คืบหน้า 44%!!รถไฟความเร็วสูง ‘กรุงเทพ-โคราช’สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 63 เพจ ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ รายงาน ความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ความคืบหน้า 44%
– ทางวิ่งระดับดินปรับพื้นดิน ใกล้สมบูรณ์ เตรียมวาง Top Layer แล้ว
– อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด กำลังก่อสร้างงานโยธา อาคาร คืบหน้าไปมาก
– ทางวิ่งยกระดับ ขุดเสาครบแล้ว บางส่วนหล่อเสร็จแล้วเตรียมวางคานทางวิ่ง
– เครื่องวางคานทางวิ่ง (Launcher) ประกอบเสร็จแล้ว ทั้ง 2 ชุด
* Luancher ด้านเหนือ ประกอบทางวิ่งช่วงเสาแรกเสร็จแล้วเตรียมวาง
* Luancher ด้านใต้ ประกอบเสร็จเตรียมเคลื่อนเข้าตำแหน่งประกอบคานทางวิ่ง
เริ่มต้นขับรถมาจากทางสีคิ้วแล้วผ่านไหว้อนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ที่หลักศิลาจารึก ที่รัชกาลที่ 5 ทรงมาทอดพระเนตร การก่อสร้างรถไฟสานแรก กรุงเทพ-โคราช เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2443 หรือเมื่อกว่า 120 ปืที่แล้ว
จากนั้นเราก็มุ่งหน้า มาทางทิศใต้ของโครงการก่อสร้างงานโยธารถไฟความเร็วสูง สัญญา 2-1 สีคิ้ว-กุดจิกซึ่งก่อสร้างโดย บริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัดแบ่งเป็นงาน- ทางวิ่งระดับดิน 6.7 กิโลเมตร- ทางวิ่งยกระดับ 4.2 กิโลเมตร- อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาดมูลค่าการก่อสร้างรวม 3,114 ล้านบาท
ด้านทิศใต้ของโครงการเป็นช่วงโครงสร้างระดับดิน ซึ่งจากที่สำรวจได้มีการทำฐานรากและถมคันดิน ไปแล้ว คืบหน้าพอสมควรส่วนใหญ่ มีการวางแผ่นกันน้ำ Geo Membrane และถมด้วยทรายแล้วบางส่วน
ตรงต่อมาจากทางด้านทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะเจออาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาดซึ่งจะมีย่านจอดรถไฟความเร็วสูง เพื่อซ่อมบำรุงเบา และจอดรอให้บริการ โดยตรงนี้จะเป็นอดีตสถานีโคกสะอาด ซึ่งมีการปรับลดให้เป็นที่หยุดรถ และเคลียร์พื้นที่ให้กับศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยจากนั้น เดินทางขึ้นเหนือต่อไป อีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะเจอเครื่องประกอบทางวิ่ง (Luancher) ตัวที่ 1 ซึ่งประกอบเรียบร้อยแล้ว เตรียมเข้าตำแหน่งเสาชุดแรก เพื่อประกอบคานทางวิ่งชุดแรกซึ่งเสาหลังจากจุดนี้ เสร็จสมบูรณ์ไปค่อนข้างมากแล้วพร้อมประกอบคานทางวิ่งหลังจากจุดนี้ไปก็จะมีเสาบางส่วนที่ทำฐานรากแล้วรอหล่อตัวเสา และบางส่วนหล่อเสาแล้ว แต่ยังไม่ได้หล่อหัวเสารับน้ำหนัซึ่งทางยกระดับจะมุ่งหน้าไปเรื่อยๆ ผ่านเมืองสูงเนิน แล้วก็จดลมระดับลง หลังจากผ่านเมืองสูงเนินไปได้ประมาณ 1 กิโลเมตรที่ทางลาดปลายทางทิศเหนือ จะเจอเครื่องประกอบทางวิ่ง (Luancher) อีก 1 ตัว ซึ่งตัวนี้ได้เริ่มประกอบคานทางวิ่งช่วงเสาแรกแล้ว เตรียมวางเข้าตำแหน่งแล้วหลังจากจุดนี้ก็จะลงระดับดินต่ออีก ประมาณ 500 เมตร ก็สิ้นสุดเขตก่อสร้าง
ก่อนหน้านี้ พึ่งเซ็นสัญญางานโยธาทั้ง 5 สัญญาคือ
– สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง)ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
– สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคองดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัดซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
– สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวดดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
– สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมาดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท
บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
– สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอยดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
อย่างที่เห็นรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาที่ได้งานโยธาทั้งหมด ซึ่งเป็นงานจัดซื้อจัดจ้างผ่านระเบียบของไทยเราทั้งหมด ทำให้เอกชนในประเทศได้มีโอกาสรับงาน ไม่เหมือนกับโครงการที่จีนไปลงทุนก่อสร้างในประเทศอื่นๆซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่น่าสนใจทั้งการก่อสร้างตัวสถานี ทั้ง 3 สถานี เป็นพื้นที่ผ่านเขา โดยจะมีการทำอุโมงค์ และสะพานยาว เพื่อลดความชัน และรัศมีโค้งของทางรถไฟซึ่งน่าจะเริ่มเข้าหน้างานในต้นปี 64
แสดงความคิดเห็น