ทำการผลิตที่บ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (HomeNet Southeast Asia) เครือข่ายผู้ทำการผลิตที่บ้านยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง (HomeNet Eastern Europe and Central Asia) และสหพันธ์แรงงานเก็บขยะสากล (Global Alliance of Waste Pickers)
ในฐานะสมาชิกเครือข่าย WIEGO ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายดำเนินมาตรการฉุกเฉินเพื่อบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟู รวมถึงยุทธศาสตร์ในการจัดการด้านสาธารณสุขและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตามหลักการดังต่อไปนี้:
1.ไม่มีอะไรสำหรับเราโดยปราศจากเรา ซึ่งเป็นขบวนการของแรงงานในระบบเศรษฐกิจนอกระบบระดับโลกมีประสบการณ์หลายสิบปีในการจัดจัดตั้งและอำนวยการในการเชื่อมต่อระหว่างแรงงาน ชุมชน รัฐบาล และบริษัทต่าง ๆ ผู้นำของเราคือผู้เจรจาที่มีประสบการณ์ และเป็นนักการศึกษามีความรู้เกี่ยวกับทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ ภายในประเภทอุตสาหกรรมของพวกเขาเป็นอย่างดี และทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อจัดการกับวิกฤตเฉียบพลันที่สมาชิกระดับรากหญ้าของเราเผชิญอยู่ และเพื่อรักษาความปรองดองในสังคมในบภาวะวิกฤต การให้เราเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจกำหนดนโยบาย ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นร้อยละ 61 ของกำลังแรงงานทั่วโลก แต่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจของประเทศ และระบบของโลกที่เชื่อมโยงเราทุกคน
2.ไม่ทำร้ายนโยบายและแนวปฏิบัติในระหว่างและหลังวิกฤตโควิด-19 จะต้องคำนึงถึงแรงงานนอกระบบและองค์กรของพวกเขาและรัฐต้องออกคำสั่งที่ชัดเจนให้กับหน่วยงานระดับปฏิบัติการเพื่อหลีกเลี่ยงการคุกคาม การใช้ความรุนแรง การเรียกรับสินบน การไล่รื้อและการรื้อถอนทรัพย์สินของแรงงาน รวมถึงบ้านและสถานที่ทำงานของพวกเขา รัฐต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษในการลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่เกิดแก่แรงงานหญิงทั้งในบริบทวิกฤตปัจจุบันและในระยะยาว
- เข้าใจการเปลี่ยนแปลงจำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบการทำงานและการผลิตแบบใหม่ที่เท่าเทียมและมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรมโดยให้การยอมรับและให้คุณค่ากับงานทุกรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุรูปแบบการทำงานดังกล่าวต้องเริ่มต้นเดี๋ยวนี้ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูโดยเน้นไปที่การสร้างระบบให้แก่เศรษฐกิจนอกระบบ ให้สอดคล้องกับข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศข้อ 204 (R204) จำเป็นต้องมีการลงทุนระยะยาวเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่บนพื้นฐานความเข้าใจว่า แรงงานนอกระบบโดยเฉพาะผู้หญิงเป็นผู้สร้างความมมั่นคงให้ครอบครัว ชุมชน และเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางของการสร้างห่วงโซ่คุณค่าในท้องถิ่นขึ้น และต้องการการรับรองมาตรฐานงานที่มีคุณค่าในทุกประเภทอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ องค์กรที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขบวนการแรงงานนอกระบบระดับโลก ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นตัวแทนของสมาชิกกว่า 2.1 ล้านคนทั่วโลก สมาพันธ์ลูกจ้างทำงานบ้านสากล International Domestic Workers’ Federation (IDWF)
Elizabeth Tang เลขาธิการใหญ่ elizabeth.tang@idwfed.org สมาพันธ์ผู้ค้าแผงลอยสากล Street Net International ออกซาน่า แอ๊บบอน ผู้ประสานงานระหว่างประเทศ coordinator@streetnet.org.za เครือข่ายผู้ทำการผลิตที่บ้านเอเชียใต้ HomeNet South Asia จันหาวี เดฟ ผู้ประสานงานระหว่างประเทศ , janhavi.hnsa@gmail.com เครือข่ายผู้ทำการผลิตที่บ้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ HomeNet Southeast Asia สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง ผู้ประสานงาน ss.sunny@hotmail.com เครือข่ายผู้ทำการผลิตที่บ้านยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง HomeNet Eastern Europe and Central Asia ไวโอเลต้า สลาเตว่า ประธาน violetazlateva@gmail.com
คณะทำงานเครือข่ายผู้ทำการผลิตที่บ้านสากล HomeNet International Working Group จันหาวี เดฟ รักษาการผู้ประสานงานระหว่างประเทศ janhavi.hnsa@gmail.com สหพันธ์แรงงานเก็บขยะสากล Global Alliance of Waste Pickers
โนร่าห์ พาดิลลาห์, ผู้นำแรงงานเก็บบขยะ, arbesp@gmail.com ผู้สนับสนุนทางเทคนิค Women in Informal Employment: Globalizing and Organizing (WIEGO) แซลลี โรเวอร์ ผู้ประสานงานระหว่างประเทศ sally.roever@wiego.org
………………..