“โคราชโมเดล”

กลายเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว​ ผู้บริหารคนไหนไม่พูดถึงถือว่าไม่รับผิดชอบ​ นักการเมืองและหน่วยงานรัฐ​ ต้องหันมาใส่ใจอย่างจริงจังต่อเรื่องนั้​ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ ผู้ประกอบการรายย่อยกลุ่มหนึ่ง​ ได้นัดคุยเพื่อปรับทถกข์กัน​ ที่มหาวิทยาลัยเอกชน​

เมื่อวันที่​ 15​ มกราคม 2564​ ถือเป็นความพยายามจุดเทียนส่องทางในยามมืดมิด​ พวกเขามาให้กำลังใจกันและกัน มาช่วยกันคิดช่วยกันทำ​ โดยไม่รอการเยี่ยวยาจากใครอีกต่อไป​ การพูดคุยครั้งนั้น ทุกคนที่มาคือหนึ่งเสียง​ สื่อท้องถิ่นเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า”ถอดหัวโขนคุยกัน” ผู้ประกอบการโคราช​ ที่อยู่ในสถานการณ์คนจมน้ำ กำหนดกิจกรรมเพื่อช่วยตัวเอง​ ที่พอจะสรุปได้​ มี​ 3​ รูปแบบ

1)​ กิจกรรมการรณรงค์ให้ชาวโคราช​ 2.6ล้านคน​ ออกมาช่วยกันภายใต้โครงการ”โคราชรุ่งเรืองคนทั้งเมืองอุดหนุนกัน” เขาได้ให้ศิลปินพื้นบ้านแต่งเพลงและร้องเชิญชวน​ พวกเขาไม่มีทุนในการดำเนินการ​ จึงใช้วิธีลงขันกันเอง​ ทำป้ายและสคิ๊กเกอร์​รณรงค์โครงการ เขาตั้งเพจโคราชรุ่งเรืองขึ้น​ มีคนติตตามแล้วกว่า​ 500,000 คน และยังมีทึม”น็อคดอร์” ไปชวนผู้ประกอบทั้งจังหวัดให้ลุกขึ้นมาสู้​ต่อ​ และอย่าเพิ่งยอมแพ้​ ในวันที่​5​ กุมภานี้​ พวกเขาจะเปิดโครงการ​ แบบ​ ​Online.​โดยมีผู้ประกอบการทั้ง​ 32อำเภอเข้าร่วม​ ถือเป็นความแปลกใหม่และทันสมัยมาก ๆ

2.)​ กิจกรรมให้คนโคราชทั้ง​ 32​ อำเภอ​ มาอุดหนุนคนโคราชด้วยกัน​ ใช้แคมเปญ 32​ ใครจะลด​ จะแถม​ หรือจะแจกก็เอาเลข​32​ เป็นตัวตั้ง​ สเต็กจานละ​ 32​ บาทเริ่มมีแล้ว​ ส่วนราชการ​ กลุ่มนี้เขาขอร้องว่าให้อุดหนุนร้านค้าในท้องถิ่นก่อน​ จะจัดกิจกรรมอะไร​ ขออย่าเพิ่งไปจัดนอกพื้นที่

3.)​ ผู้ประกอบการ​ ที่ถือว่าเป็นผู้สร้างเศรษฐกิจ​ และกลุ่มจ้างงานที่สำคัญของเมือง​ ถ้าสามารถรักษาพวกเขาไว้ได้เศรษฐกิจฐานรากจะมั่นคง​ เขาเตรียมโครงการ”โคราชอุดหนุนกันครั้งที่1″ โดยจะมีการขายสินค้าในรูปแบบใหม่ที่สามารถเรียกความฮือฮาได้แน่นอน​ การค้าขายในวันนี้มีทั้งระบบ Offline.คือการรอลูกค้ามาซื้อ​ หรือระบบ​ Online.ที่กำลังได้รับความนิ​ยมมาก​ พวกเขาขอความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษาให้ช่วยเปิดการอบรมให้ผู้ประกอบการได้ก้าวทันโลกยุคใหม่

“มีผู้เสนอว่า​ น่าจะทำโครงการ”โคราชคนละครึ่ง” ทำทั้ง​ 32​ อำเภอ​ โดยขอให้ท่านผู้ว่าเจียดเม็ดเงินที่สะสมไว้เกือบหมื่นล้านบาทมาสนับสนุนโครงการนี้ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น​ ที่มีกว่า300​ แห่ง​ มีงบประมาณปีละ​ 20, 000ล้านบาท​ เจียดมาช่วยกัน​ด้วย ก็น่าจะช่วยสร้างกระแสเงินสดในท้องถิ่น​ ให้สะพัดได้เป็นอย่างดี”

นี่คือการลุกขึ้นยืน​เพื่อพยุงตัวเองในยามยาก​ เป็นโมเดลที่น่าสนใจอย่างยิ่ง​ ในอดีตเคยมีคนนำเสนอแนวคิดเรื่อง”จังหวัดจัดการตนเอง” แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ​ โครงการ”โคราชรุ่งเรืองคนทั้งเมืองอุดหนุนกัน” น่าจะเป็นอีกโครงการหนึ่งของการแก้วิกฤต์ด้วยตัวเอง 3/2/64

แสดงความคิดเห็น