ขอนแก่นปังต่อไม่รอแล้วนะ!!จับมือเอกอัครราชฑูตอังกฤษเตรียมจัด“เวริค์ช็อปเชิงรุก”พัฒนาเมืองอัจฉริยะ

“ดีป้า”อีสานกลาง และ จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับพันธมิตรสถานเอกอัคราชฑูตอังกฤษประจำประเทศไทย วางแผน “เวริค์ช็อปเชิงรุก” ถอดรหัสแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 11 มีนาคม 2564 ที๋โรงแรม อวานี ขอนแก่น
24 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ณ ห้องประชุมนิมมานฮอลล์ ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เและประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะขอนแก่น ร่วมกับผู้แทนจากสถานเอกอัคราชฑูตอังกฤษประจำประเทศไทย และ Urban Studies Lab ในการประชุม เตรียมความพร้อม วางแผนและออกแบบ “เวริค์ช็อปเชิงรุก” เพื่อ “ถอดรหัส” แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผ่านแนวทางหลัก “3M” ซึ่งเป็นจุดแข็งของจังหวัดขอนแก่น คือ สุขภาพและการแพทย์ (Medical) การจาจรและการขนส่ง (Mobility) และ การจัดการประชุมและนิทรรศการ (Meetings, Incentives, Conferences and Exhibitions หรือ MICE) เพื่อระดมสมองกับทุกภาคส่วน เพื่อออกแบบ กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเชิงรุกผ่านแนวทางของารพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ประเทศไทย โดยการประชุม เตรียมความพร้อม วางแผนและออกแบบมีนายธวัชชัย โคตรวงษ์ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคอีสานของดีป้า ดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส นางสาวจตุรภรณ์ โชคภูเขียว นักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลอาวุโส และ รศ.ดร.รินา ภัทรมานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นทีมคณะทำงานหลักในการขับเคลื่อนซึ่ง “เวริค์ช็อปเชิงรุก” นี้ เข้าร่วมระดมสมองอย่างเข้มข้น โดย “เวริค์ช็อปเชิงรุก” จะจัดขึ้น จะจัดขึ้นวันที่ 11 มีนาคม 2564 ที๋โรงแรม Avani จังหวัดขอนแก่น
โดย กิจกรรมดังกล่าวนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา และได้รับความสนใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา และประชาชน เข้าร่วม เป็นจำนวนมาก โดยนอกจากที่ เชียงใหม่ และ ขอนแก่น แล้ว “เวริค์ช็อปเชิงรุก” ครั้งที่ 3 จะเกิดขึ้นที่จังหวัดชลบุรี ภายในเดือนมีนาคม ตามติดด้วยกิจกรรมการเสริมสร้างความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจ และศักยภาพ ของการสร้างเมืองอัจฉริยะของพื้นที่ส่งเสริมที่ทางดีป้าได้ประกาศไป ร่วมกับพนธมิตรนานาชาติ ต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2564
ทั้งนี้อีกเป้าหมายสำคัญของ “เวริค์ช็อปเชิงรุก” คือการเปิดตัว “คู่มือเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ประเทศไทย” (Smart City Thailand Handbook) ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือในด้านการศึกศึษา วิจัย และ พัฒนาเชิงปฏิบัติการ ระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทยในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ซึ่งมีอีกหลายโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ อาทิ โครงการ Global Future Cities Programme ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรและกรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตลาดพร้าว วางแผนสร้างศูนย์ข้อมูล เพื่อส่งเสริมการวางนโยบายในกรุงเทพมหานครที่ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐาน และจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบคลองบางหลวงและสถานีบางหว้า นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในตลาดเป้าหมายของโครงการใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวอย่าง UK Tech Export Academy ของสหราชอาณาจักรในเอเชียแปซิฟิก โดยไทยจะเป็นจุดหมายในการสำรวจตลาดของบริษัทด้านสมาร์ทซิตี้จากสหราชอาณาจักรกว่า 30 ราย ในปี พ.ศ. 2564 อีกด้วย ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด “คู่มือเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ประเทศไทย” ทั้งภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทย ได้ที่ http://bit.ly/smartcityhandbook
แสดงความคิดเห็น