“จักร์กฤษ เพิ่มพูล” โพสต์ความจริงไม่ตาย!! ชี้ คกก.ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบความร่วมมือช่วย “บอส กระทิงแดง” อย่างเป็นระบบในกระบวนการยุติธรรม ทนายความ ตำรวจ อัยการ และพยาน ระบุผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมรับผลกรรม
รายงานข่าวแจ้งว่าวันที่ 2 ก.ย. 63 เฟสบุ๊กส่วนตัวของ นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล คณะกรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ด้านกิจการสื่อสารมวลชน โพสต์ข้อความว่า บทสรุป รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีศาลสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ใน ความสนใจของประชาชน (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “คณะกรรมการ”) ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญากับนายวรยุทธ อยู่วิทยา (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้ต้องหา”) แล้ว พบว่า มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรง ตาแหน่งทางการเมือง ทนายความ พยาน และบุคคลทั่วไป ในการเข้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมมา อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการดำเนินคดีจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย ใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ใช้อิทธิพลบังคับ และการสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นจาก การถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ในชั้นการสอบสวน จากหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่แสดงปริมาณแอลกอฮอล์ ในกระแสเลือดและบ่งชี้สารเสพติดในร่างกาย รายงานการตรวจพิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับความเร็วของรถ ในขณะเกิดเหตุ ตลอดจนความพยายามอย่างต่อเนื่องในการช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นจาก การถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย คณะกรรมการเชื่อว่าผู้ต้องหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ดาบตารวจ วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผู้บังคับหมู่งานปราบปราม สถานีตารวจนครบาลทองหล่อ ถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 3 กันยายน 55
การที่ผู้ต้องหาไม่หยุดรถในทันทีหลังจากชนผู้ตาย แต่กลับพาร่างผู้ตาย ไปไกลกว่าหกสิบเมตรและลากรถจักรยานยนต์ของผู้ตายไปไกลกว่าหนึ่งร้อยหกสิบเมตร ทำให้เกิด ข้อสงสัยว่าผู้ต้องหาน่าจะกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล เพราะวิสัยวิญญูชนเมื่อขับรถชน คนหรือสิ่งใดแล้วย่อมต้องหยุดรถทันทีเพื่อตรวจสอบความเสียหายหรือให้ความช่วยเหลือ แต่ผู้ต้องหา หาทำเช่นนั้นไม่
ความพยายามในการช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นจากการถูกดาเนินคดีเกิดขึ้นทันทีภายหลัง จ า ก เ กิ ด เ ห ตุ โ ด ย ส า รวัตร ปร า บป รา ม ส ถ า นี ต า ร ว จน ค รบ าล ท อ งห ล่อ ไ ด้ ส ร้ า ง พ ย า น หลัก ฐ าน เ ท็ จ โ ด ยก า รนำตัว ลูกจ้างของครอบครัวอยู่วิทยามามอบตัวรับสมอ้างว่าเป็นผู้ขับรถ แม้ต่อมาในวันเดียวกันผู้ต้องหายอมจำนนมา มอบตัวต่อพนักงานสอบสวนกลับให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดของผู้ตาย
และผู้ต้องหาพึ่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว ข้ออ้างอันเป็นเท็จนี้เป็นเหตุ ให้พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาอันเป็นเท็จและไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อผู้ตายซึ่งตายในทันทีหลังจากถูกชนว่า เป็นผู้ต้องหาร่วม ทั้งที่การตั้งข้อหาจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีชีวิตอยู่และได้แจ้งข้อหาให้แก่ผู้นั้น อันน่าเชื่อ ว่าการตั้งข้อหาอันเป็นเท็จและไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เกิดจากการวางแผนของพนักงานสอบสวน และทีมทนายความของผู้ต้องหา โดยกล่าวหาผู้ตายว่าประมาทด้วยเพื่อทำให้รูปคดีเอื้อประโยชน์ ต่อการช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาพ้นผิด
