คณะอนุกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู จัดประชุมพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา เร่งหาแหล่งทุน-ช่วยแก้หนี้สินครูทั่วประเทศ
ดร.เพิ่ม หลวงแก้ว โฆษกคณะอนุกรรมาธิการฯเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐-๑๕.๐๐ น. ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ในคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อ พิจารณาแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาและแนวทางการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและ บุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร ที่ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ ห้อง ๔๐๓ ชั้น 4 อาคารรัฐสภา โดยมี ดร.ปรีดา บุญเพลิง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้า พรรคครูไทยเพื่อประชาชน เป็นประธานที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการ
ดร.ปรีดา บุญเพลิง ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ เป็นการ ประชุมครั้งที่ ๒ ต่อจากการประชุมครั้งที่แล้ว ซึ่งได้แบ่งคณะอนุกรรมาธิการออกเป็น ๓ คณะ ได้ ไปศึกษาหาสาเหตุที่มาของหนี้ ศึกษาสภาพหนี้ และแนวทางแก้ไขหนี้สินครู เพื่อนําเสนอในที่ ประชุมและแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมในข้อมูลให้สมบูรณ์ ชัดเจนยิ่งขึ้น วันนี้จึงได้ข้อสรุปและแนว ทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ดังนี้
การดําเนินการขับเคลื่อนและแนวทางแก้ไข ภายใต้หลักการโดย ๑.รวมภาระหนี้สิน เพื่อเตรียมปรับโครงสร้างหนี้ของครูแต่ละคน ๑.๒ ต้องไม่เพิ่มภาระหนี้สิน ๑.๓ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ครูมีเงินเดือนเหลือพอเพียงต่อการดํารงชีวิตประจําวัน ๑.๔ การมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ ของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์อย่างเป็นระบบ ๑.๕ จัดหาทุนสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยต่ํา โดยรัฐสนับสนุนทุกกระบวนการ ๑.๖ ใช้กระบวนการของสหกรณ์ออมทรัพย์หรือกระบวนการอื่น เช่น แนวทางการ พัฒนาชีวิตครู เป็นต้น ในการแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบ
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูทั้งระบบ ในระยะสั้น และระยะ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุและปลายเหตุ ดังนี้ ปรับปรุงกระบวนการผลิดครู การจัดสวัสดิการสวัสดิการยานพาหนะ การพักชําระหนี้ ๒ ปี การปรับโครงสร้างเงินเดือนให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน การจัดตั้งธนาคารครูไทยหรือธนาคารเพื่อการศึกษา ซึ่งรายละเอียดจะได้ นําไปพิจารณาในการประชุมคราวต่อไป
๒. จัดประชุม สัมมนา ระดมความคิดเห็นเพิ่มเติมจากครูและบุคลากรทางการศึกษาทุก สังกัด จากสถาบันการเงิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใน ๔ ภูมิภาค เพื่อทําการสรุปผลการ ดําเนินงานให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กําหนด ๔๐ วัน โดยเริ่มต้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น โดยคณะกรรมาธิการจะทําหนังสือเรียนเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน เร็วๆ นี้