คนอีสานไม่เชื่อมั่นศก.ต่อเนื่อง12ไตรมาส เลือกตั้งใหม่ “สุดารัตน์” ทิ้งห่าง “ประยุทธ์”

อีสานโพลสำรวจความเชื่อมั่นเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 2/2563 แย่ลง (ต่ำกว่าร้อย) ต่อเนื่อง 12 ไตรมาส แม้ภาพรวมจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา เพราะหยุดโควิด 19 เผยความต้องการหลักเพิ่มเงินเยียวยาอีก 1 เดือน จัดหางานให้คนตกงาน ลดภาษี เลือกตั้งใหม่เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ “สุดารัตน์” แซงหน้าทิ้งห่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลายช่วงตัว

ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยถึงผลสำรวจ “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 2/2563” พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 2/2563 เท่ากับ 56.0 ซึ่งต่ำกว่า 100 เป็นไตรมาสที่ 12 ติดต่อกัน  และคาดว่าไตรมาสถัดไป (ก.ค. – ก.ย. 63) จะแย่ลงกว่าเดิม

ในส่วนคะแนนด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ 29.6 จากเต็ม 100 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรสมาสก่อนที่ได้ 25.0 จากการที่ประชาชนได้รับเงินเยียวยาและความช่วยเหลืออื่นๆ ขณะที่มาตรการทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้รัฐบาลทำ 3 อันดับแรกคือ จ่ายเงินเยียวยาต่ออีก 1 เดือน จัดหางานให้คนตกงาน และลดภาษีต่างๆ

นอกจากนี้หากมีเลือกตั้งใหม่กลุ่มตัวอย่างอีสานต้องการคุณหญิงสุดารัตน์มาเป็นนายกฯ เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ มากที่สุด ตามมาด้วยพลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชา และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและระดับจังหวัด เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจและคำนวณดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 2/2563 และประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-7 กรกฎาคม  2563 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,107 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

ดัชนีเศรษฐกิจครัวเรือนอีสานรายไตรมาส

ดัชนี ไตรมาส

1/2562

ไตรมาส

2/2562

ไตรมาส

3/2562

ไตรมาส

4/2562

ไตรมาส

1/2563

ไตรมาส

2/2563

1) ดัชนีเศรษฐกิจและการค้าของอีสาน 95.7 70.8 73.7 78.3 35.3 46.1
2) ดัชนีรายได้ครัวเรือน 88.1 76.9 78 83.2 53.4 53.1
3) ดัชนีสภาพคล่องการเงินครัวเรือน 83.5 73.8 77.6 81.2 40.4 51.4
4) ดัชนีการใช้จ่ายเพื่ออุปโภค

และบริโภคของครัวเรือน

100.8 83.8 87.9 88.2 67.1 73.3
5) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ต่อภาวะเศรษฐกิจอีสาน

91.9 76.4 80 82.7 49.1 56.0

เมื่อสอบถามเกี่ยวกับ เศรษฐกิจและการค้าของจังหวัด รายได้ครัวเรือน สภาพคล่องการเงินครัวเรือน และการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคของครัวเรือน และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งมีค่าระหว่าง 0 – 200  โดยถ้าค่าดัชนี ต่ำกว่า 100 คือ แย่ลง/ลดลง เท่ากับ 100 คือ ทรงตัว/เท่าๆเดิม และมากกว่า 100 คือ ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานรายไตรมาส

100 = ทรงตัว

หมายเหตุ: ถ้าค่าดัชนีต่ำกว่า 100 คือ แย่ลง/ลดลง เท่ากับ 100 คือ ทรงตัว และมากกว่า 100 คือ ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น

