ธปท.เผย เศรษฐกิจอีสานมีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 /63 ทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 / 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ไทยสามารถควบคุมการระบาดไวรัส COVID 19 ได้ดี ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ภาครัฐกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย และการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ห่วงการกลับมาระบาด COVID 19 – หนี้ครัวเรือน – สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศเพิ่มขึ้น
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายประสาท สมจิตรนึก ผอ.อาวุโส ธปท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถลงภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่3 ปี 25623 ว่า เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ว่าเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค COVID-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยการบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวเล็กน้อยตามการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนและการใช้จ่ายภาคบริการ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว และวันหยุดยาวที่มากกว่าปีก่อน การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นตามรายจ่ายลงทุนที่เร่งเบิกจ่ายในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนหดตัวน้อยลงจากหมวดก่อสร้างที่ขยายตัวตามพื้นที่ก่อสร้างและยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้น ด้านผลผลิตเกษตรขยายตัวจากผลผลิตยางพาราและปศุสัตว์ ขณะที่ด้านราคาปรับลดลงจากราคาข้าวเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวสูงใกล้เคียงเดิม ตามการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตน้ำตาล ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงตามหมวดพลังงานที่หดตัวน้อยลงจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่เพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมทั้งค่ากระแสไฟฟ้า และค่าน้ำประปาที่เพิ่มขึ้นหลังหมดมาตรการบรรเทาค่าครองชีพในช่วง COVID-19 ด้านตลาดแรงงานปรับดีขึ้นตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ภาพรวมยังเปราะบาง สำหรับภาคการเงิน (ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563) เงินฝากและสินเชื่อคงค้างขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน โดยเงินฝากขยายตัวสูงจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐและความต้องการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อขยายตัวจากสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องของธุรกิจ
รายได้เกษตรกร หดตัวน้อยลง ร้อยละ -1.0 จากปัจจัยด้านผลผลิตสินค้าเกษตรที่กลับมา ขยายตัว ตามผลผลิตยางพารา และปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนด้านราคาหดตัวจาก ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ และข้าวเปลือกเหนียว
การใช้จ่ายภาครัฐ ยังคงหดตัว จากรายจ่ายลงทุนเป็นสำคัญ ร้อยละ 37.3 การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวเร่งขึ้น จากรายจ่ายลงทุน ส่วนหนึ่งเพื่อชดเชยการ เบิกจ่ายที่ล่าช้าในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ ขณะที่รายจ่ายประจำชะลอลง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวสูงใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ร้อยละ -15.7ตามการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เยื่อกระดาษ และน้ำตาลทราย อย่างไรก็ดี การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กลับมาขยายตัว สอดคล้องกับการบริโภคที่เริ่มฟื้นตัว ปี 2562 -5.7% Q3/63 -15.7% Q2/63 -16.8% การผลิตภาคอุตสาหกรรม
การลงทุนภาคเอกชน หดตัวน้อยลง ร้อยละ -1.1 จากการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่ขยายตัว สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัวน้อยลงตามยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ปรับดีขึ้น ขณะที่การน าเข้าสินค้าทุนยังคงหดตัวสูงต่อเนื่อง
มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากร ขยายตัวต่อเนื่อง ร้อยละ 24.2 ทั้งการส่งออกและการน าเข้า จากจีนตอนใต้เป็นสำคัญจากหมวดโทรศัพท์มือถือ/อุปกรณ์ จากการเปลี่ยนเส้นทางขนส่งจาก ทางอากาศเป็นทางบกมากขึ้น และอุปกรณ์ไฟฟ้า จำพวกสื่อ/อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ขยายตัวตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการทำงานที่บ้าน
ภาคการเงิน เงินฝาก และสินเชื่อคงค้าง ขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน เงินฝาก ขยายตัว ตามเงินฝากออมทรัพย์ที่ยังอยู่ในระดับสูง จากมาตรการ ช่วยเหลือของภาครัฐและความต้องการรักษาสภาพคล่อง ของธุรกิจร้อยละ 13.5 สินเชื่อ ขยายตัว จากมาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องและมาตรการ ช่วยเหลือของภาครัฐในช่วงต้นไตรมาส ร้อยละ 2.7
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลง ร้อยละ -0.86% จากราคาขายปลีกน้ ามันในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก รวมทั้งค่ากระแสไฟฟ้า และค่าน้ าประปา ที่เพิ่มขึ้นหลังหมดมาตรการบรรเทาค่าครองชีพในช่วง COVID-19 ขณะที่หมวดอาหารสดชะลอลงตามราคาข้าว และตลาดแรงงานปรับดีขึ้นสะท้อนจากจ านวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานในระบบประกันสังคมที่ลดลงจากไตรมาสก่อน
ผู้อำนวยการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังกล่าวด้วยว่า เศรษฐกิจอีสานมีแนวโน้มผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ไทยสามารถควบคุมการระบาดไวรัส COVID 19 ได้ดี ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ภาครัฐดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคลี่คลาย และการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่บ้าง เช่น การกลับมาระบาดของไวรัส COVID 19 ในประเทศ และกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่เปราะบาง จากการจ้างงาน และรายได้ที่ลดลง ขณะที่ระดับหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ อาจส่งผลต่อความไม่แน่นอนของการค้าโลก ตลอดจนสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศเพิ่มขึ้น