ทน.ขอนแก่นชูแอพฯ‘ฮี่โร่’เสริมระบบดูแลเด็กมีปัญหาการเรียน

ทน.ขอนแก่น  ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลเด็กนักเรียนประถมศึกษาที่มีปัญหาการเรียน หรือมีพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวนประมาณ 440 คน โดยพัฒนาแอพพลิเคชั่น “ฮีโร่” เป็นช่องทางให้คําปรึกษาเชื่อมต่อการดูแลร่วมกันระหวางครู -หมอ-พ่อแม่ ผลลัพท์ มีการคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยงมารับบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเป็น 140 คน  ภายในเวลา 10 เดือน 
พร้อมผลักดันเป็นต้นแบบเร่งขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนาระบบการดูแลเด็กที่มีปัญหาการเรียนโดย ครู-หมอ-พ่อแม่ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประจำปี 2563 โดยมี นายมานพ ช่องตะคุ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา นายวรวุฒิ อันปัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านโนน นายยุทธศักดิ์ ไชยสีหา ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลโนนหนองวัด และครูระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 300 คน โดยได้รับเกียรติจาก นพ. ชาญณรงค์ ชัยอุดมสม รองผู้อำนวยการภารกิจบริการสุขภาพจิตและจิตเวช สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียง เป็นวิทยากร
ด้วยสถาบันสุขภาพจิตเด็กละวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงพยาบาลขอนแก่นและสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น ได้ร่วมมือกันจัดโครงการพัฒนาระบบการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการเรียนโดยครู-หมอ-พ่อแม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 และในปี 2562 มีการจัดอบรมโปรแกรมเสริมพลังครูและผู้ปกครองเพื่อการปรับพฤติกรรมเด็กวัยเรียน (School and Family Empowerment for Behavioral Modification : SAFE B-MOD) ให้แก่ครูระดับชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนของเทศบาลนครขอนแก่น จำนวนประมาณ 325 คน ผลลัพธ์ คือ มีการคัดกรอง พบเด็กกลุ่มเสี่ยง 440 คน และมีเด็กกลุ่มเสี่ยงมารับบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเป็น 140 คน (ร้อยละ 21.9) ภายในเวลา 10 เดือน
และในปี 2563 สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงพยาบาลขอนแก่น และสำนักการศึกษาทศบาลนครขอนแก่น ได้ร่วมมือกันจัดโครงการพัฒนาระบบการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการเรียนโดยครู-หมอ-พ่อแม่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2563 โดยมีการคัดกรอง การให้คำปรึกษา และการส่งต่อ ผ่านระบบ Application HERO เพื่อให้ครูและผู้ปกครองเข้าถึงบริการสุขภาพจิตเด็กได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำเด็กมาโรงพยาบาล เป็นการเชื่อมต่อบริการ จากการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเด็กสู่การให้คำปรึกษาและดูแลรักษาเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมผ่าน Application HERO โดยมุ่งหวังให้เด็กกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงบริการได้มากขึ้นและเป็นต้นแบบในการขยายผลไปใช้ต่อในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 

แสดงความคิดเห็น