  • 1) ดัชนีเศรษฐกิจและการค้าของอีสานไตรมาส 2/2563 เท่ากับ 46.1 หมายความว่า เศรษฐกิจและการค้าของอีสาน แย่ลงจากไตรมาสที่แล้วประมาณครึ่งหนึ่ง
  • 2) ดัชนีรายได้ครัวเรือนไตรมาส 2/2563 เท่ากับ 1 หมายความว่า รายได้ครัวเรือน ลดลงจากไตรมาสที่แล้วประมาณครึ่งหนึ่ง
  • 3) ดัชนีสภาพคล่องการเงินครัวเรือนไตรมาส 2/2563 เท่ากับ 4 หมายความว่า สภาพคล่องการเงินครัวเรือน แย่ลงจากไตรมาสที่แล้วประมาณครึ่งหนึ่ง
  • 4) ดัชนีการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคของครัวเรือนไตรมาส 2/2563 เท่ากับ 3 หมายความว่า การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคของครัวเรือน ลดลงจากไตรมาสที่แล้วประมาณ 1 ใน 4
  • 5) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 2/2563 เท่ากับ 0หมายความว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานลดลงจากไตรมาสที่แล้วเกือบครึ่งหนึ่ง
  • 6) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานคาดการณ์ไตรมาส 3/2563 เท่ากับ 3 (ต่ำกว่า 100) หมายความว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสาน 3/2563 จะมีแนวโน้มแย่ลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563

เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ได้คะแนน 29.6 เต็ม 100 ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจในไตรมาสที่แล้วซึ่งได้คะแนน 25.0 ทั้งนี้จากการที่ประชาชนได้รับเงินเยียวยาจากผลกระทบโควิดและมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ขณะที่ผลงานโดยรวมของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาได้คะแนนเพิ่มเป็น 30.6 เต็ม 100 เมื่อเทียบกับการสำรวจในไตรมาสที่แล้วซึ่งได้คะแนน 25.2 จากการที่รัฐสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิดได้

 คะแนนผลงานรัฐบาลรายไตรมาส

ผลงานรัฐบาล ไตรมาส

3/2561

ไตรมาส

4/2561

ไตรมาส

1/2562

ไตรมาส

2/2562

ไตรมาส

3/2562

ไตรมาส4/2562 ไตรมาส

1/2563

ไตรมาส

2/2563

1) ด้านเศรษฐกิจ 32.9 39.1 39.8 36.5 36.9 33.5 25.0 29.6
2) ทุกด้านโดยรวม 37.4 39.2 40.5 35.7 35.7 34.1 25.2 30.6

หมายเหตุ: คะแนนเต็ม 100

เมื่อสอบถามต่อว่า “มาตรการทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้รัฐบาลทำมากที่สุด” พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 29.2 ต้องการให้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาต่ออีก 1 เดือน รองลงมา ร้อยละ 19.0 จัดหางานให้คนตกงาน ตามมาด้วย ร้อยละ 15.5  ขอให้ลดภาษีต่างๆ  ร้อยละ 10.4 ต้องการให้ขยายเวลาพักชำระหนี้ ร้อยละ 7.1 ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีก ร้อยละ 6.5 ต้องการแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 4.7 ขอให้ช่วย SME และภาคท่องเที่ยว  ร้อยละ 3.5 ต้องการงานก่อสร้างตามชุมชน ร้อยละ 2.4 ขอให้ช่วยแก้หนี้นอกระบบ  และร้อยละ 1.7 ต้องการให้มีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่

 

มาตรการทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้รัฐบาลทำมากที่สุด

และสุดท้ายเมื่อสอบถามว่า  “ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกฯ เพื่อมากอบกู้เศรษฐกิจประเทศ” (เป็นคำถามแบบมีตัวเลือก) พบว่า อันดับหนึ่ง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 47.0 รองลงมาพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 17.0 ตามมาด้วยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 16.1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 4.7 นายอนุทิน ชาญวีรกุล ร้อยละ 4.6 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ร้อยละ 3.0 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร้อยละ 1.8 นายกรณ์ จติกวนิช ร้อยละ 0.7 และความเห็นอื่นๆ ร้อยละ 5.1

 

ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกฯ เพื่อมากอบกู้เศรษฐกิจประเทศ

 

 

 

แสดงความคิดเห็น