“ตู้ปันกัน” ​สะท้อนน้ำใจกับสำนึกคน

เมื่อเหรียญยังมีสองด้าน​ พฤติกรรมคน​ ก็ย่อมมีทั้งดีและไม่ดีเป็นธรรมดากรณี“ตู้ปันกัน” ถือเป็นความงดงาม​ ทางสังคมในยามทุกข์ยาก​ ศูนย์กลางการให้และการรับ​ ที่เยี่ยมยอดน่าประทับใจอย่างยิ่ง เราได้เห็นฝั่งผู้ใหญ่ที่นำข้าวของต่างๆมาเติมในตู้ปันกันไม่ขาดสาย​ เรียกว่ามีกันทุกซอกทุกซอยและทั่วประเทศก็ว่าได้ “น้ำใจ” ในยามนี้​ เป็นน้ำใจที่ยากจะลืมเลือนได้ นี่คือประเทศไทยของเรา​ เราต้องช่วยกันรักษาไว้ใหัเป็​นเอกลักษณ์ของแผ่นดิน
 มีสีขาวก็ย่อมมีสีดำ​ ภาพของผู้รับ​ บางกลุ่มบางคน​ ที่กระทำการไม่เหมาะสม​ แสดงความเห็นแก่ตัว​ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น​ ถือเป็นการกระทำที่ขาดจิตสำนึกอย่างมาก​ คำพูดที่ว่า“คนอื่นเอาไปมากกว่าผมอีก” สะท้อนได้ชัดเจนว่า​ นี่ไม่ใช่การ“ปันกัน” แล้ว ​ นี่คือการแย่งชิงกันมากกว่า​ ใครชิงมากก็ไดัมากในสังคมวันนี้​ เราได้เห็นเรื่องของความสำนึกมากมาย​ เมื่อคราวปลดล๊อกขายเหล้าเบียร์ก็ชัดเจนมาก​ หรือการกักตุนหน้ากาก​ และเจลล้างมือ​ สิ่งเหล่านี้คือเรื่องของ​ ” จิตสำนึก”ทั้งสิ้น
การที่นายกประยุทธ์​ ทำจดหมายขอความร่วมมือจากเจ้าสัว​ ผมมองว่าท่านขอเรื่องจิตสำนึก​ จากผู้คุมเศรษฐกิจ ให้ช่วยกันมากกว่าการจะไปขอรับบริจาคเงิน  จิตสำนึกในยามนี้​  เป็นจิตสำนึกพิเศษ​ ที่ตัองไม่พูดถึงคำว่า​ กำไรหรือขาดทุน​ ทั้งหมู่บ้านลำบากกัน​หมด จะมีคนไม่กี่ครอบครัวที่สุขสบาย​ อันนี้คือการขาดจิตสำนึก วิกฤตจากไวรัสโควิด19​ นำมาซึ่งความงามด้านน้ำใจ​ และทำให้เรา​ ต้องกลับมาทบทวนเรื่องของ“จิตสำนึก” ​ ที่ต้องเริ่มกันในหลักสูตรการสอนตามโรงเรียน​ จิตสำนึกของข้าราชการ​ จิตสำนึกของพ่อค้า​ และถ้าทำได้​ ก็รวมทั้งจิตสำนึกของนักการเมืองทั้งหลายไปด้วย การพบปัญหา​ แล้วช่วยกันแก้ไข​ น่าจะดีกว่าการบ่น
โดย.. ทวิสันต์​ โลณานุรักษ์
แสดงความคิดเห็น