แม้ว่าในเวลาต่อมา พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาผู้ต้องหาจำนวน 5 ข้อหา ได้แก่ ข้อหาขับรถ ขณะมึนเมาสุรา ข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ข้อหาขับรถโดยประมาททำให้ทรัพย์สินของผู้อื่น เสียหาย ข้อหาขับรถแล้วไม่หยุดให้ความช่วยเหลือและไม่แจ้งเจ้าพนักงาน ข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
แต่กลับไม่ตั้งข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษทั้งที่มีการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์พบสาร แปลกปลอมในร่างกายของผู้ต้องหาที่เชื่อมโยงกับการเสพโคเคนและการดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ ในข้อหา ขับรถขณะเมาสุราพนักงานสอบสวนก็ได้รับฟังความเห็นของพยานฝ่ายผู้ต้องหาซึ่งขัดแย้งกับผลการตรวจ ทางนิติวิทยาศาสตร์มาเป็นเหตุผลในการสั่งไม่ฟ้องคดี พฤติการณ์ดังกล่าวนี้น่าเชื่อว่าเป็นความพยายาม ในการช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา และทำให้รูปคดีเอื้อประโยชน์ต่อ การช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาพ้นผิด
ในคดีนี้ ได้มีการสอบสวนคดีจนเสร็จสิ้นและมีความเห็นทางคดีในวันที่ 1 มี.ค. 56 และได้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาให้กับพนักงานอัยการในวันที่ 4 มี.ค. 56 จึงเป็นการส่ง สำนวนการสอบสวนที่ล่าช้าเกินกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่มีการนำตัว ผู้ต้องหาไปฝากขังต่อศาลก่อนครบกำหนดปล่อยตัวชั่วคราว
ในชั้นการพิจารณาของพนักงานอัยการ คณะกรรมการพบว่า ระบบการร้องขอ ความเป็นธรรมภายใต้ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 เปิดช่องให้ฝ่ายผู้ต้องหาใช้เป็นเครื่องมือในการประวิงคดีโดยผู้ต้องหาไม่ต้องยืนคำร้อง ด้วยตนเองและทำให้คดีขาดอายุความ รวมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานอัยการพิจารณาการร้องขอ ความเป็นธรรมจากผู้ต้องหาได้อย่างไม่มีข้อจากัดในเหตุและจำนวนครั้ง ทั้งยังอนุญาตให้มีการกลับความเห็น หรือคำสั่งฟ้องในคดีอาญาซึ่งสั่งไปแล้วได้
ในคดีนี้ การร้องขอความเป็นธรรมตามระเบียบดังกล่าวจึงถูกใช้เป็นกลไกในการประวิงคดี และเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องรับโทษตามกฎหมายโดยความร่วมมือของผู้ต้องหา ทีมทนายความ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลทั่วไป โดยปรากฏว่า มีการยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการเป็นจำนวน ถึง 14 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 56 ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 56 ครั้งที่สาม เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 56 ครั้งที่สี่เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 57 ครั้งที่ห้าเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 57 ครั้งที่หกเมื่อวันที่ 24 มิ.ย 57 ครั้งที่เจ็ดเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 57 ครั้งที่แปดเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 58 ครั้งที่เก้าเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 59 ครั้งที่สิบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 59 ครั้งที่ สิบเอ็ดเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 59 ครั้งที่สิบสองเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 60 ครั้งที่สิบสามเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 61 และครั้งที่สิบสีjเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 62 โดยตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่สิบสามอัยการสูงสุด หรือรองอัยการสูงสุดที่มีอำนาจสั่งคดีร้องขอความเป็นธรรมในแต่ละครั้งได้สั่งยุติการร้องขอความเป็นธรรม
