ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Suraphan Charoentanyarak หรือ นพ.สุรพันธ์ เจริญธัญรักษ์ อายุรแพทย์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลขอนแก่น ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงกรณีเชื้อไวรัสโควิด 19 ในการทำห้อง ICU COVID-19 full negative pressure system แยก 5 ห้องเสร็จ ใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการสร้าง โดยโพสต์ดังกล่าวระบุข้อความไว้ว่า แชร์ประสบการณ์เกิน8บรรทัด
ICU covid-19 Negative pressure รพ.ขอนแก่น ทำไม่เราสร้างเสร็จเร็ว?
คนทั่วไปคิดว่าเราใช้เวลา2 สัปดาห์ในการสร้าง เวลา2สัปดาห์เสมือนยอดภูเขาน้ำแข็งที่อยู่บนผิวน้ำ แต่เวลาในการเตรียมการคือฐานที่จมอยู่ใต้น้ำ
ผมคิดมาตลอดว่ารพ.ขอนแก่นเป็นรพ.ต่างจังหวัด ถ้ามีการระบาดไปทั่วประเทศ การช่วยเหลือของรัฐบาลและประชาชนส่วนใหญ่จะระดมไปที่กทม. น้อยคนจะมาคิดถึงต่างจังหวัด
ดังนั้นเราต้องขยับเตรียมการให้เร็วกว่าคนอื่น
#เตรียมการ
ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดที่จีน เดือนธันวาคม มาถึงกลางเดือนมกราคม มีคนไข้รายแรกในไทย ผมก็เริ่มศึกษาหาความรู้ว่ามันเกิดอะไรกันแน่ในจีน อ่านข้อมูลจากจีนว่าเขาทำอะไรกัน จัดการ รพ.อย่างไร
เดือนกพ. เริ่มมีคนไข้ในไทยเยอะขึ้น ช่วงเดียวกับที่จ่าคลั่งกราดยิงโคราช ผมก็เริ่มคิดว่าถ้าขอนแก่นมีการระบาดจะจัดการอย่างไร คนส่วนใหญ่มองไปที่ ยาหรือ วัคซีน ซึ่งยังไม่มีหลักฐานว่ายาตัวไหนลดอัตราการตายได้ การรักษาส่วนใหญคือรักษาประคับประคองอาการ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการสู่กับโรคนี้คือ สถานที่ในการรักษา ต้องปลอดภัยต่อคนทำงานและผู้ป่วยคนอื่นๆ เราจำเป็นต้องมีห้อง Negative pressure ซึ่งเดิมทีเรามีอยู่แล้วกระจายอยู่ในหอผู้ป่วยปกติ ซึ่งไม่ตอบโจทย์สำคัญโรคนี้ มันต้องแยกออกมาจากหอผู้ป่วยปกติ แยกอุปกรณ์ที่ใช้ ในการรักษาแยกทีมพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เราต้องมองหาสถานที่ใหม่
กลางเดือนกพ. ผมสำรวจความเป็นไปได้ ว่าในรพ.ตรงไหนที่จะเหมาะสมที่สุดต้องเป็นตึกที่แยกออกมา ทางเข้าออกเดียวควบคุมได้ ปิดแยกตึกออกมาแล้วผล กระทบน้อยสุด ก็มาจบตรงตึกอาคารผ่าตัด มี icu ศัลยกรรม และ Icu CVT เก่า คิดไปถึงว่าถ้าการระบาดเอาไม่อยู่ก็พร้อมจะดัดแปลงห้องผ่าตัดขยายเป็น icuต่อไป
#รอเวลา
แต่สิ่งที่เราคิดทั้งหมด เราต้องรอเวลา ไม่สามารถไปบอกใครได้ ในช่วงกลางเดือนกพ. ถ้าบอกไปก็จะหาว่าเราบ้าคิดมากไป
เดือนมีค. เป็นเวลาที่เหมาะสม ขอนแก่นเราเริ่มมีคนไข้ กทม.เริ่มมีปัญหาจาก ทองหล่อและสนามมวย ตอนนี้ เราค่อยๆหาแนวร่วม อธิบายแนวคิดเราให้ คนที่เกี่ยวข้อง คนที่ได้รับผลกระทบต่อแผนปิดตึกสร้างห้อง จนสถานการณ์การระบาดถึงจุดที่ตึงเครียด เข้าพบผู้บริหารเสนอแนวคิดที่วางไว้ ทุกคนเริ่มคล้อยตามตกลงทำตามแผนที่เราวางไว้
#หาเงิน
