ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ต่อแรงงานและผู้ประกอบการอีสาน

 อีสานโพลเผยโควิด 19 กระทบต่อแรงงานและผู้ประกอบการอีสาน เงินเดือน/รายได้/ยอดขายลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น เสนอรัฐตรวจหาการติดเชื้อโควิดแบบเชิงรุก (ฟรีและทั่วถึง) เร่งจ่ายเงินเยียวยาสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับสิทธิ์ และคลายล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกห้ามไว้ให้เร็วขึ้น

                วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยผลสำรวจเรื่อง “ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ต่อแรงงานและผู้ประกอบการอีสาน” พบว่า ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2563 แรงงานและผู้ประกอบการอีสานยังคงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อครอบครัวในระดับสูง โดยประเด็นที่สร้างผลกระทบและความลำบากให้กับครอบครัวมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ  เงินเดือน/รายได้/ยอดขายลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น และการเดินทางในชีวิตประจำวันหรือการขนส่งสินค้า  โดยกลุ่มอาชีพราชการและรัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบน้อยที่สุด สำหรับความต้องการการช่วยเหลือและการดำเนินการของภาครัฐ มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ  ตรวจหาการติดเชื้อโควิดแบบเชิงรุก (ฟรีและทั่วถึง) เร่งจ่ายเงินเยียวยาสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับสิทธิ์ และคลายล็อก/อนุญาตให้ทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกห้ามไว้ให้เร็วขึ้น

ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด 19 ต่อแรงงานและผู้ประกอบการอีสาน และสำรวจความต้องการความช่วยเหลือและสิ่งที่รัฐควรดำเนินการ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-14 พฤษภาคม  2563 จากกลุ่มตัวอย่างแรงงานและผู้ประกอบการ อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 760 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

ในการวัดระดับความลำบาก ดัชนีชี้วัดมีค่าระหว่าง 0 – 100 โดย 0 คือลำบากน้อยที่สุด และ 100 คือลำบากมากที่สุด รายละเอียดแต่ละประเด็นเป็นดังนี้

  • สถานประกอบการปิดกิจการชั่วคราว ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ 5 โดย กลุ่มอาชีพค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ และผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคม ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด
  • ถูกเลิกจ้าง/ยังประกอบอาชีพไม่ได้ ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ7 โดย กลุ่มอาชีพผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคม ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด
  • เงินเดือน/รายได้/ยอดขาย ลดลง ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ5 โดย กลุ่มอาชีพค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม ผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคม และกลุ่มงานอาชีพอิสระ ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด
  • ยังไม่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลหรือประกันสังคม ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ 6 โดย กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม (เงินเยียวยาพึ่งเข้าบัญชี 15 พ.ค. 63) และกลุ่มงานอาชีพอิสระ ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด
  • รายจ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ 2 โดย กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม และกลุ่มงานอาชีพอิสระ ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด
  • หมุนเงินไม่ทัน/ขาดสภาพคล่อง ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ 3 โดย กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม และกลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคม ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด
  • ขาดแคลนอาหารและของใช้จำเป็นในการดำรงชีพ ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ 8 โดย กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนที่มีประกันสังคม และกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด
  • ถูกทวงหนี้จากการเป็นหนี้นอกระบบด้วยการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ 0 โดย กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม และกลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคม ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด
  • การเดินทางในชีวิตประจำวันหรือการขนส่งสินค้า ทำให้เกิดผลกระทบและความลำบาก มีค่าดัชนีเฉลี่ย เท่ากับ 5 โดย กลุ่มอาชีพค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ และงานอาชีพอิสระ ครอบครัวได้รับความลำบากมากที่สุด

ในการวัดระดับความต้องการให้รัฐช่วยเหลือและดำเนินการ ดัชนีชี้วัดมีค่าระหว่าง 0 – 100 โดย 0 คือต้องการน้อยที่สุด และ 100 คือต้องการมากที่สุด รายละเอียดแต่ละประเด็นเป็นดังนี้

 

  • เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (2-5% ต่อปี) วงเงิน 3-5 หมื่นบาท มีค่าดัชนีความต้องการ 8 โดยกลุ่มอาชีพที่ต้องการความช่วยเหลือด้านนี้มากที่สุดคือ กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม และกลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคม
  • เงินกู้เสริมสภาพคล่องธุรกิจดอกเบี้ยต่ำ (2-5% ต่อปี) วงเงิน 1-10 ล้าน มีค่าดัชนีความต้องการ 9 โดยกลุ่มอาชีพที่ต้องการความช่วยเหลือด้านนี้มากที่สุดคือ กลุ่มอาชีพค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ
  • ลดภาษีต่างๆ หรือลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ มีค่าดัชนีความต้องการ 2 โดยทุกกลุ่มอาชีพต้องการอย่างมากให้รัฐดำเนินการในประเด็นนี้ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ
  • จัดหาช่องทางการขายสินค้าและบริการ มีค่าดัชนีความต้องการ 7 โดยทุกกลุ่มอาชีพต้องการอย่างมากให้รัฐดำเนินการในประเด็นนี้ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ
  • จัดหาน้ำเพื่อการเกษตร มีค่าดัชนีความต้องการ 8 โดยทุกกลุ่มอาชีพต้องการอย่างมากให้รัฐดำเนินการในประเด็นนี้ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
  • เร่งจ่ายเงินเยียวยาสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับสิทธิ์ มีค่าดัชนีความต้องการ 3 โดยทุกกลุ่มอาชีพต้องการอย่างมากให้รัฐดำเนินการในประเด็นนี้ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม (เงินเยียวยาพึ่งเข้าบัญชี 15 พ.ค. 63) และกลุ่มอาชีพค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ
  • จัดหางานให้ชั่วคราว มีค่าดัชนีความต้องการ 4 โดยทุกกลุ่มอาชีพต้องการอย่างมากให้รัฐดำเนินการในประเด็นนี้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคม และกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
  • คลายล็อก/อนุญาตให้ทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกห้ามไว้ให้เร็วขึ้น ค่าดัชนีความต้องการ 2 โดยทุกกลุ่มอาชีพต้องการอย่างมากให้รัฐดำเนินการในประเด็นนี้ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ และกลุ่มงานอาชีพอิสระ
  • ตรวจหาการติดเชื้อโควิดแบบเชิงรุก (ฟรีและทั่วถึง) ค่าดัชนีความต้องการ 2 โดยทุกกลุ่มอาชีพต้องการอย่างมากให้รัฐดำเนินการในประเด็นนี้

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังส่งเสียงถึงภาครัฐให้ช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น ช่วยลดค่าน้ำค่าไฟอีก อำนวยความสะดวกเรื่องอุปกรณ์การเรียนให้กับนักเรียนที่เรียนออนไลน์ ควรให้เงินชดเชยตามทะเบียนราษฎร์ทุกคน  ใช้อินเทอร์เน็ตไม่เป็นเลยขอรับเงินเยียวยาไม่ได้ อยากให้ธุรกิจกลับมาเหมือนเดิม เคอร์ฟิวทำให้การขนส่งสินค้าล่าช้ามาก มีมาตรการช่วยเหลือคนที่เคยทำงานกลางคืน ขยายเวลาการพักชำระหนี้   ขายลอตเตอรี่ลำบาก งานรับจ้างลดลงเยอะมากคนหันมาทำเองเยอะขึ้น ถูกลดจำนวนชั่วโมงการทำงานและรายได้ ประกันสังคมจ่ายเงินเยียวยาช้า  เร่งแก้ปัญหาโควิด อยากให้เปิดเรียนปกติแต่มีมาตรการควบคุมการแพร่เชื้อในโรงเรียนด้วย ช่วยลดค่าเทอมและค่าหอพัก อยากให้มีงานรองรับคนตกงาน มีมาตรการช่วยเหลือบัณฑิตจบใหม่ ควบคุมราคาของกินของใช้  สิ่งของใช้จำเป็นเกี่ยวกับการป้องกันเชื้อไวรัสโควิดถูกปั่นราคาให้สูงขึ้นและหาซื้อได้ยาก เป็นต้น

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4.7%  ประกอบด้วยเพศหญิง ร้อยละ 55.3 เพศชายร้อยละ 44.7

อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 9.5 อายุ 26-30 ปี ร้อยละ 17.6 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 26.8 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 30.9 อายุ 51- 60 ปี ร้อยละ 13.2 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 2.0

การศึกษา ประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 14.3 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 19.2  มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 20.7 ระดับอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 11.6 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 32.8 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 1.4

ด้านอาชีพหลัก ราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.2     พนักงานบริษัทเอกชนที่มีประกันสังคม   ร้อยละ 19.6   ค้าขาย/เจ้าของธุรกิจ   ร้อยละ 18.3 งานอาชีพอิสระ ร้อยละ 13.0  ผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคม ร้อยละ  17.4  เกษตรกรรม  ร้อยละ 16.7 และอื่นๆ ร้อยละ 3.8

ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 8.3  รายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 32.0 รายได้ระหว่าง  10,001-15,000 บาท ร้อยละ  29.5 รายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 16.2 รายได้ระหว่าง 20,001-40,000 ร้อยละ 12.4 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไปร้อยละ 1.7

 สาขาเศรษฐกิจ เกษตรกรรม ร้อยละ 17.5 การผลิตสินค้า/อาหาร ร้อยละ 8.7   ค้าปลีก/ค้าส่ง ร้อยละ 19.9 ก่อสร้าง/อสังหาฯ ร้อยละ 10.9  และภาคบริการ ร้อยละ 43.0

หมายเหตุ: นอกเหนือจากผลสำรวจซึ่งนำเสนอข้อมูลตามวิธีทางสถิติแล้วความคิดเห็นอื่นๆ ในผลสำรวจนี้เป็นความเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แสดงความคิดเห็น