4.หลังจากที่ได้มีการสั่งให้มีการสอบสวนเพิ่มเติม และได้มีการดำเนินการสอบสวนและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน อย่างรอบคอบ การร้องขอความเป็นธรรมกลับเป็นผลสำเร็จในการร้องขอครั้งที่สิบสี่จาก การพิจารณาเพียงพยานหลักฐานเดิมที่ได้เคยมีการพิจารณาไปแล้วและเห็นว่ามีพิรุธและไม่น่าเชื่อถือ ในการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมในหลายครั้งก่อนหน้า โดยเฉพาะอัยการสูงสุด รวมถึงรองอัยการ สูงสุดหลายคน ได้พิจารณาพยานหลักฐานชุดนี้แล้ว และมีคำสั่งให้ยุติเรื่องไปก่อนหน้านั้นหลายครั้งหลายครา
การร่วมมือกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทนายความ พยาน และบุคคลทั่วไปในการแทรกแซงกระบวนการ ยุติธรรมในคดีนี้ ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนว่า มีบุคคลจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันจัดให้รองศาสตราจารย์ ส. ได้พบกับพันตารวจโท ธ. เพื่อนำเสนอวิธีการคำนวณความเร็วใหม่และมีการสอบปากคำพันตารวจโท ธ. ภายใต้การกำกับของพนักงานอัยการไม่ทราบชื่อเพื่อจัดหาพยานหลักฐานเท็จ โดยแก้ไขวันที่สอบปากคาให้ เป็นวันที่ 26 ก.ค. 59 และวันที่ 2 มี.ค. 59 สำหรับใช้ในการร้องขอความเป็นธรรม ต่อพนักงานอัยการและต่อคณะกรรมาธิการในเวลาต่อมา โดยการกดดันหรือใช้อิทธิพลบังคับ ให้พันตารวจโท ธ. ให้การเปลี่ยนความเห็นในเรื่องความเร็วของรถผู้ต้องหาในขณะที่ชนผู้ตาย จาก 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามที่ปรากฏในรายงานการพิสูจน์หลักฐานครั้งแรกเป็นความเร็วที่ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องกับผลการคำนวณความเร็วรถของรองศาสตราจารย์ ส. ซึ่งได้มีการตระเตรียมกันไว้ล่วงหน้า โดยไม่ให้โอกาสพันตารวจโท ธ. ตรวจสอบวิธีการคำนวณความเร็วรถของ รองศาสตราจารย์ ส. อย่างรอบคอบ
แม้ว่าในเวลาต่อมาพันตำรวจโท ธ. จะพยายามขอยกเลิกคำให้การ ภายหลังจากที่ได้ทำการตรวจสอบอย่างรอบคอบจนพบความผิดพลาดของวิธีการคำนวณความเร็วรถของ รองศาสตราจารย์ ส. แต่ได้รับการปฏิเสธจากพันตำรวจโท ว. โดยอ้างว่าพนักงานสอบสวนส่งสำนวนคดี ให้พนักงานอัยการพิจารณาแล้ว อนึ่ง การลงวันที่อันเป็นเท็จดังกล่าวน่าเชื่อว่าเป็นไปเพื่อกันบุคคลบางคน ให้ออกจากเรื่องนี้ และเพื่อให้การคำนวณความเร็วรถใหม่ใช้เวลาตามควรเพื่อให้น่าเชื่อถือ การร่วมมือระหว่าง ทนายความ ผู้ต้องหา ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการดังกล่าว ย่อมทำให้ การสอบสวนเป็นการสอบสวนที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้ง
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการใช้พยานหลักฐานเท็จในการร้องขอความเป็นธรรม ยังไม่ประสบความสาเร็จ ผู้ต้องหา ทีมทนายความ และกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ต้องหามิให้ต้องรับโทษ ได้ใช้อิทธิพลทางการเมืองกดดันกระบวนการยุติธรรม โดยการร้องขอความเป็นธรรม เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 59 กับคณะกรรมาธิการที่ประกอบด้วยข้าราชการ ทหาร ตารวจระดับสูง เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงในกระบวนการยุติธรรม โดยเมื่อวันที่ 16 ธค. 59 กรรมาธิการบางคนได้ให้ ความเห็นและอ้างพยานหลักฐานเท็จเกี่ยวกับความเร็วรถของผู้ต้องหาที่ตนมีส่วนจัดให้มีการจัดทำขึ้น เพื่อสนับสนุนการร้องขอความเป็นธรรมให้กับผู้ต้องหา ความพยายามนี้สอดรับกับแนวทางการทำงานและ ผลสรุปของคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมและมี กรรมาธิการบางคนเป็นประธานคณะทำงาน แม้ว่ากรรมาธิการหลายคนไม่ประสงค์ให้คณะกรรมาธิการ ดำเนินการในลักษณะที่ก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่และใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมก็ตาม แต่กรรมาธิการผู้นั้นได้ไปเป็นพยานและให้ปากคาสนับสนุนข้ออ้างของผู้ต้องหาในการสอบสวนเพิ่มเติม ต่อพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 61 ด้วย
