สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) สนใจ โปรตีนจากจิ้งหรีด ร่วมหารือกับทีมวิจัย ม.ขอนแก่น หาช่องทางด้านการค้าสู่ตลาดโลก ดันขอนแก่น ‘ฮับเมืองจิ้งหรีด’
วันที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00-12.00 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดการประชุม โครงการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของไทยสู่เศรษฐกิจและการค้ายุคใหม่ประเด็นสินค้าโปรตีนทางเลือก (โปรตีนจากจิ้งหรีด) ที่ห้องประชุมกาลพฤกษ์ 7 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธาน พร้อมกล่าวต้อนรับ คณะผู้แทนจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) นำโดย นางสาวอรนุช วรรณภิญโญ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ นอกจากนี้ในส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นมี ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา รศ. รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือฯ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ให้ความสำคัญกับจิ้งหรีดเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีนแห่งอนาคตโดยที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันการศึกษาลำดับต้นๆ ของประเทศที่ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจิ้งหรีดมาหลายปี แรกเริ่มต้นจาก ศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง และคณาจารย์อีกหลายท่าน ที่มิได้เอยนามได้ทำวิจัยเกี่ยวกับจิ้งหรีดซึ่งเป็นที่ยอมรับกับนานาประเทศ ล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) และสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดทำ “โครงการการพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ระบบการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย” ซึ่งผลการดำเนินโครงการสามารถส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด หรือ GAP จำนวน 21 ฟาร์ม มากที่สุดในประเทศไทย จาก 44 ฟาร์มทั้งประเทศ
อาจารย์วีระ ภาคอุทัย ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ฯ กล่าวว่า ในเรื่องของงานวิจัยจิ้งหรีดของ มข. ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สกสว.มาขับเคลื่อนเรื่องของจิ้งหรีดเพราะว่า การเลี้ยงจิ้งหรีดที่บ้านแสนตอ ได้เริ่มเลี้ยงมาระดับหนึ่งแล้วแต่ว่ายังไม่ได้มาตรฐาน GAP ทางโครงการวิจัยฯก็มาช่วยสนับสนุนรูปแบบและก็เชื่อมโยง ประสานหน่วยงานต่างๆที่จะให้เกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดได้ยกระดับทั้งในเรื่องของคุณภาพ มาตรฐาน ลดต้นทุน และก็เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เกษตรกรมีการตื่นตัว มีการรวมกลุ่ม หน่วยงานในจังหวัดขอนแก่น ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้ว่า-รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ปศุสัตว์จังหวัด เกษตรจังหวัด ได้ช่วยกันหนุนเสริม ทำให้การขอมาตรฐานเกษตรปลอดภัยจิ้งหรีดได้เร็วขึ้น เข้าถึงนโยบายของรัฐได้ง่ายขึ้น ทำให้เกษตรกร มีรายได้และก็ลดต้นทุนในอนาคตก็จะมีการขยับ งานวิจัยอาจจะไปหนุนเสริมกลุ่มอื่นที่เป็นเครือข่ายเราตอนนี้มีหลายจังหวัด เช่น ร้อยเอ็ด นครพนม ที่มาเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องของเกษตรปลอดภัยจิ้งหรีด ส่วนงานวิจัยตัวอื่น ที่เกี่ยวข้องก็อาจจะเป็นเรื่องของการแปรรูป ในเรื่องของการทำสารสกัด เพราะไม่อยากให้ขายจิ้งหรีดเป็นตัว เราจะสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรจากจิ้งหรีด เช่นสารสกัดอะไรบ้างทีมีประโยชน์ มีมูลค่าทางอาหารสูง
ในวันนี้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้มาประชุมร่วมกัน และเห็นแนวทางแล้วว่า จิ้งหรีดก็เป็นสินค้าเป้าหมายตัวหนึ่งของกระทรวงฯเพราะฉะนั้นในการที่จะขยายการเลี้ยงจิ้งหรีด ก็จะมีเป้าหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