เมื่อผู้บริหารok กับแนวคิด ต่อมาคือหาเงิน การสร้างด้วยเงินระบบราชการปกติ กว่าจะได้สร้างใช้เวลาเป็นปี เราไม่มีเวลาขนาดนั้น ต้องให้เงินบริจาค มาหลายทาง เราโชคดีที่หาผู้บริจาครายใหญ่สนับสนุนในโครงสร้างแต่ละส่วน แต่ยังไม่พออยู่ดี เราจึงต้องใช้เงินมูลนิธิ ขอเงินบริจาคจากประชาชน ผอ.อนุญาตให้เปิดบัญชีรับบริจาคตรงเข้ามา เรารอให้เงินครบก่อนไม่ได้ ผู้บริหารก็กล้าให้เราดำเนินการไปก่อน เรารู้ว่าเสี่ยงที่จะหาเงินได้ไม่ครบมีโอกาสสร้างค้างไว้เหมือนโบสถ์วัดรอเงินถอดกฐิน แต่เมื่อลูกศรหลุดออกจากเกาทัณฑ์เราต้องเดินหน้่าเท่านั้น วันที่30 มีนาคม เราก็เริ่มดำเนินการสร้างปรับปรุงห้อง negative pressure
#เตรียมอุปกรณ์
พอแนวคิดการสร้างICU covid ได้รับการยอมรับ อุปกรณ์ที่ใช้ใน ICU เราต้องแยกออกมาจากผู้ป่วยปกติ อุปกรณ์หลายอย่างต้องจัดหามาใช้เฉพาะในการดูแลผู้ป่วยcovid อุปกรณ์การสื่อสารที่ต้องเพิ่มขึ้นมา
ใช้อุปกรณ์เก่าที่มี list รายการอุปกรณ์ที่ต้องหาซื้อเพิ่มออกมา ในGoogle sheet โทรหาบริษัทตัวแทนที่ขาย ต่อรองราคา ขอ spec ใบเสนอราคา ลงรายละเอียดของแต่ละชิ้นไว้ ทั้งๆที่เรายังไม่มีเงินที่จะซื้อ
หลังจากนั้นก็ขอบริจาค ใครสะดวกจะบริจาคงบประมาณเท่าไร เรามีข้อมูลพร้อมก็เสนอใบว่าเราอยากได้ของชิ้นนี้งบพอดีกับที่ผู้บริจาคสามารถช่วยได้ ถ้าไม่บอกไปประชาชนคนส่วนใหญ่ก็รู้จักแต่เครื่องช่วยหายใจ
#ประสานงาน
การสร้างห้อง ICU ไม่ใช่จ้างช่างบริษัทเดียวมาทำเซ็นสัญญาแล้วจบ ต้องใช้ช่างหลายหลายด้าน ช่างระบบอากาศ ช่างไฟฟ้าน้ำ ช่างระบบlan wifi ช่างระบบสื่อสารCCTV intercom ช่างติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งหมดต้องวางแผนเซ็นสัญญาจ้าง ดูแบบแปลน ผ่านช่างรพ.อีกทีส่งไปฝ่ายบริหารอนุมัติงบประมาณ ต้องวางแผนการเข้างานของช่างทุกด้านให้พอดีที่สุดเพื่อให้งานเสร็จเร็วที่สุด เป็นหมออยู่ดีๆกลายเป็นผู้รับเหมาไปแล้ว
#ไม่ลังเล
รพ.ขอนแก่นเราไม่มีการลังเลใจ ว่าจะต้องรับผู้ป่วยโควิดจริงหรือไม่ เพราะเราต้องรับแน่ๆ ต้องรับเป็นที่แรกในจังหวัดขอนแก่น ต่างจากรพ.อื่นๆ ที่คิดว่าจะรับโควิดถ้ามีคนไข้เยอะเกินศักยภาพรพ.ขอนแก่นไปแล้ว งานเตรียมการทุกอย่างทำต่องทำเร็วที่สุด ประชุมวันละ 4-5รอบ วิ่งเตรียมการทั้งวัน โทรศัพท์สายไหม้ชาร์จแบตวันหนึ่งสามรอบ หมดค่าโทรไปเป็นพัน ตอบlineจนตะคริวกินนิ้ว
#ประชาชน
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ คนขอนแก่นคนไทยช่วยกันเติมที่ในทุกๆด้านไม่ใช่แค่เรื่องบริจาคเงิน
ใครสามารถทำอะไรได้เสนอตัวเข้ามาช่วยจนผมตอบโทรศัพท์ FB Lineไม่ทัน ขอบคุณน้ำใจจากทุกๆคน
30 มีนาคม ถึง 14เมษายน
เราทำICU COVID-19 full negative pressure system แยก5ห้องเสร็จย้ายผู้ป่วยเข้าวันที่ 15 เมษายน
1 พค.เราทำห้อง ICU ส่วนที่2 เสร็จเพิ่ม8เตียงเสร็จ
เหลือส่วนที่3 อีก12 เตียงเสร็จในเดือนหน้า
ขอบคุณที่มา:Suraphan Charoentanyarak