แม้ว่าการร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการจะไม่ประสบความสาเร็จ ในช่วง 13 ครั้งแรก ฝ่ายผู้ต้องหาก็ยังไม่ลดละความพยายามในการร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการ โดยใช้พยานหลักฐานเท็จอีก โดยเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 62 ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากผู้ต้องหาได้ยื่น ร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ขอให้สอบปากคาเพิ่มเติม พลอากาศโท จ. หรือนาย จ. ในประเด็น ความเร็วของรถในขณะที่ผู้ต้องหาขับขี่รถยนต์ว่าขับขี่ด้วยความเร็วเท่าใดและในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาร้องขอความเป็นธรรมโดยพนักงานอัยการตามลำดับชั้นนั้นน อัยการอาวุโส สำนักอัยการ พิเศษฝ่ายคดีร้องขอความเป็นธรรม 2 ทำความเห็นให้มีการสอบเพิ่มเติม พลอากาศโท จ. นาย จ. พันตำรวจโท ธ. รองศาสตราจารย์ ส. รวมทั้งให้พิจารณารายงานการประชุมคณะกรรมาธิการ ครั้งที่ 47/2559 ในขณะที่อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานกิจการอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการในหน้าที่ อัยการพิเศษฝ่ายคดีร้องขอความเป็นธรรม 2 ทำความเห็นให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากเห็นว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องขอความเป็นธรรมเสนอไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงความเห็น และคำสั่งเดิมได้
ประกอบกับการที่ผู้ต้องหาเคยร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาหลายครั้งอาจเชื่อได้ว่า เป็นการประวิงคดีและผู้ต้องหาซึ่งอยู่ระหว่างการหลบหนีคดีมิได้มาร้องขอความเป็นธรรมด้วยตัวเอง ความเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนโดยอัยการพิเศษฝ่าย สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว รักษาการในตำแหน่ง รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุด อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีกิจการอัยการ สูงสุด รักษาการในตำแหน่งอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุด กลับมีความเห็นคล้อยตาม กับความเห็นของอัยการผู้ทำความเห็นชั้นต้น
นาย น. อธิบดีอัยการ สานักงานคดีศาลสูง รักษาการในตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ปฏิบัติ ราชการแทนอัยการสูงสุด มีความเห็นเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 62 ให้มีการสอบพยานเพิ่มเติม โดยเจาะจงให้มีการสอบเพิ่มเติมเฉพาะพลอากาศโท จ. และนาย จ. เท่านั้น ซึ่งพยานทั้งสองปากนี้เคยถูกสอบ ไปแล้วในการร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งก่อนหน้า โดยที่ผู้พิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมในแต่ละครั้ง อันได้แก่รองอัยการสูงสุดหรืออัยการสูงสุดได้เคยพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าเป็นพยานหลักฐานที่มีพิรุธและ ไม่น่าเชื่อถือ ภายหลังที่อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ได้มีการสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการ สอบปากคาเพิ่มตามคาสั่งของนาย น. และนาย น. ในฐานะรองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด มีคาสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นข้อหาเดียวที่เหลืออยู่ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓
คณะกรรมการเห็นว่า การใช้อำนาจในการสั่งคดีร้องขอความเป็นธรรม และต่อมา การสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีอาญาของนาย น. ในฐานะรองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด เป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและน่าเชื่อว่ามีเจตนาช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องรับโทษ เพราะเหตุของการเจาะจงให้มีการสอบเพิ่มเติมและรับฟังเฉพาะพลอากาศโท จ. และ นาย จ. ซึ่งเป็นพยานเคยถูกสอบไปแล้วในการร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งก่อนหน้า มิใช่พยานหลักฐาน ใหม่แต่อย่างใด