นายอนุวรรตน์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าทีมพื้นที่โครงการพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ระบบการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ได้นำเสนอ การดำเนินโครงการ ต่อผู้เข้าร่วมประประชุม ในประเด็นที่น่าสนใจว่า ภาพรวมของสภาวการณ์ตลาดโลกของแมลงกินได้ สามารถเติบโตได้ถึง 26.5% ในปี ค.ศ. 2020 จะมีมูลค่าถึง 3.42 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีการส่งออกแมลงกินได้ มากถึง 2161 ล้านบาท และ ส่งไปขายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในประเทศไทยมีทั้งหมด 171 กลุ่ม จังหวัดขอนแก่น มี 14 กลุ่ม โดยจังหวัดขอนแก่นมีฟาร์มจิ้งหรีดที่ได้รับมาตรฐาน GAP 23 ฟาร์ม จากจำนวนทั้งประเทศ 44 ฟาร์ม โดยการช่วยเหลือจากสถาบนวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือฯ กลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงจิ้งหรีดที่เข้าร่วมเครือข่ายการทำงานกับสถาบัน และมีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น อำเภอภูเวียง กลุ่มจิ้งหรีดบ้านโนนสวรรค์ หมู่ 5 กลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด หมู่ 4 อำเภอชุมแพ วิสาหกิจชุมชนคนค้นแมลง วิสาหกิจชุมชนการเลี้ยงแมลง เศรษฐกิจบ้านโนนลาน ตำบลโนนสะอาด อำเภอชนบท กลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านท่าข่อย กลุ่มจิ้งหรีดบ้านโนนแสนสุข อำเภอน้ำพอง กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ กลุ่มผู้เลี้ยงและแปรรูปจิ้งหรีดออนซอนบ้านโนนเชือก กลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดหมู่ที่ 13,9 ตำบลบัวเงิน อำเภอเมือง กลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านนาเพียง ตำบลสำราญ กลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านโคกท่า ตำบลหนองตูม อำเภอพระยืน กลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านหนองโพธิ์ หมู่ที่ 8 กลุ่มผู้เลี้ยงแมลงเศรษฐกิจบ้านหัน อำเภอพล ผู้เลี้ยงจิ้งหรีดและสะดิ้งบ้านคูขาด หมู่ 12 จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด วิสาหกิจชุมชนแมงสะดิ้งจิ้งหรีดบ้านฮ่องฮี
รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเสริมว่า นอกจากการลงไปช่วยเกษตรในพื้นที่แล้ว สถาบันยังได้สนับสนุนารออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากจิ้งหรีด ทั้งรูปแบบอาหารเพื่อสุขภาพ ขนม ออกมาเกือบ 12 ประเภท โดยนักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทำการจับคู่ทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ แต่ต้องยอมรับว่าเกษตรกรยังมีปัญหาในการดำเนินการทั้งเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้วยระเบียบข้อบังคับของทางราชการ และ การที่ตัวเกษตรเองไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนาฟาร์มให้ได้ตามมาตรฐาน GAP เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง
นางสาวอรนุช วรรณภิญโญ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า เนื่องจากโปรตีนทางเลือกจิ้งหรีดเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ ปีงบประมาณ 2564 พอหลังจากพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เราเห็นโอกาสมากมายในสินค้าจิ้งหรีด เราจึงเห็นว่า ม.ขอนแก่นได้มีการสนับสนุน เกษตรกรและผู้ประกอบการ เยอะมากซึ่ง ซึ่งเราอาจจะเข้ามาช่วยในส่นที่ยังขาดทั้งในเรื่องการตลาด การเจรจาจากต่างประเทศ หรือการออกงานแฟร์ที่ทางสนค.ช่วยได้
อย่างไรก็ตาม นับเป็นโอกาสอันดี ที่วันนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้ปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการเชื่อมโยงเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมของไทย เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางของประเทศผู้ผลิตสินค้าโปรตีนทางเลือกจากจิ้งหรีด โดยที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความพร้อมทั้งองค์ความรู้ ผลงานวิจัยและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากการประชุมในวันนี้จะได้มีการขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมต่อไป สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดที่สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์