“อย่าให้รัฐธรรมนูญเป็นเหตุ” 

ความขัดแย้งทางการเมืองสาเหตุหนึ่ง​ คือการเอารัฐธรรมนูญมาเป็นข้ออ้าง​ ประเทศไทยกำลังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี​ 2560​ บริหารประเทศ​ รัฐธรรมฉบับนี้เริ่มต้นก็มีปัญหาจนต้องเปลี่บนตัวผู้เขียนจาก​ นายบวรศักดิ์​ อุวรรณโณ  มาเป็นนายมีชัย​ ฤชุพันธุ์ เมื่อเขียนเสร็จมีการไปขอเสียงจากประชาชนมีคนเห็นด้วย16​ ล้านคน​ และไม่เห็นด้วย10​ ล้านคน​ ความขัดแย้งจึงเริ่มต้นขึ้น​ รัฐธรรมนูญมีทั้งหมด 279  มาตรา​ ในหลายมาตรามีปัญหา​ เมื่อประกาศใช้​ เช่นหมวดการเลือกตั้ง ที่ถูกล้อเรียนว่า​ คะแนนเขย่งได้
     กระแสความต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมีมาโดยตลอด แต่ทำได้ยากมาก​ เพราะมีมาตรา​ 256​ ที่เขียนล็อคไว้ถึง​ 9​ ด่าน​ แต่ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นจริง​ๆ รัฐบาลต้องยอมตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาปัญหา​ โดยนายพีระพันธ์​ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธาน​ มีสมาขิกรวมศึกษา​ 49 คน​
       เดิอนกันยายน​ 2563​ กรรมาธิการศึกษาฯได้นำเสนอต่อสภา​ มีสมาขิกฝ่ายรัฐบาลออกมาค้านว่า​ ควรทำอย่างรอบครอบ​และได้เสนอตั้งกรรมาธิการพิจารณาร่างที่ศึกษาก่อน​  และที่ประชุมเสียงข้างมาก​ 432 คนเห็นด้วย​ ฝ่ายค้านเห็นว่านี่คือการเตะถ่วงและค้านด้วยเสียง​  255 จึงแพ้โหวตไป
       วันที่​ 9​ กุมภาพันธ์​ มีการประชุม​ของ​ 2สภา​ เพื่อนำเอาผลการพิจารณาว่าจะรับร่างหรือไม่​ เพราะเสียเวลามาแล้ว​ 30วัน​ มีนานวิรัช​ รัตนเศรษฐ์​ เป็นประธานพร้อมกรรมาธิการ​ 45​ คน
        ก่อนการพิจารณา​ ก็มีญัตติด่วนจาก​ สส.ไพบูลย์​ นิติตะวัน​ และ​ สว.สมชาย​ แสวงการ​ ขอให้สภาอย่าเพิ่งพิจารณาร่าง​ฉบับนี้ ขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความก่อน​ ว่าสภาจะพิจารณาได้หรือไม่​ มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง​ พรรคร่วมรัฐบาลก็ไม่เห็นด้วยกับญัตตินี้​ จนพรรคภูมิใจไทยเรียกการดึงเกมส์นี้​ ว่า”รีเลย์เทคนิค”  แต่สุดท้ายสภาฯ​ ก็ลงมติ​ด้วยเสียง​ 366​ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ อีก​ 315​ ค้าน
      รัฐธรรมนูญเจ้าปัญหาฉบับนี้จะเดินทางต่อไปอย่างไร​ ต้องใช้เวลาอย่างน้อยอีก18​ เดือน​ และอาจจะเป็นชนวนเหตุแห่งการขัดแย้งกันเพิ่มขึ้นหรือไม่?  ไม่มีใครคาดเดาได้​ แต่ก็น่าเป็นห่วง​ เพราะครั้งนี้พรรคร่วม โดย.. ทวิสันต์​ โลณานุรักษ์
แสดงความคิดเห็น