นอกจากนั้น ผู้พิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมในแต่ละครั้งอันได้แก่ รองอัยการสูงสุดหรือ อัยการสูงสุดได้เคยพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าเป็นพยานหลักฐานที่มีพิรุธและไม่น่าเชื่อถือ และนาย น. เชื่อคำพยานพลอากาศโท จ. เพียงเพราะเป็นข้าราชการระดับสูง แต่กลับไม่เชื่อเหตุผลและดุลพินิจ ของอดีตอัยการสูงสุดและรองอัยการสูงสุดที่สั่งให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรมในทุกครั้งก่อนหน้า อีกทั้งไม่ได้นำความเห็นและเหตุผลของพนักงานอัยการผู้ทำความเห็นชั้นต้นที่เสนอให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรม ที่สอดคล้องกับเหตุผลการยุติความเป็นธรรมทั้งสิบสามครั้งก่อนหน้าการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องของนาย น. จึงอยู่ บนพยานหลักฐานเก่าที่ได้มีการพิจารณามาแล้วหลายครั้ง เป็นการกลับดุลพินิจอันเป็นความเห็น ของอดีตผู้บังคับบัญชาและอดีตรองอัยการสูงสุดซึ่ทำหน้าที่มาก่อนตนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ดังนัย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2559 ซึ่งวินิจฉัยว่า การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการต้องอยู่บนรากฐานและ อยู่ในกรอบของความสมเหตุสมผล ถึงแม้ว่าพนักงานอัยการจะมีอิสระในการใช้ดุลพินิจเพื่อใช้ในการชั่งน้าหนัก พยานหลักฐาน กลั่นกรองคดี แต่ย่อมเป็นความมีอิสระที่มีกรอบของความชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตของความสมเหตุสมผล เป็นเหตุผลที่สามารถชี้แจงได้
นอกจากนี้ แม้นาย น. จะได้รับมอบอานาจจากอัยการสูงสุดให้ปฏิบัติราชการแทนอัยการ สูงสุดในการสั่งคดีร้องขอความเป็นธรรม แต่ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร อัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 และข้อ 7 ของระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการรักษา ราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน การรักษาการแทนในตาแหน่งของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2554 อัยการสูงสุดในฐานะผู้มอบอานาจจะต้องกากับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอานาจ และให้มี อานาจแนะนาและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอานาจได้ แม้อัยการสูงสุดจะอ้างว่าการมอบอานาจ ให้นาย น. เป็นการมอบอานาจขาด และได้ทราบเรื่องการสั่งไม่ฟ้องคดีของนาย น. จากการรายงานของ สื่อมวลชน แต่อัยการสูงสุดในฐานะผู้มอบอำนาจไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในการกากับ การปฏิบัติหน้าที่ของนาย น. รองอัยการสูงสุดผู้รับมอบอานาจได้ การอ้างความไม่รู้ไม่เป็นข้อแก้ตัว และไม่น่าเชื่อถือ เหตุเพราะการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาอยู่ในความสนใจของประชาชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และมีการร้องขอความเป็นธรรมมาแล้วถึง 14 ครั้ง และในการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 56 อัยการสูงสุดในขณะนั้นได้เรียกสำนวนคดีร้องขอความเป็นธรรมและสานวน คดีอาญามาพิจารณาสั่งการด้วยตนเองเพราะเห็นว่าคดีอยู่ในความสนใจของสาธารณชนและการพิจารณา อาจจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อองค์กร โดยมีคำสั่งให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรม ในท้ายที่สุด
คณะกรรมการเห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ช่วยผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ ปฏิบัติราชการ แทนผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติในการสั่งไม่แย้งคาสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการมีความบกพร่อง เนื่องจาก ไม่พิจารณาคาสั่งไม่ฟ้องของนาย น. ด้วยความรอบคอบ การอ้างว่าการออกคาสั่งเกิดจากการพิจารณาสั่งการ ตามความเห็นของเจ้าพนักงานตารวจตามลาดับชั้นและเข้าใจว่าเป็นการสั่งคดีความผิดเกี่ยวกับจราจรธรรมดา ทั่วไปนั้น เป็นข้ออ้างที่คณะกรรมการเห็นว่าฟังไม่ขึ้น ในขณะที่ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติก็ไม่อาจปฏิเสธ ความรับผิดชอบในฐานะผู้มอบอานาจ ซึ่งมีหน้าที่ต้องกากับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอานาจ และให้มีอานาจแนะนาและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอานาจ ตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติ ตารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 การมอบอานาจของผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติโดยมิได้มีการกากับดูแลติดตาม ผลการปฏิบัติราชการในคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนเช่นนี้ เป็นความบกพร่องที่ทาให้เกิดผลเสียหาย แก่การบริหารราชการแผ่นดิน และกระทบต่อความศรัทธาขององค์กร
อนึ่ง เมื่อมีการออกหมายจับผู้ต้องหา ผู้บังคับการกองการต่างประเทศได้แจ้งให้ตำรวจสากล ทราบถึงหมายจับผู้ต้องหาเพื่อนาตัวผู้ต้องหามาดาเนินคดี แต่ปรากฏว่าหลังจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนั้น บุคคลดังกล่าวได้ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ประจำกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 น่าเชื่อว่า เป็นการโยกย้ายที่มีความไม่ปกติอันสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง
ในคดีนี้ คณะกรรมการพบว่า ทนายความของผู้ต้องหามีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดผลของ การสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา โดยได้ไปพบกับ รองศาสตราจารย์ ส. พร้อมกับนาย ช. เพื่อขอให้มีการคำนวณความเร็ว รถของผู้ต้องหาใหม่ และยังได้อยู่ร่วมในการจัดให้มีการสอบปากคาพันตารวจโท ธ.เพื่อเปลี่ยนคำให้การเรื่อง ความเร็วรถด้วย หลังจากนั้น ทนายความของผู้ต้องหาได้รับมอบอานาจเพื่อร้องขอความเป็นธรรมต่อพนักงาน อัยการและคณะกรรมาธิการเรื่อยมา จนกระทั่งนาย น. มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีผู้ต้องหาในการร้องขอความเป็นธรรม ครั้งสุดท้าย
สำหรับนาย จ. ซึ่งเป็นพยานปากสาคัญที่ได้ให้การว่า ผู้ต้องหาขับรถด้วยความเร็ว โดยประมาณ 50 ถึง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้น คณะกรรมการพบว่า ได้รับการอุปการะจากนาย ช.นอกจากนี้ หลังจากที่นาย จ. ถึงแก่ความตายอย่างกระทันหันภายหลังที่ได้มีชื่อปรากฏในข่าว พบว่าโทรศัพท์มือถือของ นาย จ. ถูกทำลาย
จากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทั้งปวง คณะกรรมการเห็นว่า การตั้งข้อหา การสอบสวน การร้องขอความเป็นธรรม การกลับคาสั่งฟ้องเป็นสั่งไม่ฟ้อง การไม่แย้งคาสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ เป็นขบวนการดาเนินคดีที่เชื่อได้ว่ามีการร่วมมือสมคบคิดกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการ ยุติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทนายความ พยาน และบุคคลทั่วไป รวมทั้งมี การสมยอมกันโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากความรับผิดในทางอาญาทั้งในชั้นพนักงาน สอบสวนและในชั้นพนักงานอัยการ กระบวนการทั้งสิ้นนี้จึงมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามแนว คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 646-647/2510 คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 6446/2547 และคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 9334/2538 ที่ได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานแล้ว คณะกรรมการจึงมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้
1. ต้องเริ่มกระบวนการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้องในข้อหาที่ยังไม่ขาดอายุความ โดยเฉพาะ ข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษ ข้อหาขับขี่รถในขณะเมาสุราและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ข้อหากระทาโดย ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
2. จะต้องมีการดาเนินการทางวินัยและทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่น ที่ร่วมในขบวนการนี้ กล่าวคือ
2.1 พนักงานสอบสวนซึ่งเกี่ยวข้องกับสำนวน
2.2 พนักงานอัยการซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
2.3 ผู้บังคับบัญชาซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
2.4 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
2.5 ผู้ดำรงตาแหน่งทางการเมืองซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
2.6 ทนายความซึ่งกระทำผิดกฎหมาย
2.7 พยานซึ่งให้การเป็นเท็จ
2.8 ตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนในการกระทาผิดกฎหมายดังกล่าว
ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่า พันตำรวจเอก ธ. และรองศาสตราจารย์ ส. ได้สมัครใจให้ข้อมูลที่ เป็นประโยชน์โดยเฉพาะพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ จึงสมควรกันไว้เป็นพยานและให้ความคุ้มครอง พยานในการดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลตามข้อ 2.1 ถึง 2.8
3. จะต้องมีการดำเนินการทางจริยธรรม จรรยาบรรณ มรรยาท โดยหน่วยงานหรือองค์กรวิ ชาชีพที่เกี่ยวข้องต่อบุคคลดังกล่าวตามข้อ 2.1 ถึง 2.8 อย่างจริงจังและเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ เป็นการทั่วไป เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง
4. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มอบอำนาจต้องกำกับ ดูแล แก้ไข เปลี่ยนแปลง การปฏิบัติหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจให้ถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม หากผู้บังคับบัญชา ละเลยให้ถือว่าเป็นผู้บกพร่องต่อหน้าที่
5. เนื่องจากคณะกรรมการจะพิจารณาเรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมโดยละเอียด ต่อไป ในชั้นนี้ คณะกรรมการเห็นว่าสมควรเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมาย และระเบียบในประเด็นต่อไปนี้ อย่างเร่งด่วน
5.1 แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสานักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดาเนินคดีอาญา ของพนักงานอัยการฯ ในเรื่องการร้องขอความเป็นธรรม โดยกาหนดให้การร้องขอความเป็นธรรม ผู้เสียหาย หรือผู้ต้องหาต้องมาร้องด้วยตนเอง การร้องขอความเป็นธรรมจะต้องระบุเหตุและพยานหลักฐานให้ครบถ้วน การร้องขอความเป็นธรรมเกินกว่าหนึ่งครั้งจะกระทำได้ต่อเมื่อมีพยานหลักฐานใหม่ที่ไม่เคยนาเสนอมาก่อน
5.2 แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอัยการ ว่าด้วยการมอบอำนาจ โดยกำหนดให้ การมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุดพิจารณาเรื่องขอความเป็นธรรมและการมอบอำนาจในการสั่งไม่ฟ้องต้อง เป็นการมอบให้แก่รองอัยการสูงสุดต่างคนกัน และไม่ว่าจะสั่งยุติเรื่องหรือสั่งให้ความเป็นธรรมตามการร้องขอ อธิบดีอัยการหรือรองอัยการสูงสุดผู้มีอำนาจต้องรายงานให้อัยการสูงสุดทราบทุกกรณี
5.3 วางระเบียบในการมอบอำนาจของผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ ให้เป็นไป ตามมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติตารวจแห่งชาติฯ และในกรณีที่สั่งไม่ฟ้องตามความเห็นของพนักงาน อัยการ ให้รายงานต่อผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติทราบทุกครั้ง
5.4 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องอายุความ ในทำนองเดียว กับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตาแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 กล่าวคือ ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีในระหว่างถูกดำเนินคดีอาญา และให้ฟ้องคดีโดยไม่ต้อง มีตัวผู้ต้องหาได้และมิให้นับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ
อนึ่ง เนื่องจากการดำเนินการของคณะกรรมการมีระยะเวลาทีจำกัด ประกอบกับ มีพยานหลักฐานซึ่เป็นพยานบุคคลและพยานเอกสารเป็นจานวนมาก จึงเห็นควรที่จะเสนอนายกรัฐมนตรี พิจารณาสั่งการให้ส่งเรื่องนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการ ป.ป.ช.คณะกรรมการ ป.ป.ท. คณะกรรมการ ป.ป.ง. คณะกรรมการอัยการ คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ สภาทนายความ เพื่อให้ ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป กับเห็นสมควรดำเนินการให้คดีอาญาในเรื่องนี้เป็นคดีพิเศษตาม กฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